รีเซต

7 ปลาที่มีสารปรอทสูง ปลาที่มีโลหะหนัก ไม่ควรกินเยอะ ไม่ดีต่อสุขภาพ

7 ปลาที่มีสารปรอทสูง ปลาที่มีโลหะหนัก ไม่ควรกินเยอะ ไม่ดีต่อสุขภาพ
pommypom
28 เมษายน 2565 ( 17:20 )
185K

     สารปรอท (Mercury) คือ โลหะหนักที่เป็นพิษ มักจะพบตามแหล่งน้ำ ดิน รวมถึงอากาศ ซึ่งร่างกายของเราจะได้รับสารปรอทจากการกินอาหารที่มีสารปรอทปนเปื้อนเข้าไป โดยเฉพาอาหารทะเล อาหารจำพวกปลา ปลาทะเล ปลาตัวใหญ่ และเนื้อสัตว์ที่กินปลาเป็นอาหาร ซึ่งหากร่างกายมีสารปรอทสะสมมากๆ ก็อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ยิ่งเป็นหญิงตั้งครรภ์และคุณแม่ที่ให้นมลูก ยิ่งต้องหลีกเลี่ยงเลยล่ะค่ะ เพราะสารปรอทสามารถส่งผ่านไปยังลูกในท้อง รวมถึงจากนมแม่ไปสู่ลูกน้อยได้นั่นเอง!

 

 

1. ปลาไทล์ฟิช (Tilefish)

     ปลาไทล์ฟิช โดยเฉพาะที่มีแหล่งมาจากอ่าวเม็กซิโกและมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นปลาที่ปนเปื้อนสารปรอทมากเฉลี่ย 219 ไมโครกรัม เลยทีเดียว เรียกได้ว่าเป็นอาหารทะเลที่มีสารปรอทสูงเป็นอันดับต้นๆ เลยล่ะค่ะ

 

 

2. ปลาฉลาม (Shark)

     หลายๆ คนคงเคยได้เห็นแคมเปญรณรงค์เกี่ยวกับการลดบริโภคหูฉลามกันมาบ้าง อันเนื่องมาจากความโหดร้ายในการล่าฉลามเพื่อตัดครีบ รวมถึงฉลามยังมีสารปรอทปนเปื้อนมากถึง 151 ไมโครกรัมอีกด้วย ดังนั้นจึงไม่ต้องลังเลที่จะหลีกเลี่ยงการกินฉลามเลยล่ะค่ะ

 

 

3. ปลากระโทงดาบ (Swordfish)

     ปลากระโทงดาบ มีสารปรอทปนเปื้อนประมาณ 147 ไมโครกรัม เรียกได้ว่าสูงไม่แพ้ปลาอื่นๆ เลยล่ะค่ะ ดังนั้นใครที่ไม่อยากมีสารพิษสะสมในร่างกาย ต้องหลีกเลี่ยงการกินปลากระโทงดาบเลย

 

 

4. ปลาอินทรีย์ (King Mackerel)

     ปลาอินทรีย์ ปลาที่หลายๆ คนรู้จักกันดีและมักจะนำมาทำเป็นอาหารหลายๆ เมนู ต้องขอบอกเลยว่า ปลาอินทรีย์ก็มีสารปรอทปนเปื้อนเช่นกันค่ะ โดยปลาอินทรีย์จะมีสารปรอทอยู่ที่ประมาณ 110 ไมโครกรัมค่ะ

 

 

5. ปลาทูน่า (Tuna)

     อาหารโปรดของสายรักสุขภาพอย่าง ปลาทูน่า เรียกได้ว่ากินแล้วอาจจะไม่ได้ดีต่อสุขภาพเสมอไป เพราะปลาทูน่านั้นมีสารปรอทปนเปื้อนค่ะ โดยเฉพาะปลาทูน่า พันธุ์ตาโต (Bigeye Tuna) ปลาทูน่า พันธุ์ครีบน้ำเงิน (Bluefin Tuna) ปลาทูน่า พันธุ์ครีบยาว (Albacore Tuna) ที่มีสารปรอทอยู่ที่ประมาณ 54 - 58 ไมโครกรัม ส่วนปลาทูน่า พันธุ์ท้องแถบ (Skipjack)  และปลาทูน่า ครีบเหลือง (Yellowfin Tuna) มีสารปรอทอยู่ที่ประมาณ 31 - 49 ไมโครกรัม ในขณะที่ปลาทูน่า กระป๋องมีสารปรอทอยู่ที่ประมาณ 13 ไมโครกรัมค่ะ

 

 

6. ปลาหัวเมือก (Orange roughy)

     ปลาหัวเมือก มีสารปรอทปนเปื้อนประมาณ 80 ไมโครกรัม ซึ่งปลาชนิดนี้เป็นสัตว์ทะเลน้ำลึกที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้มากกว่า 100 ปีเลยทีเดียว และการที่ปลาหัวเมือกมีอายุขัยยาวนานแบบนี้ ก็สามารถนำไปสู่การสะสมของสารปรอทที่สูงขึ้นได้นั่นเอง

 

 

7. ปลามาร์ลิน (Marlin)

     ปลามาร์ลิน ก็ถือเป็นปลาอีกหนึ่งชนิดที่มีสารปรอทปนเปื้อนค่ะ โดยจะปนเปื้อนเฉลี่ยประมาณ 69 ไมโครกรัม ใครที่ไม่อยากเสี่ยงมีสารปรอทสะสมในร่างกาย ต้องหลีกเลี่ยงการกินปลามาร์ลินเลยค่ะ

 

 

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง