7 อาหารโซเดียมต่ำ ตามธรรมชาติ กินแล้วลดเสี่ยงโรคไต หัวใจ ความดันโลหิตสูง
โซเดียม คือ แร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อร่างกาย เพราะมีส่วนช่วยในเรื่องการทำงานของเซลล์ การควบคุมของเหลว สร้างสมดุลของอิเล็กโทรไลต์ และรักษาความดันโลหิต และเนื่องจากโซเดียมมีความสำคัญต่อร่างกาย ไตของเราจึงต้องคอยควบคุมระดับของมันอย่างเข้มงวดตามความเข้มข้นของของเหลวในร่างกาย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโซเดียมจะมีความสำคัญต่อร่างกาย แต่หากร่างกายได้รับในปริมาณที่มากจนเกินไปก็อาจจะส่งผลเสียตามมาได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไต หัวใจ และความดันโลหิตสูงค่ะ
อาหารโซเดียมสูง
อาหารโซเดียมสูง ส่วนใหญ่แล้วจะพบในอาหารประเภท อาหารแปรรูป, ฟาสต์ฟู้ด หรืออาหารที่มีการปรุงรสด้วยเกลือแกง หรือ โซเดียมคลอไรด์ (Sodium Chloride) ค่ะ เรียกได้ว่าเราสามารถพบโซเดียมได้ในอาหารหลายๆ อย่างที่เรากินในแต่ละวันเลยล่ะค่ะ แต่ถ้าเป็นอาหารจำพวกผัก ผลไม้ หรือสัตว์ปีก ก็จะถือว่ามีโซเดียมที่ต่ำกว่าค่ะ ซึ่งอาหารจากพืชนั้นถือได้ว่ามีโซเดียมที่ต่ำกว่าเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากนมค่ะ
ข้อดีของการกินอาหารโซเดียมต่ำ
การกินอาหารที่มีโซเดียมต่ำ มีส่วนช่วยป้องกันและลดอาการของโรคไต ภาวะหัวใจล้มเหลว รวมถึงยังช่วยลดความดันโลหิตสูงได้อีกด้วยค่ะ นอกจากนั้นยังอาจมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งได้ด้วย โดยปริมาณโซเดียมที่ร่างกายควรได้รับต่อวันคือน้อยกว่า 2,000 - 3,000 มิลลิกรัม ซึ่งสำหรับเกลือ 1 ช้อนชานั้น ก็มีโซเดียมไปแล้วกว่า 2,300 มิลลิกรัมค่ะ
ผักโซเดียมต่ำ
- บรอกโคลี
- กะหล่ำดอก
- พริกไทย
- มันฝรั่ง
- มันเทศ
- ฟักทองน้ำเต้า หรือ ฟักบัตเตอร์นัท
- พาร์สนิป
ผลไม้โซเดียมต่ำ
- ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่
- แอปเปิ้ล
- กล้วย
- ลูกแพร์
- อะโวคาโด
ถั่ว เมล็ดพืช และธัญพืชโซเดียมต่ำ
- ถั่วลิสง
- อัลมอนด์
- เมล็ดฟักทอง
- ควินัว
- ฟาร์โร่
- ข้าวกล้อง
- พาสต้าโฮลวีต
เนื้อสัตว์โซเดียมต่ำ
- ไก่
- ไก่งวง
- ปลาค็อค
- ปลากระพงขาว
- ปลาทูน่า
น้ำมันโซเดียมต่ำ
- น้ำมันมะกอก
- น้ำมันอะโวคาโด
เครื่องปรุงรสโซเดียมต่ำ
- น้ำส้มสายชู
- มายองเนส
- ซอสโซเดียมต่ำ
- น้ำสลัดโซเดียมต่ำ
- กระเทียมผง
- สมุนไพร
- เครื่องเทศ
เครื่องดื่มโซเดียมต่ำ
- น้ำเปล่า
- ชา
- กาแฟ
- น้ำผลไม้โซเดียมต่ำ