รีเซต

7 อาหารโรคไตกินได้ มีโซเดียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัสต่ำ ไม่อันตรายต่อไต!

7 อาหารโรคไตกินได้ มีโซเดียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัสต่ำ ไม่อันตรายต่อไต!
pommypom
26 มกราคม 2565 ( 14:20 )
26.9K

     ไต เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญต่อร่างกายไม่แพ้ส่วนอวัยวะส่วนอื่นๆ เลยล่ะค่ะ เนื่องจากไตทำหน้าที่กรองของเสีย ปล่อยฮอร์โมนที่มีส่วนช่วยควบคุมความดันโลหิต ปรับสมดุลของเหลวในร่างกาย ผลิตปัสสาวะ และอื่นๆ อีกมากมาย ในขณะเดียวกันก็ยังมีอีกหลายๆ ปัจจัยที่มีส่วนทำให้ไตของเราเสียหายได้ ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมไปถึงความอ้วน การสูบบุหรี่ พันธุกรรม เพศ และอายุ ด้วยเช่นกันค่ะ ซึ่งอาหารการกินก็มีส่วนสำคัญไม่ต่างกัน โดยผู้ป่วยโรคไตจะถูกจำกัดให้กินอาหารที่มีโซเดียม, โพแทสเซียม และฟอสฟอรัสที่ต่ำค่ะ เพราะจะไม่สร้างความเสียหายต่อไตนั่นเอง

 

 

1. น้ำมันมะกอก

     น้ำมันมะกอก ถือเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated fats) ที่เรียกว่ากรดโอเลอิก (Oleic acid) ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยต้านการอักเสบได้ดี อีกทั้งยังมีความคงตัวที่อุณหภูมิสูง จึงเหมาะสำหรับนำไปปรุงอาหารเพื่อสุขภาพ ที่สำคัญยังดีต่อผู้ป่วยโรคไตอีกด้วย เนื่องจากในน้ำมันมะกอกไม่มีฟอสฟอรัสอยู่เลย ในขณะที่มีโซเดียม 0.3 มก. และโพแทสเซียม 0.1 มก. (ในน้ำมันมะกอก 13.5 กรัม หรือประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ) เรียกได้ว่ามีน้อยจริงๆ ค่ะ 

 

 

2. กะหล่ำดอก

     กะหล่ำดอก เรียกได้ว่าเป็นแหล่งของสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายเลยล่ะค่ะ ไม่ว่าจะเป็น วิตามินซี, วิตามินเค, วิตามินโฟเลต หรือ วิตามินบี 9 รวมถึงยังมีไฟเบอร์สูง และมีสารช่วยต้านการอักเสบอย่าง อินโดล (Indole) ด้วยเช่นกัน ใขณะที่กะหล่ำดอก 124 กรัม มีโซเดียมอยู่เพียงแค่ 19 มก. มีโพแทสเซียม 176 มก. และมีฟอสฟอรัส 40 มก. ซึ่งถือเป็นปริมาณที่ต่ำ ผู้ป่วยโรคไตสามารถกินได้ค่ะ

 

 

3. บลูเบอร์รี่

     บลูเบอร์รี่ เป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระอย่าง แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจ, โรคมะเร็งบางชนิด, โรคเบาหวาน และโรคความจำเสื่อมได้ดีค่ะ ที่สำคัญผู้ป่วยโรคไตก็ยังสามารถกินได้ด้วย เพราะในบลูเบอร์รี่ 148 กรัม มีโซเดียมเพียงแค่ 1.5 มก. มีโพแทสเซียม 114 มก. และมีฟอสฟอรัส 18 มก. ซึ่งถือเป็นปริมาณที่ต่ำค่ะ

 

 

4. กระเทียม

     แน่นอนว่าในผู้ป่วยโรคไต จำเป็นที่จะต้องจำกัดปริมาณการได้รับโซเดียม โดยรวมไปถึงเกลือด้วยเช่นกัน ดังนั้นทางเลือกสำหรับการปรุงรสอาหารที่จะดีต่อสุขภาพไต แนะนำให้เลือกใช้กระเทียมจะดีกว่าค่ะ เนื่องจากในประเทียม 3 กลีบ หรือประมาณ 9 กรัม มีโซเดียมอยู่เพียงแค่ 1.5 มก. มีโพแทสเซียม 36 มก. และมีฟอสฟอรัส 14 มก.ค่ะ ซึ่งถือเป็นปริมาณที่ต่ำ ผู้ป่วยโรคไตสามารถกินได้ แถมกระเทียมยังมีสารอาหารอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น แมกนีเซียม, วิตามินซี, วิตามินบี 6 และซัลเฟอร์ ที่มีส่วนช่วยต้านการอักเสบได้ดีค่ะ

 

 

5. กะหล่ำปลี

     กะหล่ำปลี อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่ดีต่อร่างกายมากมาย ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเค, วิตามินซี หรือวิตามินบี รวมไปถึงยังมีใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ (Insoluble Fiber) ที่ส่งผลดีต่อระบบย่อยอาหารอีกด้วย ที่สำคัญยังดีต่อผู้ป่วยโรคไต เนื่องจากกะหล่ำปลี 70 กรัม มีโซเดียมอยู่ 13 มก. มีโพแทสเซียม 199 มก. และมีฟอสฟอรัส 18 มก. ซึ่งเรียกได้ว่าอยู่ในปริมาณที่ต่ำ ไม่เป็นอันตรายต่อไตค่ะ

 

 

6. หอมหัวใหญ่

     อีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับการปรุงรสอาหารเพื่อให้ร่างกายได้รับโซเดียมน้อย แนะนำให้เลือกหอมหัวใหญ่เลยค่ะ เนื่องจากในหอมหัวใหญ่ 70 กรัม มีโซเดียมเพียงแค่ 3 มก. มีโพแทสเซียม 102 มก. และมีฟอสฟอรัส 20 มก. ซึ่งถือเป็นปริมาณที่ต่ำ ผู้ป่วยโรคไตสามารถกินได้ นอกจากนั้นหอมหัวใหญ่ยังมีวิตามินซี, แมกนีเซียม, วิตามินบี และพรีไบโอติก (Prebiotic) ที่ดีต่อระบบย่อยอาหารและสุขภาพลำไส้อีกด้วย

 

 

7. องุ่นแดง

     องุ่นแดง ถือเป็นแหล่งของวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระอย่าง ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ที่มีส่วนช่วยลดอาการอักเสบต่างๆ อีกทั้งยังมีเรสเวอราทรอล (Resveratrol) ซึ่งถือเป็นสารฟลาโวนอยด์ชนิดหนึ่ง ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ แถมช่วยป้องกันโรคเบาหวานและภาวะสมองเสื่อมได้อีกด้วย นอกจากนั้นองุ่นแดง 75 กรัม ยังมีโซเดียม 1.5 มก. มีโพแทสเซียม 144 มก. และมีฟอสฟอรัส 15 มก. ซึ่งถือเป็นปริมาณที่ต่ำ จึงดีต่อผู้ป่วยโรคไตค่ะ 

 

 

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง