โรควิตกกังวล ประเภทและสาเหตุ รู้ไว้ก่อนใจและกายทรุด
ความวิตกกังวลเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดที่มีประโยชน์ในบางสถานการณ์ เพราะช่วยให้เราตื่นตัวและพร้อมรับมือกับปัญหาหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม โรควิตกกังวลมีความแตกต่างจากความวิตกกังวลทั่ว ๆ ไป คนเป็นโรควิตกกังวลจะรู้สึกวิตกกังวลและกลัวอย่างเกินเหตุ จนส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
สาเหตุของโรคมี 2 ปัจจัยหลักคือ
- กรรมพันธุ์ เช่น พ่อแม่เป็น ลูกก็มีโอกาสเป็นตาม หรือสารเคมีในสมองไม่สมดุล
- สภาพแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดู การเลียนแบบพฤติกรรมจากพ่อแม่ หรือการประสบเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดโรควิตกกังวล
โรควิตกกังวลมี 5 แบบ ดังนี้
- โรควิตกกังวลทั่วไป (GAD) เป็นความวิตกกังวลทั่วไปที่นานและมากเกินไป
- โรคแพนิก (PD) มีอาการโดยไม่มีสาเหตุ เช่น ใจสั่น เจ็บหน้าอก กลัวว่าตัวเองจะตาย ผู้ป่วยมักคิดว่าตัวเองกำลังเป็นโรคร้ายถึงแก่ชีวิต
- โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) คือความวิตกกังวลที่มีความคิดซ้ำ ๆ พฤติกรรมซ้ำ ๆ
- โรคเครียดหลังเกิดเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD) อาการเกิดหลังจากประสบกับเหตุการณ์อันเลวร้ายมาก เช่น การเฉียดตาย หรือ คนใกล้ตัวตาย
- โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจง (Phobias) จะกลัวบางสิ่งมากเกินไปเช่น กลัวเลือด กลัวสุนัข
💚 การรักษา มักเป็นการพูดคุยให้คำปรึกษาด้วยการรับฟัง ให้คำอธิบาย ทำจิตบำบัด CBT หรือ การให้ยา ก็สามารถหายเป็นปกติได้
💚 การป้องกัน ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ควรทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย และทำสมาธิเพื่อให้จิตใจสงบอยู่กับปัจจุบัน และทำให้สมองได้รับการผ่อนคลาย
👨⚕ สาระน่ารู้จาก คุณวีรวิชญ์ เหล่าวีระธรรม นักจิตวิทยาบนแอปฯ หมอดี
หากมีอาการวิตกกังวลจนรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน อย่าคิดว่าเรื่องเล็กน้อย เพราะปล่อยไว้นาน อาจส่งผลเสียได้ทั้งทางกายและทางใจ รีบมาพูดคุยกับจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัด รับรักษาเร็ว จะสามารถหายเป็นปกติได้
📲 5 ขั้นตอน ในการใช้แอปฯ หมอดี เพื่อปรึกษาจิตแพทย์ หรือ นักจิตบำบัด
- ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี คลิก>> https://mordee.app.link/6grJOklEqpb จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
- ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแผนก “จิตเวช” หากต้องการพบจิตแพทย์และรับยา หรือเลือกแผนก “สุขภาพใจ” หากต้องการปรึกษานักจิตบำบัด
- เลือกจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัดที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
- เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษา เมื่อถึงเวลานัดหมาย
- รอสรุปผลการปรึกษา พร้อมใบสั่งยาจากแพทย์ (หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้
💬 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp
👉👉 อ่านสาระสุขภาพจากแอปฯ หมอดี เพิ่มเติม คลิก >> https://mordeeapp.com/th/article
บทความที่คุณอาจสนใจ
- เช็กอาการโรคซึมเศร้า แค่อารมณ์เศร้าหรือเป็นซึมเศร้าจริง เช็กให้ชัวร์!
- เช็กอาการด่วน!! เดี๋ยวสุขเดี๋ยวเศร้า หรือเราจะเป็น "ไบโพลาร์"