รีเซต

8 อาหารลดความดันโลหิตสูงแบบเร่งด่วน กินอะไรช่วยคุมความดัน ไม่ต้องพึ่งยา

8 อาหารลดความดันโลหิตสูงแบบเร่งด่วน กินอะไรช่วยคุมความดัน ไม่ต้องพึ่งยา
BeauMonde
5 มีนาคม 2566 ( 14:37 )
29.1K

     มีประชากรหลายล้านคนทั่วโลกที่มีภาวะความดันโลหิตสูง โดยภาวะนี้สามารถตรวจสอบได้ด้วยการวัดค่าความดันเลือด ผู้ป่วยมักจะมีค่าความดันโลหิตตัวบน (Systolic blood pressure - SBP) 130 มม.ปรอทขึ้นไป และค่าความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic blood pressure - DBP) มากกว่า 80 มม.ปรอท 

     ความดันโลหิตสูงหรือความดันเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สุดที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งภาวะความดันโลหิตสูงนี้เป็นภาวะที่เราป้องกันได้ โดยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต รวมถึงการปรับเปลี่ยนอาหารก็สามารถที่จะช่วยลดระดับความดันโลหิตให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมและลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้

     อาหารเพื่อสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการช่วยลดความดันโลหิตและช่วยรักษาระดับความดันโลหิตให้เหมาะสมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีสารอาหารเฉพาะสูง เช่น โพแทสเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งสารอาหารเหล่านี้สามารถช่วยลดระดับความดันโลหิตของเราได้

 

 

8 อาหารลดความดันสูงแบบเร่งด่วน

 

1. ผลไม้รสเปรี้ยว

 

 

     ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวเช่น ส้ม เลม่อนและมะนาว มีฤทธิ์ในการช่วยลดความดันโลหิตได้อย่างมาก เพราะเต็มไปด้วยสารอาหารอย่างวิตามิน แร่ธาตุ และสารประกอบจากพืช ที่ช่วยลดความดันโลหิตสูงและช่วยให้หัวใจของคุณแข็งแรง

     ผลการศึกษาของ University of Hiroshima แสดงให้เห็นว่าการบริโภคน้ำมะนาวทุกวันร่วมกับการออกกำลังด้วยการเดิน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ช่วยให้ค่าความดันโลหิตตัวบน (SBP) ลดลงได้ ซึ่งมาจากปริมาณกรดซิตริกและฟลาโวนอยด์ในมะนาว นอกจากนี้การดื่มน้ำส้มและน้ำเกรปฟรุต ก็อาจช่วยลดความดันโลหิตได้ด้วยเช่นกัน

 

2. ปลาแซลมอนและปลาที่มีไขมันอื่น ๆ

 

 

     ปลาที่มีไขมันเป็นแหล่งของไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจอย่างมาก ไขมันเหล่านี้อาจช่วยลดระดับความดันโลหิตโดยการช่วยลดการอักเสบภายในร่างกาย จากผลการวิจัยของ University of Zurich พบว่าการบริโภคปลาที่มีไขมันโอเมก้า 3 ในปริมาณที่มากขึ้น สามารถช่วยลดระดับความดันโลหิต และคนที่มีระดับไขมันโอเมก้า 3 ในเลือดสูง ก็จะมีค่าความดันโลหิตทั้งตัวบนและตัวล่างต่ำกว่าผู้ที่มีระดับไขมันโอเมก้า 3 ในเลือดน้อยอย่างมีนัยสำคัญ

 

3. เมล็ดฟักทอง

 

 

     เมล็ดฟักทองอาจมีขนาดเล็กแต่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เมล็ดพืชชนิดนี้เป็นแหล่งสารอาหารที่สำคัญที่ช่วยควบคุมความดันโลหิต เพราะมีสารอาหารสำคัญอย่างแมกนีเซียม โพแทสเซียม และอาร์จินีน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับการผลิตไนตริกออกไซด์ ซึ่งจำเป็นต่อการผ่อนคลายหลอดเลือดและลดความดันโลหิตได้ 

 

4. ถั่วพิสตาชิโอและถั่วอื่น ๆ 

 

 

      ถั่วต่าง ๆ รวมถึงถั่วพิสตาชิโออุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยควบคุมความดันโลหิต เช่น ไฟเบอร์ แมกนีเซียม และโพแทสเซียม ซึ่งสารอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยลดระดับความดันโลหิตสูงได้ ถั่วพิสตาชิโอมีคุณค่าทางโภชนาการสูง และการบริโภคถั่วพิสตาชิโอเป็นประจำนั้นสามารถช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพได้ รวมถึงสารอาหารในถั่วต่าง ๆ ก็ยังจำเป็นต่อสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือดด้วย

 

5. ผลเบอร์รี่

 

 

     ผลเบอร์รี่มีประโยชน์ในด้านการช่วยบำรุงสุขภาพได้มากมาย รวมถึงยังมีศักยภาพในการลดความดันโลหิตสูงด้วย ผลเบอร์รี่เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ รวมทั้งแอนโธไซยานิน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยเพิ่มระดับไนตริกออกไซด์ในเลือดและช่วยบำรุงหลอดเลือด และมีส่วนช่วยลดระดับความดันโลหิตได้

 

6. แครอท

 

 

     แครอทกรอบ ๆ มีคุณค่าทางโภชนาการ และเป็นผักที่ควรบริโภคเป็นประจำ แครอทมีสารประกอบฟีนอลสูง เช่น คลอโรเจนิก และกรด p -coumaric ซึ่งช่วยผ่อนคลายหลอดเลือดและลดการอักเสบซึ่งสามารถช่วยลดระดับความดันโลหิตได้ แม้ว่าแครอทจะรับประทานได้ทั้งแบบสุกและแบบดิบ แต่การรับประทานแบบดิบอาจมีประโยชน์มากกว่าในการลดความดันโลหิตสูง

 

7. ขึ้นฉ่าย

 

 

     ขึ้นฉ่ายเป็นผักยอดนิยมที่ส่งผลดีต่อความดันโลหิต มันมีสารประกอบที่เรียกว่า 3 เอ็น-บิวทิลฟทาไลด์ (3-n-butyl phthalide) ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือดและลดระดับความดันโลหิตได้ และการบริโภคขึ้นฉ่ายปรุงสุก ก็มีส่วนช่วยให้ความดันโลหิตที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

 

8. มะเขือเทศและผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ

 

 

     มะเขือเทศและผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ เช่น ซอสมะเขือเท มะเขือเทศกระป๋อง อุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย รวมทั้งโพแทสเซียมและสารแคโรทีนอยด์อย่างไลโคปีน ซึ่งไลโคปีนมีส่วนช่วยบำรุงสุขภาพของหัวใจ และการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารนี้สูงก็สามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ รวมถึงลดความดันโลหิตสูง

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง