5 อาหารที่ทำให้เหนื่อยง่าย เกิดอาการอ่อนล้า ไม่มีแรง
หลายคนที่เลือกรับประทานอาหารสุขภาพอาจจะกำลังกังวลเกี่ยวกับอาหารที่เรากินในแต่ละวัน ว่าทีสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพของเราหรือไม่ เพราะอาหารสามารถส่งผลต่อจิตใจ สุขภาพและที่สำคัญที่สุดคือรอบเอวของเราได้ การกินอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลมากเกิน อาจส่งผลกระทบกับสุขภาพร่างกาย หรืออาหารบางอย่างอาจทำให้เรารู้สึกอ่อนล้า อ่อนเพลียและไม่มีแรงออกกำลัง
ยังมีอาหารอีกหลายชนิดที่ก่อให้เกิดการอักเสบในร่างกาย โดยเฉพาะการอักเสบในลำไส้ เพราะเมื่อมีการอักเสบในลำไส้ สมองและร่างกายก็จะมีพลังงานน้อยลง เนื่องจากการอักเสบระดับจะส่งผลต่อการเผาผลาญพลังงาน และเป็นการเพิ่มอนุมูลอิสระในเซลล์ได้อีกด้วย
5 อาหารที่ทำให้เหนื่อยง่าย
1. อาหารแปรรูป
การบริโภคอาหารแปรรูปที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น ขนมเบเกอรี่และน้ำอัดลมต่าง ๆ มักเต็มไปด้วยน้ำตาล ไม่ว่าจะมาในรูปแบบของน้ำตาลทรายขาวหรือน้ำเชื่อมข้าวโพดฟรุกโตสสูง สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ร่างกายมีน้ำตาลกลูโคสมากเกินไป และสามารถนำไปสู่การอักเสบในสมองและอาจส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าและความเหนื่อยล้าในที่สุด
2. น้ำมันพืชบางประเภท
น้ำมันพืชบางประเภท เช่น ข้าวโพด เมล็ดองุ่น ถั่วเหลือง ทานตะวัน และน้ำมันปาล์ม น้ำมันเหล่านี้ผ่านกระบวนการกลั่นทางอุตสาหกรรมที่ทำให้สารบางอย่างหายไป และส่งผลให้ร่างกายเกิดการอักเสบได้สูงและส่งผลให้รางกายเกิดการอ่อนล้าและอ่อนเพลียได้
3. อาหารที่มีน้ำตาลแฝง
แม้ว่าเราอาจจะพบน้ำตาลได้ทั่วไปในขนมหรือซีเรียลบรรจุกล่องต่าง ๆ แต่เราก็ยังสามารถพบน้ำตาลแฝงได้ในอาหารหลาย ๆ ชนิด เช่น ซอสมะเขือเทศ และน้ำสลัด น้ำตาลที่เติมลงไปในอาหารเหล่านี้จะทำให้เกิดการอักเสบรุนแรงขึ้นและทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินความต้องการ ซึ่งสามารถสร้างความวิตกกังวลและทำให้ระดับอารมณ์ไม่คงที่
4. อาหารทอด
อาหารทอดมักชวนให้น้ำลายสอ แต่อย่างไรก็ควรลดปริมาณอาหารทอดที่กินในแต่ละวัน เพราะอาหารทอดมักจะทอดด้วยไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และทำให้ร่างกายเกิดการสะสมไขมันเลว ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าไขมันประเภทนี้ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคอื่นๆ
5. สารให้ความหวานเทียม
สารให้ความหวานเทียมอาจได้ชื่อว่าดีต่อสุขภาพ เพราะสามารถช่วยให้เราลดแคลอรีลงได้ แต่สารให้ความหวานเทียมหลายชนิดสามารถนำไปสู่ภาวะทางสุขภาพได้เช่นกัน โดยอาจทำให้ความเข้มข้นของสารสื่อประสาทควบคุมอารมณ์เปลี่ยนแปลง
รับส่วนลดและทรูพอยท์ เมื่อใช้บริการ ศูนย์บริการสุขภาพรามาธิบดี ที่ โลตัส นอร์ธราชพฤกษ์
อาหารที่ช่วยลดความเหนื่อยล้า
- โพรไบโอติกส์: โยเกิร์ต, เทมเป้, มิโซะ, กะหล่ำปลีดอง, คีเฟอร์, กิมจิ, คอมบูชาและชีสบางชนิด
- พรีไบโอติกส์: ถั่ว ข้าวโอ๊ต กล้วย เบอร์รี่ กระเทียม หัวหอม หน่อไม้ฝรั่ง อาร์ติโชก และต้นหอม
- คาร์โบไฮเดรตที่มีค่า GI ต่ำ: ข้าวกล้อง คีนัว ข้าวโอ๊ต และเมล็ดเชีย
- อาหาร GI ปานกลาง ในปริมาณที่พอเหมาะ: น้ำผึ้ง น้ำส้ม และขนมปังโฮลเกรน
- ไขมันที่ดีต่อสุขภาพ: ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว เช่น น้ำมันมะกอก ถั่ว เนยถั่ว และอะโวคาโด
- กรดไขมันโอเมก้า 3: ปลา โดยเฉพาะปลาที่มีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาเฮอริ่ง และปลาซาร์ดีน
- วิตามิน: B9, B12, B1, B6, A และ C
- แร่ธาตุและสารอาหารรอง: เหล็ก แมกนีเซียม โพแทสเซียม สังกะสี และซีลีเนียม
- เครื่องเทศ: หญ้าฝรั่นและขมิ้น
- สมุนไพร: ออริกาโน ลาเวนเดอร์ และดอกคาโมไมล์
บทความที่คุณอาจสนใจ
- 6 วิตามินและแร่ธาตุช่วยเพิ่มพลังงาน ลดอาการอ่อนเพลีย อ่อนล้า
- 5 อาหารแก้อาการอ่อนเพลีย กินเพิ่มพลัง กระปรี้กระเปร่า ไม่เหนื่อยล้า