8 เคล็ดลับลดน้ำหนักในวัย 40+ ผอมได้ถาวร แค่ปรับนิสัยบางอย่าง
การลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมีความสำคัญต่อสุขภาพด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ช่วยทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น ลดความเสี่ยงของโรคบางชนิด และเพิ่มความมั่นใจในตนเอง อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องใช้วิธีลดน้ำหนักอย่างถูกวิธีและยั่งยืน แทนที่จะมุ่งเน้นไปที่การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว
สาววัย 40 ขึ้นไปอาจประสบปัญหากับการลดน้ำหนัก เนื่องจากมวลกล้ามเนื้อและระบบเผาผลาญที่ลดลงตามอายุ ซึ่งหากอยากลดน้ำหนักได้สำเร็จก็ต้องใช้การลดน้ำหนักแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อช่วยให้ร่างกายได้ปรับตัวและช่วยให้เราสามารถสร้างนิสัยที่ดีต่อสุขภาพ รวมถึงการทำแบบนี้ยังจะสามารถช่วยรักษาน้ำหนักให้คงที่ไว้ได้เมื่อเวลาผ่านไป
การลดน้ำหนักอย่างยั่งยืนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในระยะยาว เช่น การรับประทานอาหารที่สมดุลและมีคุณค่าทางโภชนาการ การออกกำลังกายเป็นประจำ การจัดการความเครียด และการนอนหลับให้เพียงพอ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ต้องใช้เวลาในการฝึกตัวเอง ดังนั้นเพื่อไม่ให้เราต้องเครียดเกินไปในการลดน้ำหนัก เราสามารถทำตามเคล็ดลับเหล่านี้ได้เลย !!
8 เคล็ดลับลดน้ำหนักในวัย 40+
1. อย่าอดอาหารเช้า
การงดอาหารเช้าไม่ได้ช่วยให้คุณลดน้ำหนักได้ เพราะอาจทำให้คุณไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็น และอาจทำให้ในช่วงเช้ามีอาการหิวมากเกินไปจนทานอาหารว่างมากขึ้นตลอดทั้งวัน หรือเผลอทานอาหารกลางวันเพราะรู้สึกหิวจนควบคุมตนเองไม่ได้
2. รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น
ผักและผลไม้มีแคลอรีน้อย ไขมันต่ำแต่มีไฟเบอร์สูง ซึ่ง 3 ส่วนประกอบนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการช่วยลดน้ำหนักที่ยั่งยืนได้ และนอกจากนี้ในผักและผลไม้ยังมีวิตามินและแร่ธาตุมากมายที่ส่งผลดีต่อระบบเผาผลาญและการสร้างฮอร์โมนที่ดีต่อร่างกาย
3. กระฉับกระเฉงให้มากขึ้น
ความกระตือรือร้น การขยับร่างกายบ่อย ๆ เป็นกุญแจสำคัญในการลดน้ำหนักและช่วยควบคุมน้ำหนักให้คงที่ การไม่นั่งกับที่นาน ๆ และมีการเคลื่อนไหวร่างกายบ้างนอกจากจะให้ประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวมมากมายแล้ว การขยับร่างกายยังสามารถช่วยเผาผลาญแคลอรีส่วนเกินได้อีกนิดหน่อยด้วย
4. รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง
อาหารที่มีไฟเบอร์จำนวนมากสามารถช่วยให้คุณรู้สึกอิ่ม ซึ่งเหมาะสำหรับการลดน้ำหนัก ไฟเบอร์พบได้ในอาหารจากพืชเท่านั้น เช่น ผักและผลไม้ ข้าวโอ๊ต ขนมปังโฮลเกรน ข้าวกล้อง ถั่ว และธัญพืชต่าง ๆ
5. อ่านฉลากอาหาร
การรู้วิธีอ่านฉลากอาหารสามารถช่วยให้คุณเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง รวมถึงยังสมารถใช้ข้อมูลพลังงานที่ระบุในฉลากมาคำนวนเพื่อหาว่าอาหารชนิดใดเหมาะสมกับปริมาณแคลอรี่รายวันของเรา
6. รับประทานช้า ๆ
กระเพาะอาหารจะใช้เวลาประมาณ 20 นาทีในการบอกสมองว่าอิ่มแล้ว ดังนั้นเราจึงควรกินช้า ๆ และหยุดกินก่อนที่จะรู้สึกอิ่ม รวมถึงการใช้จานที่เล็กลงจะช่วยให้เรารับประทานอาหารได้น้อยลง และเมื่อทำแบบนี้อย่างต่อเนื่อง เราก็จะค่อยๆ ชินกับการทานอาหารน้อยลงโดยไม่รู้สึกหิว
7. อย่ากักตุนอาหารและขนม
เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งล่อใจ อย่าเก็บอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น ช็อกโกแลต บิสกิต ขนมกรุบกรอบ และเครื่องดื่มที่มีรสหวาน แต่ให้เลือกเก็บของว่างที่ดีต่อสุขภาพแทน เช่น ผลไม้สด ข้าวโอ๊ต ป๊อปคอร์นไม่ใส่เกลือแบะไม่หวาน
8. คุมปริมาณอาหาร
ไม่จำเป็นจะต้องห้ามรับประทานอาหารใด ๆ เมื่อเรามีแผนลดน้ำหนัก โดยเฉพาะอาหารที่คุณชอบ เพราะการห้ามรับประทานอาหารมีแต่จะทำให้คุณอยากอาหารมากขึ้น เราสามารถเพลิดเพลินกับการรับประทานอาหารที่ชอบเป็นครั้งคราวได้ ตราบใดที่เรายังสามารถควบคุมปริมาณแคลอรี่และควบคุมปริมาณของอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพไม่ให้มากเกินไปในแต่ละวัน
บทความที่คุณอาจสนใจ
- 5 นิสัยตอนเช้าที่ช่วยลดน้ำหนัก ทําทุกเช้าช่วยให้ผอมถาวร
- 5 เทคนิคดูแลตัวเองตอนเย็น เพื่อช่วยลดน้ำหนัก คุมน้ำหนักได้แค่ทำตามนี้ !!