รีเซต

6 อาหารเอสโตรเจนสูง ช่วยปรับฮอร์โมนเพศหญิง ลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน

6 อาหารเอสโตรเจนสูง ช่วยปรับฮอร์โมนเพศหญิง ลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน
BeauMonde
14 มีนาคม 2566 ( 16:15 )
8.4K

     เอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้นตามธรรมชาติและมีความจำเป็นต่อกระบวนการทางชีววิทยาหลายอย่าง การที่เรามีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ต่ำ อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้มากมาย เช่น โรคกระดูกพรุน อาการร้อนวูบวาบ และอารมณ์แปรปรวน ซึ่งการรับประทานอาหารที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนได้

     อาหารบางชนิดก็มีไฟโตเอสโตรเจนสูง ซึ่งเป็นสารที่เลียนแบบการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย พบได้ในอาหารจากพืชหลายชนิด เช่น ถั่วเหลือง เมล็ดแฟลกซ์ ถั่วชิกพี ถั่วเลนทิล และพืชตระกูลถั่วอื่นๆ นอกจากนี้ในแอปเปิ้ล ทับทิม แครอท และมันเทศ ก็เป็นอาหารที่มีปริมาณไฟโตเอสโตรเจนสูงเช่นกัน

 

เอสโตรเจนคืออะไรและทำไมจึงจำเป็น ?

 

     เอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนที่มีทั้งในเพศชายและเพศหญิง โดยในผู้ชายจะมีความเข้มข้นของฮอร์โมนชนิดนี้น้อยกว่าในผู้หญิงมาก เอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนที่สำคัญเนื่องจากมีบทบาทและหน้าที่มากมายในร่างกาย นอกจากจะช่วยควบคุมประจำเดือนในผู้หญิงแล้ว ยังช่วยควบคุมระบบสืบพันธุ์ ทางเดินปัสสาวะ ระบบหัวใจและหลอดเลือด กระดูก ผิวหนังและเส้นผม

     การรับประทานอาหารที่มีไฟโตเอสโตรเจน สามารถช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนตามธรรมชาติและทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นได้ ซึ่งอาหารที่ควรรับประทาน มีดังนี้

 

 

6 อาหารที่อุดมไปด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน

 

1. เมล็ดแฟลกซ์

 

 

     เมล็ดแฟลกซ์ถือเป็นหนึ่งในแหล่งเอสโตรเจนที่ดี ซึ่งนอกจากจะมีเอสโตรเจนแล้ว ยังเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยเส้นใยอาหารและไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น กรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายได้

 

2. ถั่วเหลือง

 

 

     ถั่วเหลืองเป็นหนึ่งในอาหารที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงที่สุด ซึ่งในถั่วเหลืองมีสารประกอบไฟโตเอสโตรเจนที่เรียกว่าไอโซฟลาโวน สารชนิดนี้จะส่งผลต่อการช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย

 

3. ไวน์แดง

 

 

      ไวน์แดงมีไฟโตเอสโตรเจนที่เรียกว่า เรสเวอราทรอล ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายได้แล้ว ยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ตราบใดที่คุณรับในปริมาณที่พอเหมาะ สำหรับผู้หญิงปริมาณที่แนะนำคือการดื่มไวน์แดงเพียง 1 แก้วต่อวัน

 

4. กระเทียม

 

 

     การบริโภคกระเทียมเป็นประจำสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิตและป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ จากการวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่ากระเทียมมีส่วนช่วยในการเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลไปถึงการช่วยลดการสูญเสียมวลกระดูกและลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนได้ 

 

5. เมล็ดงา

 

 

     เมล็ดงาอาจช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนให้มากขึ้นได้ และนอกจากนี้ในเมล็ดงายังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่มีศักยภาพ ซึ่งนอกจากจะสามารถช่วยบำรุงสุขภาพโดยรวม ผิวและผมได้แล้ว ยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังได้ด้วย

 

6. ถั่ว

 

 

     ถั่วหลากชนิด เช่น เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์ ถั่วลิสงและถั่วพิสตาชิโอ ล้วนเป็นแหล่งของไฟโตเอสโตรเจนที่ดีต่อหัวใจและสามารถช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ แต่เนื่องจากถั่วส่วนใหญ่มีแคลอรีและไขมันสูง หากต้องการปริโภคก็อย่าลืมจำกัดปริมาณให้อยู่ในขนาดที่แนะนำต่อวัน

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง