รีเซต

6 วิธีป้องกันอาการเมาค้าง แก้แฮงค์ ปวดหัว พะอืดพะอม

6 วิธีป้องกันอาการเมาค้าง แก้แฮงค์ ปวดหัว พะอืดพะอม
BeauMonde
16 เมษายน 2566 ( 12:35 )
1.1K

     อาการเมาค้างคือกลุ่มของอาการต่าง ๆ ที่มักจะเกิดขึ้นหลังจากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งความรุนแรงของอาการเมาค้างอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานการณ์และแต่ละบุคคล รวมถึงปริมาณและประเภทของแอลกอฮอล์ที่ดื่มด้วย 

     อาการเมาค้าง อาการปวดหัว อ่อนเพลีย กระหายน้ำ คลื่นไส้ ไวต่อแสงและเสียง และไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อได้มักเป็นอาการหลัก ๆ ที่เกิดขึ้น โดยอาการแฮงค์หรือเมาค้างเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์และสามารถขัดขวางกิจกรรมประจำวันตามปกติได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันอาการเมาค้าง รวมถึงยังเป็นการกำจัดอาการเมาค้างให้หมดไปอย่างรวดเร็ว เราควรทำตามนี้

 

 

6 วิธีป้องกันอาการเมาค้าง

 

1. ดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ

     วิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงอาการเมาค้างคือการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะหรือไม่ดื่มเลย ยิ่งดื่มแอลกอฮอล์มากเท่าไหร่ โอกาสที่จะมีอาการเมาค้างรุนแรงในวันรุ่งขึ้นก็มีมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นปริมาณของการดื่มแอลกอฮอล์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งแต่ละคนก็จะสามารถดื่มได้มากน้อยต่างกันไปขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปริมาณอาหารที่กินเข้าไปก่อนหน้า ปริมาณน้ำที่ดื่มเข้าไปในแต่ละวัน และการนอนหลับที่เพียงพอ

 

2. ดื่มน้ำ

     แอลกอฮอล์มีส่วนในการขับปัสสาวะ ซึ่งหมายความว่าอาจทำให้บางคนมีความเสี่ยงสูงที่จะเข้าสู่ภาวะขาดน้ำ ดังนั้นการดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ ควบคู่ไปกับการดื่มแอลกอฮอล์จะสามารถช่วยให้ร่างกายขาดน้ำได้น้อยลง และอาจลดอาการอาการเมาค้างอื่น ๆ ได้ เช่น คอแห้ง อ่อนเพลีย และปวดศีรษะ

 

3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

     การนอนหลับให้เพียงพอจะช่วยลดอาการเมาค้างในวันรุ่งขึ้นได้ เพราะการนอนหลับสนิทช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากคืนก่อนหน้าได้ ดังนั้นหากวันไหนที่ตื่นมาแล้วมีอาการมาค้าง ในคืนวันเดียวกันนั้นก็ควรเข้านอนให้เร็วขึ้น

 

4. ดื่มให้ช้าลง

     คนที่เร่งตัวเองเมื่อดื่มแอลกอฮอล์มีโอกาสที่จะเกิดอาการเมาค้างได้ง่ายกว่าคนที่ดื่มช้า ๆ เพราะการเร่งดื่มเร็ว ๆ อาจหมายถึงในคืนนั้นเราดื่มในปริมาณมาก กลับกันคนที่ดื่มช้า ๆ อาจดื่มได้น้อยกว่า และมีโอกาสน้อยที่จะมีอาการเมาค้างรุนแรงในวันรุ่งขึ้น

 

5. กินก่อนดื่ม

     ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนที่จะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารก่อนหรือขณะดื่มสามารถชะลอการดูดซึมแอลกอฮอล์เข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งอาหารสามารถช่วยให้ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือดลดลงและอาจลดผลกระทบของอาการเมาค้างได้

 

6. อาหารเช้าที่ดี

     อาการเมาค้างจะแย่ลงเป็นอย่างมากหากเรามีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ การรับประทานอาหารเช้าที่ดีสามารถช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ และช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินรวมถึงแร่ธาตุที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างสมดุลและเป็นปกติมากขึ้น เมื่อร่างกยทำงานได้ดีแล้ว อาการเมาค้างก็จะลดลงตามไปด้วย

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
สัมผัสโลกไร้ขีดจำกัดกับทรูไอดี