6 อาหารที่มีเลปติน ผักผลไม้กระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเลปติน ช่วยให้อิ่มท้อง
อาหารที่มีเลปติน มีอะไรบ้าง? วันนี้เรามี 6 ผักผลไม้ที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเลปติน (Leptin) หรือฮอร์โมนแห่งความอิ่ม กินแล้วช่วยลดความอยากอาหารได้ ใครกำลังอยู่ในช่วงลดน้ำหนัก กลัวตัวเองหิวบ่อยจนต้องจนเยอะและเสี่ยงอ้วน แนะนำเลย!
ปรึกษาปัญหาลดน้ำหนัก กับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ ผ่านแอป MorDee คลิกรับส่วนลดเลย!
อาหารที่มีเลปติน
1. ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่
ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ มีสารต้านอนุมูลอิสระและไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients) ที่มีส่วนช่วยกระตุ้นระดับฮอร์โมนเลปตินในร่างกาย ทำให้สามารถช่วยควบคุมความอยากอาหารและการเผาผลาญได้เป็นอย่างดี ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ที่แนะนำ เช่น มากิเบอร์รี่ (Maqui berries) บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ และสตรอว์เบอร์รี่ ที่มีน้ำตาลต่ำ ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ได้ ซึ่งเมื่อไตรกลีเซอไรด์ลดลง เลปตินก็สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. พืชตระกูลถั่ว
พืชตระกูลถั่ว (Legumes) แบบฝักที่มีเปลือกอ่อนกว่า Nuts หรือ ถั่วเปลืองแข็ง เช่น ถั่วเลนทิล ถั่วลันเตา (Peas) เป็นแหล่งของโปรตีนและไฟเบอร์ ที่มีส่วนช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเลปติน ช่วยเพิ่มการทำงานของเลปตินในร่างกาย อีกทั้งถั่วเหล่านี้ยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและมะเร็งได้อีกด้วย
3. ผักบางชนิด
ผักต่างๆ มีส่วนช่วยลดการอักเสบ ซึ่งการอักเสบในร่างกายมีส่วนทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินและโรคอ้วน ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเลปตินลดลง ดังนั้นการกินผักเพื่อลดการอักเสบนั้นจะทำให้สามารถช่วยปรับระดับเลปตินให้เป็นปกติได้ อีกทั้งไมโครไบโอมในลำไส้ที่ไม่ดีนั้นยังมีส่วนทำให้ระดับเลปตินต่ำ ซึ่งผักจะเข้าไปช่วยปรับปรุงสุขภาพลำไส้ให้ดีขึ้นได้ นอกจากนั้นอนุมูลอิสระที่ทำลายเซลล์ในร่างกายยังส่งผลต่อระดับเลปตินอีกด้วย ซึ่งการกินผักจะช่วยต้านอนุมูลอิสระและป้องกันเซลล์เสียหายได้ โดยแนะนำให้เลือกผักเคล คะน้า กะหล่ำดอก บรอกโคลี แทนผักที่มีแป้งอย่างข้าวโพดหรือมันฝรั่ง โดยเฉพาะบรอกโคลี ที่อุดมไปด้วยวิตามินซีและแคลเซียม มาช่วยลดภาวะดื้อต่อเลปติน (Leptin Resistance) พร้อมช่วยเผาผลาญแคลอรี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. แอปเปิ้ล
ผลไม้แนะนำอีกหนึ่งชนิดก็คือแอปเปิ้ล ซึ่งแอปเปิ้ลถือเป็นแหล่งของเพคติน (pectin) ที่มีส่วนช่วยต่อสู้กับภาวะดื้อต่อเลปติน (Leptin Resistance) ได้ อีกทั้งยังช่วยให้ร่างกายไวต่อเลปติน โดยเฉพาะแอปเปิ้ลแดง แอปเปิ้ลสายพันธุ์ Crabapple และแอปเปิ้ลพิงค์เลดี้ (Pink Lady Apple) แถมแอปเปิ้ลก็ยังมีไฟเบอร์มาช่วยทำให้เราหิวน้อยลงได้อีกด้วย
5. น้ำมันมะกอก
น้ำมันมะกอก อุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated Fatty Acid) ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเลปตินได้ และนอกไปจากการช่วยเพิ่มเลปตินแล้ว น้ำมันมะกอกก็ยังมีส่วนช่วยลดความอยากอาหารและลดน้ำหนักได้ดีอีกด้วย
6. ธัญพืชเต็มเมล็ด
โฮลเกรน (Whole Grains) หรือ ธัญพืชเต็มเมล็ด มีไฟเบอร์ที่มีส่วนช่วยกระตุ้นระดับฮอร์โมนเลปตินเช่นกัน อีกทั้งไฟเบอร์ยังช่วยชะลอการย่อยของคาร์โบไฮเดรต รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ และป้องกันการเพิ่มขึ้นของอินซูลินที่อาจนำไปสู่การเพิ่มน้ำหนัก นอกจากนั้นก็ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระมาช่วยเพิ่มระดับเลปตินได้เช่นกัน โดยแนะนำให้เลือกกินเป็นธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีแทนธัญพืชขัดสี ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง ควินัว เป็นต้น
บทความที่คุณอาจสนใจ