รีเซต

5 วิธีแก้อาการวิตกกังวล เอาชนะโรคได้ด้วยตัวเอง แบบธรรมชาติ

5 วิธีแก้อาการวิตกกังวล เอาชนะโรคได้ด้วยตัวเอง แบบธรรมชาติ
BeauMonde
11 เมษายน 2566 ( 14:34 )
1.2K

     ความวิตกกังวลบางอย่างก็เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต เป็นผลจากการใช้ชีวิตในโลกที่วุ่นวายและเร่งรีบ บางครั้งการทำงน การเรียนหรือปัญหาบางอย่างก็ทำให้เราเกิดความเครียดและความวิตกกังวลได้ ซึ่งความวิตกกังวลแบบนี้แตกต่างจากโรควิตกกังวลค่ะ

 

โรควิตกกังวลคืออะไร?

     อย่างที่กล่าวไปว่า ความวิตกกังวลคือการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายต่อความเครียด เป็นความรู้สึกกลัวหรือกังวลที่อาจเกิดจากปัจจัยหลายอย่างรวมกัน ซึ่งนักวิจัยเชื่อว่ามีตั้งแต่พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม ไปจนถึงเคมีในสมอง ซึ่งความวิตกกังวลอาจทำให้มีอาการต่าง ๆ ตามมาได้ เช่น

  • อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
  • หายใจเร็ว
  • กระสับกระส่าย
  • ไม่สามารถโฟกัสกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้

     สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตว่าความวิตกกังวลสามารถแสดงออกมาในรูปแบบที่แตกต่างกันในแต่ละคน ในขณะที่คนหนึ่งอาจรู้สึกกระสับกระส่าย อีกคนอาจมีอาการตื่นตระหนกหรือถึงขึ้นฝันร้ายหรือมีความคิดทางด้านลบ

     จากที่กล่าวมา มีความแตกต่างระหว่างความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันและโรควิตกกังวล ความรู้สึกวิตกกังวลหรือความเครียดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติก็จริง แต่หากถึงจุดที่ควบคุมไม่ได้หรือมากเกินไปก็อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และอาจกลายเป็นความปกติทางสุขภาพจิตได้ 

 

 

ประเภทของโรควิตกกังวล

     โรควิตกกังวลก็แบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ตัวอย่างเช่น : 

  • โรคตื่นตระหนก (panic disorder)
  • โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (post-traumatic stress disorder - PTSD)
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive disorder - OCD)
  • ความวิตกกังวลในการแยกจากกัน (separation anxiety)
  • ความวิตกกังวลความเจ็บป่วย (illness anxiety)
  • โรคกลัว (Phobia)
  • โรควิตกกังวลทั่วไป (generalized anxiety disorder - GAD)
  • โรควิตกกังวลทางสังคม (social anxiety disorder)

 

 

5 วิธีแก้อาการวิตกกังวล 

 

1. ออกกำลังกาย

     การออกกำลังกายเป็นประจำไม่ได้เกี่ยวกับสุขภาพร่างกายเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยสุขภาพจิตได้อย่างมาก เพราะการออกกำลังสามารถช่วยปกป้องร่างกายจากอาการวิตกกังวลได้ ด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น การออกกำลังกายสามารถหันเหความสนใจของเราออกจากสิ่งที่ทำให้วิตกกังวลได้ อัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้นจากการออกกำลังยังเปลี่ยนแปลงเคมีในสมองและช่วยสร้างสารสื่อประสาทที่ต่อต้านความวิตกกังวลได้ ซึ่งสารสื่อประสาทที่มีส่วนเกี่ยวข้องเช่น เซโรโทนิน และ กรดแกมมา-อะมิโนบิวทีริก (กาบา) และจากข้อมูลของ American Psychological Association (APA ) พบว่าการออกกำลังกายเป็นประจำจะนำไปสู่การมีสมาธินานขึ้นซึ่งสามารถช่วยอาการวิตกกังวลบางอย่างได้

 

2. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

     การดื่มแอลกอฮอล์อาจช่วยได้ในช่วงแรก เนื่องจากมีลักษณะคล้ายจะเป็นยากล่อมประสาทตามธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยหลายชิ้นพบว่ามีความเชื่อมโยงบางอย่างระหว่างความวิตกกังวลและการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยโรควิตกกังวลและโรคติดแอลกอฮอล์ (AUD) มักจะเกิดขึ้นควบคู่กัน ซึ่งการลดปริมาณแอลกอฮอล์สามารถลดได้ทั้งความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า

     การดื่มหนักอาจรบกวนสมดุลของสารสื่อประสาทซึ่งส่งผลต่อสุขภาพจิตที่ดี และทำให้ความวิตกกังวลอาจเพิ่มขึ้นชั่วคราว ในระยะยาวแอลกอฮอล์ยังยังส่งผลกระทบต่อร่างกายในการนอนหลับได้ตามธรรมชาติโดยจะรบกวนสภาวะสมดุลของการนอนหลับ และอย่างที่เรารู้ การนอนหลับสนิทมีประโยชน์อย่างมากในการต่อสู้กับความวิตกกังวล

 

3. เลิกสูบบุหรี่

     ผู้ที่สูบบุหรี่มักจะเลือกสูบในช่วงเวลาที่ตึงเครียด เช่นเดียวกับการดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่เมื่อเครียดเป็นวิธีที่อาจทำให้ความวิตกกังวลแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป และยิ่งเราเริ่มสูบบุหรี่เร็วเท่าไร เราก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรควิตกกังวลในภายหลัง เพราะนิโคตินและสารเคมีอื่น ๆ ในควันบุหรี่เปลี่ยนสารเคมีในสมองที่เชื่อมโยงกับความวิตกกังวลให้เพิ่มมากขึ้น 

 

4. จำกัดปริมาณคาเฟอีน

     คาเฟอีนไม่ใช่เครื่องดื่มที่เหมาะสมนักในคนที่เป็นโรควิตกกังวล เพราะคาเฟอีนอาจทำให้กระวนกระวายใจ ตื่นตัวมากเกินไปจนไม่สามารถนอนหลับได้ตามปกติ ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ดีเลยถ้าคุณเป็นโรค จากการวิจัยยังพบว่าคาเฟอีนอาจทำให้เกิดหรือทำให้โรควิตกกังวลแย่ลง ดังนั้นการกำจัดการบริโภคคาเฟอีนจึงอาจทำให้อาการวิตกกังวลดีขึ้นได้

 

5. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

     การนอนหลับได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เรามีสุขภาพจิตที่ดี ซึ่งจากผลการวิจัยหลาย ๆ ชิ้นก็ได้แนะนำให้ผู้ใหญ่ควรจะนอนให้ได้ 7 - 9 ชั่วโมงทุกวัน และหากใครที่มีปัญหานอนหลับไม่สนิท เราก็แนะนำให้ลองทำตามนี้

  • ไม่นอนกลางวัน
  • ไม่อ่านหนังสือหรือดูโทรทัศน์บนเตียง
  • ไม่ใช้โทรศัพท์ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์บนเตียง
  • หลีกเลี่ยงคาเฟอีน อาหารมื้อใหญ่ และนิโคตินก่อนนอน
  • ทำให้ห้องนอนมืดและเย็น
  • จะเข้านอนในเวลาเดียวกันทุกคืน

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง