รีเซต

6 อาการขาดแมกนีเซียม ตะคริว ไมเกรน กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะ

6 อาการขาดแมกนีเซียม ตะคริว ไมเกรน กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะ
BeauMonde
30 พฤศจิกายน 2565 ( 13:58 )
538

     การขาดแมกนีเซียมคือการที่ร่างกายไม่ได้รับแมกนีเซียมอย่างเพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งหากขาดแมกนีเซียมติดต่อกันเป็นเวลานาน สามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคกระดูกพรุน หรือแม้แต่เกิดอาการปวดหัวไมเกรน 

     โดยปกติแล้วเรามักไม่ขาดแมกนีเซียม แต่หากเรามีสภาวะสุขภาพบางอย่าง เช่น ใช้ยาบางชนิด โรคเบาหวาน ติดสุราเรื้อรัง ลำไส้ดูดซึมสารอาหารได้ไม่ดี ก็อาจทำให้เราเสี่ยงที่จะมีภาวะขาดแมกนีเซียมมากขึ้น

 

สาเหตุของการขาดแมกนีเซียม

  • การอดอาหารหรือขาดอาหารเป็นระยะเวลานาน
  • การได้รับยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัด และยาลดกรดกลุ่ม Proton pump Inhibitors (PPIs)
  • ท้องร่วงเฉียบพลันหรือเรื้อรัง
  • ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำหลังจากการผ่าตัดต่อมพาราไทรอยด์
  • การผ่าตัดบายพาสกระเพาะอาหาร
  • ภาวะสุขภาพ เช่น เบาหวาน ลำไส้ดูดซึมไม่ดี ท้องเสียเรื้อรัง และโรคบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียแมกนีเซียม 
  • ติดแอลกอฮอล์ พิษสุราเรื้อรัง

 

 

6 อาการของการขาดแมกนีเซียม

 

1. กล้ามเนื้อกระตุกและเป็นตะคริว

     อาการกระตุก อาการสั่น และตะคริวที่กล้ามเนื้อเป็นหนึ่งในสัญญาณของการขาดแมกนีเซียม และในกรณีที่เลวร้ายที่สุดอาจทำให้เกิดอาการชักได้ โดยอาการเหล่านี้เกิดจากการที่แคลเซียมไหลเข้าสู่เซลล์ประสาทมากขึ้น ทำให้เส้นประสาทของกล้ามเนื้อถูกกระตุ้นมากเกินไป อย่างไรก็ตามการกระตุกของกล้ามเนื้อก็อาจมาจากสาเหตุอื่น เช่น ความเครียด หรือการรับคาเฟอีนมากเกินไป ก็อาจทำให้กล้ามเนื้อกระตุกขึ้นมาได้ นอกจากนี้ยังอาจเป็นผลข้างเคียงของยาบางชนิดหรืออาการของโรคประสาทและกล้ามเนื้อ เช่น โรคกล้ามเนื้อเสื่อม โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

 

2. อาการชัก

     สาเหตุเดียวกันที่ทำให้เกิดตะคริวและกล้ามเนื้อกระตุก บางครั้งอาการขาดแมกนีเซียมก็ร้ายแรงถึงขั้นทำให้เกิดอาการชักได้ สาเหตุจากการขาดแมกนีเซียมจะทำให้ระบบประสาทระคายเคืองและส่งผลให้แคลเซียมไหลเข้าสู่เซลล์ประสาทมากเกินไป

 

3. เมื่อยล้าและกล้ามเนื้ออ่อนแรง

     ความเมื่อยล้า ส่วนมากมักเป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากความอ่อนล้าทางร่างกายและจิตใจ แต่อีกสาเหตุหนึ่งก็อาจจะมาจากการขาดแมกนีเซียมได้เช่นเดียวกัน การเหนื่อยล้าเป็นครั้งคราว หมายความว่าร่างกายต้องการการพักผ่อน อย่างไรก็ตาม ความเหนื่อยล้าอย่างรุนแรงหรือต่อเนื่องอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพ เนื่องจากความเหนื่อยล้าเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง จึงไม่สามารถระบุสาเหตุของอาการได้ เว้นแต่จะมีอาการอื่นร่วมด้วย 

     สัญญาณที่ชัดเจนอย่างหนึ่งของการขาดแมกนีเซียมคืออาการเมื่อยล้าและกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งอาจเกิดจากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเกิดจากการสูญเสียโพแทสเซียมในเซลล์กล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นภาวะที่เกี่ยวข้องกับอาการขาดแมกนีเซียม

 

4. ภาวะสุขภาพจิต

     ภาวะสุขภาพจิตก็เป็นผลจากการขาดแมกนีเซียมได้ เพราะระดับแมกนีเซียมต่ำจะมีส่วนเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของภาวะซึมเศร้า การขาดแมกนีเซียมอาจกระตุ้นให้เกิดความวิตกกังวล เพราะการขาดแมกนีเซียมทำให้เส้นประสาททำงานผิดปกติและเร่งให้เกิดสภาวะสุขภาพจิตในบางคน 

 

5. โรคกระดูกพรุน

     คนที่ขาดแมกนีเซียมมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะที่ทำให้กระดูกอ่อนแอและทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะกระดูกหักได้ด้วย กลับกันการได้รับแมกนีเซียมในปริมาณที่เพียงพอมีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของมวลกระดูกที่เพิ่มสูงขึ้น และสามารถช่วยป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ 

 

6. หัวใจเต้นผิดปกติ

     ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหัวใจเต้นผิดปกตินั้นถือเป็นภาวะร้ายแรง อาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก หน้ามืด หายใจไม่อิ่ม หรือแม้แต่เป็นลมได้ และจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติเหล่านี้อาจเกิดจากภาวะแมกนีเซียมในร่างกายอยู่ในระดับต่ำ และอาจเกิดจากการขาดโพแทสเซียมได้ด้วย

 

วิธีรับแมกนีเซียมให้เพียงพอ

     แมกนีเซียมมักพบมากในอาหารจากพืชและสัตว์ โดยแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดคืออาหารจำพวกเมล็ดพืชและถั่ว รวมถึงผักใบเขียวก็เป็นแหล่งอาหารที่ดีเช่นกัน

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง