รีเซต

7 อาหารเพิ่มความดัน ความดันต่ำต้องกินอะไร อาหารอะไรทำให้ความดันปกติ

7 อาหารเพิ่มความดัน ความดันต่ำต้องกินอะไร อาหารอะไรทำให้ความดันปกติ
BeauMonde
12 ธันวาคม 2565 ( 14:09 )
1.6K

     ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension) เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ อาการของภาวะนี้ได้แก่ เป็นลม ตาพร่ามัว เวียนศีรษะและหน้ามืด หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา ความดันโลหิตต่ำอาจส่งผลให้เกิดอาการหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้หัวใจและสมองเสียหายในระยะยาว หรือแม้กระทั่งเสียชีวิตได้

     ความดันโลหิตต่ำอาจเกิดจากหลายปัจจัย และอาจเป็นผลข้างเคียงของยาและเป็นผลข้่งเคียงของโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน รวมไปถึงอาหารที่เรากินก็มีผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพหัวใจและความดันโลหิต แต่ก็ยังมีอาหารบางอย่างที่ดีต่อผู้ป่วยโรคนี้ และสามารถช่วยให้ความดันโลหิตกลับสู่ระดับปกติได้

 

ความดันโลหิตคืออะไร ?

     ความดันโลหิตเป็นหนึ่งในสัญญาณชีพของร่างกาย โดยความดันโลหิต คือ ค่าความดันภายในหลอดเลือดแดง ที่เกิดขึ้นระหว่างการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งจะวัด 2 ค่า คือค่าความดันตัวบน เป็นค่าความดันขณะที่หัวใจบีบตัว และค่าความดันตัวล่าง เป็นค่าความดันขณะที่หัวใจคลายตัว

     ค่าความดันที่เป็นตัวเลขแรกหรือตัวเลขบนเรียกว่าความดันซิสโตลิก เป็นค่าวัดความดันเมื่อหัวใจบีบตัว ซึ่งหากเป็นค่าปกติจะไม่เกิน 139 มม.ปรอท และค่าความดันเลขตัวล่างเรียกว่าความดันไดแอสโตลิก วัดค่าเมื่อหัวใจคลายตัว โดยค่าปกติจะไม่เกิน 89 มม.ปรอท 

 

ความดันโลหิตต่ำคืออะไร ?

     ความดันโลหิตต่ำเป็นภาวะที่ส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้ไม่เพียงพอ และส่งออกซิเจนรวมถึงสารอาหารไปยังหัวใจ สมอง ไต และอวัยวะอื่น ๆ ได้ไม่เพียงพอ ความดันโลหิตต่ำหรือความดันเลือดต่ำสามารถสร้างความเสียหายต่ออวัยวะภายในได้ และหากค่าความดันเลืดต่ำเกินไปยิ่งจะเสี่ยงทำให้เกิดอันตรายถาวรต่อร่างกาย โดยค่าความดันโลหิตในผู้ใหญ่หากน้อยกว่า 90/60 มม. ปรอท และในผู้สูงอายุมีค่าความดันต่ำกว่า 100/70 (mm/Hg) จะถือว่าเป็นค่าความดันโลหิตต่ำ และควรต้องเข้ารับการรักษาโดยแพทย์

 

 

7 อาหารเพิ่มความดัน ความดันต่ำต้องกินอะไร

 

1. กาแฟ

 

 

     กาแฟเป็นเครื่องดื่มชั้นยอดที่เต็มไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย กาแฟช่วยเพิ่มความดันโลหิตได้ และนอกจากกาแฟ เครื่องดื่มเช่นชาที่มีคาเฟอีน ก็สามารถทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นและทำให้ความดันโลหิตพุ่งสูงขึ้นได้ชั่วคราว อย่างไรก็ตามการบริโภคคาเฟอีนไม่ได้ส่งผลต่อความดันโลหิตเหมือนกันทุกคน หากคุณเป็นคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ การดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนอาจไม่ได้ช่วยเพิ่มค่าความดันโลหิตได้มากเท่าไหร่นัก

 

2. ไข่

 

 

     ไข่เป็นแหล่งที่ดีของโฟเลต วิตามินบี 12 ธาตุเหล็ก โปรตีน และสารอาหารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของค่าความดันโลหิต และไข่ก็มีประโยชน์ในการช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอื่น ๆ อย่างเช่น ลดความเสี่ยงของโรคเบาหวาน

 

3. ผลิตภัณฑ์นม

 

 

     ผลิตภัณฑ์จากนมเป็นแหล่งวิตามินบี 12 โฟเลต และโปรตีนที่ดี โดยเฉพาะวิตามินบี 12 เป็นวิตามินที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ร่างกายผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แข็งแรง การขาดวิตามินที่สำคัญนี้อาจส่งผลให้เกิดโรคโลหิตจาง ซึ่งจะส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงและอาจทำให้เลือดออกมากเกินไป ตลอดจนอาจทำให้อวัยวะและเส้นประสาทถูกทำลายได้ 

 

4. หน่อไม้ฝรั่ง

 

 

     หน่อไม้ฝรั่งมีโฟเลตหรือวิตามินบี 9 ที่ค่อนข้างสูง โฟเลตจัดเป็นวิตามินที่จำเป็นอีกชนิดหนึ่งที่พบในอาหาร โดยนอกเหนือจากหน่อไม้ฝรั่งก็ยังมีบรอกโคลี ตับ และพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเลนทิลและถั่วชิกพี ที่มีสารอาหารชนิดนี้สูง การขาดโฟเลตอาจมีอาการหลายได้อย่างเช่นเดียวกับการขาดวิตามินบี 12 คือทำให้เกิดภาวะโลหิตจางซึ่งนำไปสู่ภาวะความดันโลหิตต่ำได้

 

5. ปลากระป๋อง

 

 

     อาหารที่มีเกลือสูงอาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ โดยแหล่งที่ดีของเกลือหรือโซเดียม ได้แก่ มะกอกดอง คอทเทจชีส ปากระป๋อง ทูน่ากระป๋อง รวมถึงซุปกระป๋องรสชาติต่าง ๆ และนอกจากนี้เรายังสามารถเพิ่มเกลือแกงหรือเกลือทะเลลงในมื้ออาหารได้อีกเล็กน้อย

 

6. น้ำสะอาด

 

 

     เมื่อร่างกายขาดน้ำ ปริมาณเลือดก็จะลดลงตามไปด้วย ซึ่งส่งผลทำให้ความดันโลหิตของเราลดลงได้ ด้วยเหตุนี้จึงแนะนำให้ดื่มน้ำอย่างน้อย 2 ลิตรหรือประมาณ 8 แก้วทุกวัน และควรดื่มน้ำให้มากขึ้นในช่วงอากาศร้อนหรือช่วงที่ออกกำลังกาย

 

7. ปลาที่มีไขมันดี

 

 

     ปลาที่มีไขมันดี เช่น ปลาแซลมอนและปลาทูน่า มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการ อย่างหนึ่งคือช่วยเพิ่มความดันโลหิต เพราะปลาที่มีไขมันดีเหล่านี้สามารถช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจได้ และนอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยไขมันโอเมก้า 3 ที่มีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมวิตามินบี 12 ในร่างกาย

 

 

อ้างอิง

 

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง