5 อาหารกระทบกับฮอร์โมน ควรหลีกเลี่ยง ฮอร์โมนไม่สมดุล ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
ด้วยวิถีชีวิตที่ตึงเครียดมากขึ้น ทำให้หลายคนแทบไม่ได้ตระหนักเลยว่านอกจากกิจวัตรประจำวันที่ไม่ดีและความเครียดแล้ว พฤติกรรมการกินของเรายังทำให้ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลอีกด้วย ความสมดุลของฮอร์โมนนั้นเป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพ และเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยรักษาการทำงานในร่างกาย
ความไม่สมดุลของฮอร์โมนอาจทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพได้ เช่น ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำและภาวะไทรอยด์ทำงานเกิน รวมถึงยังอาจเกี่ยวข้องไปถึงระบบการเผาผลาญพลังงานและการนอนหลับด้วย พฤติกรรมการกินของเราอาจส่งผลเสียต่อร่างกายและนำไปสู่อาการต่างๆ เช่น น้ำหนักขึ้น ปัญหาผิวหนัง หรือแม้กระทั่งอารมณ์แปรปรวน ซึ่งอาหารบางชนิดสามารถกระตุ้นความไม่สมดุลและทำให้สภาวะฮอร์โมนของเราแย่ลงได้
ปรึกษาปัญหาลดน้ำหนัก กับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ ผ่านแอป MorDee คลิกรับส่วนลดเลย!
หลายคนพอมีวันหยุดยาว ก็มักจะละเลยการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพแล้วหันไปดื่มด่ำกับอาหารและเครื่องดื่มในงานปาร์ตี้ ซึ่งอาหารเหล่านี้สามารถส่งผลต่อการเปลี่ยนของฮอร์โมนในร่างกาย และทำให้ฮอร์โมนหลายชนิดเกิดการเสียสมดุลได้ และนอกเหนือจากอาหารในงานปาร์ตี้ต่าง ๆ ที่ไม่ควรรับประทานมากเกินไป ก็ยังมีอาหารที่หลายประเภทที่ควรหลีกเลี่ยงเพราะส่งผลเสียต่อสุขภาพและกระทบกับความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกายค่ะ
5 อาหารกระทบกับฮอร์โมน
1. ถั่วเหลือง
ถั่วเหลืองมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่เรียกว่าไฟโตเอสโตรเจนซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายของเรา หากรับประทานถั่สวเหลืองมากเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อวงจรการตกไข่ของคุณผ๔้หญิง ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพการเจริญพันธุ์ ซึ่งนอกจากถั่วเหลืองแล้ว ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง และซีอิ๊ว ก็อาจทำให้ความไม่สมดุลของฮอร์โมนได้ด้วยเช่นกัน
2. ผลิตภัณฑ์นม
ผลิตภัณฑ์จากนมสามารถทำให้เกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนได้ นมและผลิตภัณฑ์จากนมอาจทำให้เกิดการอักเสบในระบบทางเดินอาหารและทำให้ฮอร์โมนทำงานผิดปกติ การบริโภคนมมากเกินไปสามารถเพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการเพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวาน
3. ธัญพืชที่ผ่านการขัดสี
ธัญพืชที่ผ่านการขัดสี ไม่ว่าจะเป็นข้าวขาว ขนมปังขาว เส้นก๋วยเตี๋ยวและเส้นพาสต้าต่าง ๆ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ ซึ่งเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นก็จะทำให้เกิดการผลิตฮอร์โมนอินซูลินมากขึ้น และในที่สุดก็เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินและโรคเบาหวาานตามมาได้ในที่สุด
4. น้ำตาลและสารให้ความหวาน
สารให้ความหวานสามารถทำให้สมดุลของฮอร์โมนของคุณขาดสมดุลได้ เนื่องจากสารเหล่านี้สามารถที่จะส่งผลกระทบต่อแบคทีเรียในลำไส้และทำให้เราอยากรับประทานอาหารมากขึ้น นอกจากนี้น้ำตาลก็ยังเป็นอาหารอีกหนึ่งชนิดที่ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุลได้อีกด้วย ดังนั้นเราจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไป เช่น คุกกี้ เค้ก โดนัท ช็อกโกแลต ฯลฯ และหันไปเลือกรับประทานอาหารทดแทนที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผลไม้หรือน้ำตาลจากธรรมชาติ
5. คาเฟอีน
การบริโภคอาหารที่มีคาเฟอีนสูง เช่น กาแฟ แอลกอฮอล์ และชา สามารถรบกวนวงจรการนอนหลับและอาจทำให้ฮอร์โมนขาดสมดุลได้เช่นกัน หลายคนพอเจออากาศร้อน ๆ ก็ต้องการกาแฟเย็นหรือชาเย็นชื่นใจ ในทุกครั้งที่มีการบริโภคคาเฟอีนเพิ่มขึ้นก็จะทำให้ระดับคอร์ติซอลในร่างกายของเราสูงขึ้น ซึ่งคอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียดและสามารถกระตุ้นให้ร่างกายของเราเข้าสู่สภาวะตื่นตัว และหากมากเกินไปก็จะส่งผลต่อการนอนหลับ ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่วงจรการนอนหลับของเราเป็นปัญหา ฮอร์โมนอื่น ๆ ในร่างกายก็จะเป็นปัญหาตามมาด้วย
บทความที่คุณอาจสนใจ
- 6 อาหารที่มีเลปติน ผักผลไม้กระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเลปติน ช่วยให้อิ่มท้อง
- เพิ่มโกรทฮอร์โมนยังไง? รวม 5 วิธีเพิ่มโกรทฮอร์โมนต้านแก่ ลดน้ำหนัก