5 อาหารที่ช่วยบรรเทาโรคซึมเศร้า ลดเครียด ลดความวิตกกังวล
ปัจจุบันผู้ป่วย โรคซึมเศร้า ในประเทศไทยตอนนี้มีมากขึ้น ทั้งผู้ที่เข้ารับการรักษาและผู้ที่ยังไม่ได้เข้ารับการรักษา โดยสาเหตุของโรคซึมเศร้านั้นเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถหายจากโรคนี้ได้เองโดยไม่ได้รับการรักษา อาการของผู้ที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้านั้นมีหลายอาการ ซึ่งผู้ที่กำลังสงสัยว่าตนเองเป็นหรือไม่เป็นสามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้ ที่นี่ แต่อย่างไรก็ตามหากเราสงสัยว่าตนเองจะป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจริงๆ ก็ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วค่ะ
ซึ่งการรักษา โรคซึมเศร้า นั้นต้องให้จิตแพทย์เป็นผู้รักษา แต่อย่างไรก็ตามหากคนไข้ให้ความร่วมมือและเต็มใจที่จะรักษาก็จะช่วยให้โรคนี้หายได้เร็วมากขึ้น การดูแลตัวเองเพื่อให้หายจากโรคซึมเศร้านั้นทำได้หลายวิธีด้วยกัน อย่างเช่นการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็สามารถช่วยให้เราหายและบรรเทาจากอาการซึมเศร้าได้ ซึ่งอาหารบางชนิดนั้นช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทและสมองทำให้เราสามารถบรรเทาอาการซึมเศร้าที่เป็นอยู่ได้ค่ะ
1. อาหารทะเล
อาหารทะเลนั้นมีซิลิเนียมอยู่เยอะ ซึ่งมีงานวิจัยพบว่าสารอาหารอย่างซิลิเนียมนั้นช่วยกระตุ้นอารมณ์ทางบวกและลดอารมณ์ทางลบได้ ซึ่งซิลิเนียมถือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบและการทำลายเซลล์สมอง นอกจากอาหารทะเลจะอุดมไปด้วยซิลิเนียมแล้ว เรายังสามารถกินเห็ด ตับ เนื้อสัตว์ไร้มันและธัญพืชได้อีกด้วยค่ะ
2. เนื้อปลา
ในเนื้อปลามักจะมีโอเมก้า 3 ซึ่งถือเป็นกลุ่มไขมันดีและช่วยลดอาการซึมเศร้าได้เพราะมีผลต่อการทำงานของสารสื่อประสาท เนื้อปลาที่เราควรกินได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า นอกจากนี้ในผักที่มีใบสีเขียวเข้มก็มีโอเมก้า 3 เช่นเดียวกันค่ะ
3. ไข่
ในไข่นั้นนอกจากจะมีโปรตีนแล้ว ยังมีกรดอะมิโนที่ชื่อ ทริปโตเฟน (tryptophan) เป็นตัวสร้างสารเซโรโทนิน (serotonin) ซึ่งช่วยสร้างความสมดุลในการนอนหลับ สมดุลทางอารมณ์ ความจำและนิสัย โดยจะส่งผลให้การทำงานของสมองดีขึ้นและช่วยลดความวิตกกังวล
4. นมสด
ทั้งนมสดไขมันต่ำและผลิตภัณ์ที่ทำจากนมอย่างเช่นชีสนั้นก็จัดเป็นอาหารที่มีวิตามินดีสูง ซึ่งผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่าวิตามินดีมีผลกับโรคซึมเศร้า ซึ่งหากร่างกายขาดวิตามินดีมักจะทำให้มีผลกับโรคทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล
5. กล้วย
กล้วยถือเป็นอาหารที่ช่วยให้ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้านั้นรู้สึกดีขึ้นได้ เนื่องจากกล้วยมีโพรไบโอติก ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยกระตุ้นเซโรโทนิน ทำให้ร่างกายมีสารสื่อประสาทที่ดีขึ้นและช่วยให้ร่างกายมีความสุข อารมณ์ดีและมีพลังงานมากขึ้น
บทความที่คุณอาจสนใจ
โรควิตกกังวล คืออะไร? อีกโรคทางจิตใจที่มีความคล้ายโรคซึมเศร้า
6 ข้อ ไบโพล่าร์ เราเป็นคนอารมณ์สองขั้วหรือไม่ เช็คได้ตามนี้