รีเซต

วิตามินและแร่ธาตุมีอะไรบ้าง ช่วยเรื่องอะไร อยู่ในอาหารชนิดไหน

วิตามินและแร่ธาตุมีอะไรบ้าง ช่วยเรื่องอะไร อยู่ในอาหารชนิดไหน
WeenayA
15 พฤศจิกายน 2565 ( 15:36 )
3.5K
1

     วิตามินและแร่ธาตุ เป็นหนึ่งในปัจจัยของการทำงานในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านการทำงานต่อระบบต่างๆ ของร่างการทั้ง สมอง ระบบเลือด ผิวหนัง เส้นผม ประสาท เรียกได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างกายที่ขาดไม่ได้  แล้ววิตามินและแร่ธาตุนั้นมีอยู่ในอาหารชนิดไหนบ้าง ปริมาณที่ควรได้รับต่อวันอยู่ที่เท่าไหร่มาดูกันค่า

 

 

วิตามิน และแร่ธาตุมีอะไรบ้าง ช่วยเรื่องอะไร อยู่ในอาหารชนิดไหน

 

ตารางวิตามินและแร่ธาตุ

วิตามินชื่ออังกฤษช่วยเรื่องมีอยู่ใน
วิตามินเอ ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน : ไม่เกิน 50,000 IUVitamin Aสายตา ระบบภูมิคุ้มกัน ตับ ไข่ ส้ม ผลไม้สีเหลือง ผักใบเขียว 
วิตามินบี1 ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน : 5 mgVitamin B1ระบบประสาท โลหิตจาง
ลดอาการเพลีย
ข้าวซ้อมมือ
ผัก ไข่แดง
เนื้อสัตว์ 
วิตามินบี2 ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน : 7 mgVitamin B2บำรุงผิวพรรณ ผม เล็บ เพิ่มการเผาผลาญ ผลิตภัณฑ์นม 
ถั่วสีเขียว
หน่อไม้ฝรั่ง
 ผักใบเขียว 
วิตามินบี3 ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน : 20 mgVitamin B3ลดระดับคอเลสเตอรอล  ช่วยระบบย่อยเนื้อไม่ติดมัน  เนื้อขาวจากพวกสัตว์ปีก
อะโวคาโด 
วิตามินบี5 ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน : 6 mgVitamin B5ปรับสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย
ลดระดับคอเลสเตอรอล 
เนื้อสัตว์ บล็อกโคลี อะโวคาโด เมล็ดทานตะวัน
วิตามินบี6 ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน : 2 mgVitamin B6ช่วยในการการเผาผลาญโปรตีน
ช่วยขัปัสสาวะ 
เนื้อสัตว์ ผัก กล้วย
จมูกข้าวสาลี ผักใบเขียว 
วิตามินบี7 ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน : 150 ไมโครกรัมVitamin B7

ช่วยบำรุงผม
และเล็บ
รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ลดอาการผิวหนังอักเสบ

ไข่แดงดิบ ตับ
ถั่วลิสง
ผักใบเขียว 
เครื่องในสัตว์ กล้วย อัลมอนด์
วิตามินบี9 ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน : 200 ไมโครกรัมVitamin B9ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดหัวใจ ผักใบ ขนมปัง ธัญพืช ตับ
เนื้อสัตว์ 
วิตามินบี12 ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน : 2 ไมโครกรัมVitamin B12ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด ป้องกันการอ่อนเพลียเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากนม
วิตามินซี ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน : 1,000 -2,000 mgVitamin Cช่วยต้านอนุมูลอิสระ  ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ผลไม้ และผักหลายชนิด
วิตามินดี ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน : 10 - 20 ไมโครกรัม ตามแต่ละช่วงวัยVitamin Dป้องกันการเสียแคลเซียม การ
ดูดซึมเเคลเซียม
ปลา ไข่ ตับ เห็ด
แสงแดดอ่อนๆ
ในช่วงเช้า
วิตามินอี ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน : 40 – 200 IU ตามแต่ละช่วงวัยVitamin E ป้องกันอาการอุดตันของ
เม็ดเลือด
ต้านอนุมูลอิสระ 
ผัก และผลไม้หลายชนิด  อาหารจำพวกถั่ว 
วิตามินเค ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน : 65 – 80 ไมโครกรัมVitamin Kช่วยเรื่องการแข็งตัวของเลือด ผักใบเขียว ไข่แดง ตับ เนื้อหมู มะเขือเทศ 
แคลเซียม ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน : 1,000 - 1,300 mgต่อวัน ตามแต่ละช่วงวัยCalciumช่วยเสริมสร้างความเเข็งแรงของกระดูก และฟัน นม ปลา และสัตว์เล็กอื่น ๆ ที่สามารถกินได้ทั้งกระดูก
ธาตุเหล็ก ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน : ผู้ชาย 1.04 mg / ผู้หญิง 9.4 – 24.7 mgIron
ลดภาวะ
โลหิตจาง
แก้ความรู้สึก
อ่อนล้า
เนื้อสัตว์ต่าง ๆ โดยเฉพาะเนื้อแดง เครื่องในสัตว์ ธัญพืช
โพแทสเซียม ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน : 1,600 – 2,000 mgPotassiumช่วยในการรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย ถั่วเมล็ดแห้ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม ผลไม้แห้งเ
แมกนีเซียม ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน : 310 - 420 mg ตามแต่ละช่วงวัยMagnesiumรักษาความสมดุลในแคลเซียมในกระดูกและเลือด

เต้าหู้สด มะม่วงหิมพานต์
ถั่วลิสง
อัลมอนด์
ถั่วเหลือง

ไอโอดีน ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน : 120 - 150 ไมโครกรัมIodineช่วยดูแลการทำงานของต่อมไทรอยด์ เกลือเสริมไอโอดีน อาหารทะเล 

 

วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ

  • วิตามินเอ Vitamin A
    ช่วยเรื่องสายตา เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยบำรุงสายตา ลดความเสี่ยงอาการตาฝ้าฟาง ตาบอดกลางคืน
    มีอยู่ใน ตับ ไข่ ส้ม ผลไม้สีเหลืองสุก ผักใบเขียว แครอท ฟักทอง ผักโขม ปลา นมถั่วเหลือง นม
    ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน ไม่เกิน 50,000 IU

  • วิตามินบี1 Vitamin B1
    ช่วยเรื่อง ระบบประสาท  มีส่วนช่วยให้ไม่เป็นโรคเหน็บชา ป้องกันโรคโลหิตจาง ลดอาการอ่อนเพลีย
    มีอยู่ใน เนื้อหมู โอ๊ตมีลข้าว ซ้อมมือ ผัก มันฝรั่ง ตับ ข้าวซ้อมมือ ไข่แดง เนื้อสัตว์ นม ถั่ว โยเกิร์ต น้ำส้ม น้ำมะเขือเทศ และธัญพืชเปลือกบาง ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน 5 mg

  • วิตามินบี2 Vitamin B2
    ช่วยเรื่อง ป้องกันอาการปากนกกระจอก บำรุงผิวพรรณ ผม เล็บ เพิ่มการเผาผลาญ เพิ่มกระบวนการเมทาบอลิซึม
    ช่วยลดไขมันอิ่มตัวในเลือด
    มีอยู่ใน ผลิตภัณฑ์นม กล้วย ป๊อปคอร์น ถั่วสีเขียว หน่อไม้ฝรั่ง ไข่ นม ถั่ว โยเกิร์ต ชีส ผักใบเขียว ปลา ตับ ไต
    ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน 7 mg

  • วิตามินบี3 Vitamin B3
    ช่วยเรื่อง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ ช่วยเผาผลาญไขมัน ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น เพิ่มการไหลเวียนโลหิต
    มีอยู่ใน เนื้อไม่ติดมัน ปลา ไข่ เห็ด  เนื้อไม่ติดมัน เนื้อขาวจากพวกสัตว์ปีก ตับ โฮลวีต จมูกข้าวสาลี ถั่วลิสง อะโวคาโด อินทผลัม ลูกพรุน มะเดื่อฝรั่ง
    ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน 20 mg

  • วิตามินบี5 Vitamin B5
    ช่วยเรื่องปรับสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ ลดอาการอักเสบของข้อ ช่วยเรื่องการนอนหลับ
    มีอยู่ใน เนื้อสัตว์ บล็อกโคลี อะโวคาโด พบมากในอาหารจำพวกเนื้อไก่ เนื้อวัว ตับ มันฝรั่ง เมล็ดทานตะวัน
    ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน 6 mg

  • วิตามินบี6 Vitamin B6
    ช่วยเรื่อง ช่วยในการการเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย เสริมการทำงานของระบบประสาทและสมอง ช่วยขับปัสสาวะ เสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
    มีอยู่ใน เนื้อสัตว์ ผัก ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว กล้วย จมูกข้าวสาลี ผักใบเขียว กะหล่ำปลี รำข้าว ไข่ ข้าวโอ๊ต ปลา
    ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน 2 mg

  • วิตามินบี7 Vitamin B7
    ช่วยเรื่อง ช่วยบำรุงผม และเล็บ รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดอาการผิวหนังอักเสบ และลำไส้อักเสบ ช่วยให้กระบวนการเผาผลาญไขมันและกรดอะมิโนเป็นไปอย่างปกติ
    มีอยู่ใน ไข่แดงดิบ ตับ ถั่วลิสง ผักใบเขียว ไต เครื่องในสัตว์ นม ไข่แดง และยีสต์ หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ แครอท อะโวคาโด กล้วย อัลมอนด์
    ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน 150 ไมโครกรัม

  • วิตามินบี9 Vitamin B9
    ช่วยเรื่อง ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดหัวใจ ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย บำรุงผิวพรรณและผม
    มีอยู่ใน ผักใบ  ขนมปัง ธัญพืช ตับ เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว ยอดผัก ผลไม้ ถั่วและธัญพืช
    ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน 200 ไมโครกรัม

  • วิตามินบี12 Vitamin B12
    ช่วยเรื่อง ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด ป้องกันการอ่อนเพลียจากโรคโลหิตจาง ช่วยในเรื่องการทำงานของระบบประสาท
    มีอยู่ใน เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เนื้อแดง ปลา สัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์จากนม
    ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน 2 ไมโครกรัม

  • วิตามินซี Vitamin C
    ช่วยเรื่อง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ลดความเสี่ยงเส้นเลือดอุดตัน ลดความเสี่ยงการเกิดต้อกระจก
    มีอยู่ใน ผลไม้ และผักหลายชนิด ตับ  ฝรั่ง มะขามป้อม พริกหวาน ผักคะน้า
    ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน 1,000 -2,000 mg

  • วิตามินดี Vitamin D
    ช่วยเรื่อง ป้องกันการเสียแคลเซียม ปรับสมดุลน้ำตาลในเลือด ช่วยในการดูดซึมเเคลเซียม
    มีอยู่ใน ปลา ไข่ ตับ เห็ด แสงแดดอ่อนๆ ในช่วงเช้า 
    ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน 10 - 20 ไมโครกรัม ตามแต่ละช่วงวัย

  • วิตามินอี Vitamin E
    ช่วยเรื่อง ช่วยเสริมสร้างความเเข็งแรงของเม็ดเลือด ป้องกันอาการอุดตันของเม็ดเลือด ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันอาการอักเสบ
    มีอยู่ใน ผัก และผลไม้หลายชนิด ผลเปลือกแข็งไข่ พืช ผัก ผลไม้ อาหารจำพวกถั่ว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน
    ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน 40 – 200 IU ตามแต่ละช่วงวัย

  • วิตามินเค Vitamin K
    ช่วยเรื่อง ช่วยเรื่องการแข็งตัวของเลือด และมีส่วนช่วยในการบำรุงกระดูกให้เป็นปกติ
    มีอยู่ใน ผักใบเขียว ไข่แดง ตับ เนื้อหมู  มะเขือเทศ ดอกกะหล่ำ ไข่แดง น้ำมันถั่ว
    ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน 65 – 80 ไมโครกรัม

  • แคลเซียม Calcium
    ช่วยเรื่อง ช่วยเสริมสร้างความเเข็งแรงของกระดูกและฟัน ลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน กระดูกบาง
    มีอยู่ใน นม ปลา และสัตว์เล็กอื่น ๆ ที่สามารถกินได้ทั้งกระดูกหรือเปลือก ถั่วเหลือง เต้าหู้แข็ง เต้าฮวย  ผักใบเขียวเช่น  ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า
    ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน 1,000 - 1,300 mgต่อวัน ตามแต่ละช่วงวัย

  • ธาตุเหล็ก Iron
    ช่วยเรื่อง เสริมสร้างความแข็งแรงให้เม็ดเลือดแดงในร่างกาย ลดภาวะโลหิตจาง แก้ความรู้สึกอ่อนล้า
    มีอยู่ใน เนื้อสัตว์ต่าง ๆ โดยเฉพาะเนื้อแดง เครื่องในสัตว์ ธัญพืช ไข่แดง ปลา เป็ดไก่ ผักใบเขียวเข้ม
    ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน ผู้ชาย 1.04 mg / ผู้หญิง 9.4 – 24.7 mg

  • โพแทสเซียม Potassium
    ช่วยเรื่อง ช่วยในการรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย ช่วยคุมความดันโลหิต ช่วยในด้านการยืดหดของกล้าเนื้อ
    มีอยู่ใน ถั่วเมล็ดแห้ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม ผลไม้แห้งเช่น ลูกเกด ลูกพรุน แครอท มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า หัวปลี ผักชี มันฝรั่ง
    ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน 1,600 – 2,000 mg

  • แมกนีเซียม Magnesium
    ช่วยเรื่อง รักษาความสมดุลในแคลเซียมในกระดูกและเลือด เสริมเรื่องการเผาผลาญ ลดความอ่อนเพลียช่วยปรับสมดุลย์ของลำไส้ ลดกรดในกระเพาะ
    มีอยู่ใน แป้งถั่วเหลืองสด เต้าหู้สด  มะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสง อัลมอนด์ถั่วเหลือง ถั่วลิสง  ข้าวโอ๊ต มันฝรั่ง ข้าวกล้อง
    ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน 310 - 420 mg ตามแต่ละช่วงวัย

  • ไอโอดีน Iodine
    ช่วยเรื่อง ช่วยดูแลการทำงานของต่อมไทรอยด์  คุมระบบเผาผลาญ ในร่างกาย ช่วยควบคุมระบบประสาทและสมอง
    มีอยู่ใน เกลือเสริมไอโอดีน อาหารทะเล เช่น ปลาทู หอย ปู กุ้งทะเล
    ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน 120 - 150 ไมโครกรัม

 

ทั้งนี้ผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือมีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอก่อนที่จะเลือกรับประทานอาหารเสริมค่ะ

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง