ค่าความดันโลหิตดูอย่างไร? ทำไมยิ่งสูงยิ่งเสี่ยงโรค
ปกติเวลาที่เราไปคลินิกหรือโรงพยาบาล ก่อนการพบคุณหมอแทบจะทุกครั้ง จะมีคุณพยาบาลมาวัดค่าต่างๆ ในร่างกายของเรา เช่นการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง หรือบางครั้งก็มีการวัดค่า ความดันโลหิต ด้วย ซึ่งหากเราลองสังเกตให้ดีก่อนการวัดค่าความดันโลหิตทุกครั้ง พยาบาลจะให้เรานั่งพักให้หายเหนื่อยก่อนเพื่อให้ค่าถูกต้องมากที่สุดค่ะ
ทำไมต้องมีการวัด ความดันโลหิต ค่าความดันโลหิตนี้สามารถบอกอะไรแก่เราได้บ้างนอกจากการบอกว่าเราเป็นโรคความดันสูงหรือความดันต่ำ ทำไมบางครั้งเลขความดันโลหิตของเราถึงไม่ตรงกันทั้งๆ ที่วัดห่างกันไม่นาน ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตต่ำ ดูอย่างไร วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดโรคควรทำอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบค่ะ
ค่าความดันโลหิต คืออะไร
ค่าความดันโลหิต คือ แรงดันของกระแสเลือดที่กระทบต่อผนังหลอดเลือดแดง โดยเกิดจากการสูบฉีดเลือดของหัวใจ สามารถวัดได้โดยการใช้เครื่องวัดความดันวัดที่แขน ค่าที่ได้จากเครื่องวัดความดันนี้โดยปกติจะมี 2 ค่า คือ ค่าดันช่วงบน และค่าความดันช่วงล่าง
ความดันช่วงบน หรือ ความดันซิสโตลี (Systolic blood pressure) หมายถึง แรงดันเลือดในช่วงที่หัวใจกำลังบีบตัว โดยค่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเหตุปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ การเคลื่อนไหวของร่างกาย อารมณ์ เป็นต้น
ความดันช่วงล่าง หรือ ความดันไดแอสโตลี (Diastolic blood pressure) หมายถึง แรงดันเลือดในช่วงที่หัวใจกำลังคลายตัว
ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตต่ำ ดูอย่างไร
วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดโรค
1. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
2. ควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่รสจัดและมันจัด และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
3. ลดปริมาณของเกลือโซเดียม ไม่ควรกินเค็มมากเกินไป รงมถึงลดการดื่มแอลกอฮอล์
4. ตรวจสุขภาพทุกปี หรือตรวจบ่อยตามที่แพทย์หรือพยาบาลแนะนำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือมีคนในครอบครัวที่ป่วยเป็น โรคความดันโลหิต ทั้งสูงและต่ำค่ะ
บทความที่คุณอาจสนใจ
5 อาหารสุขภาพ ลดความดันโลหิต ที่สาวๆควรทานทุกวัน!