รีเซต

6 อาหารที่ควรเลี่ยงเมื่อวิตกกังวล เร่งให้เกิดความเครียด เสี่ยงซึมเศร้า

6 อาหารที่ควรเลี่ยงเมื่อวิตกกังวล เร่งให้เกิดความเครียด เสี่ยงซึมเศร้า
BeauMonde
30 สิงหาคม 2566 ( 14:52 )
408

     ความเครียดเป็นการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งกระตุ้นที่เกิดขึ้นตามปกติ และความวิตกกังวลก็เป็นส่วนหนึ่งของปฏิกิริยาของร่างกายหลังจากที่เกิดความเครียด แม้ว่าความวิตกกังวลอาจใช้เวลานานกว่าจะหายและอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเรา แต่การปรับเปลี่ยนอาหารอาจช่วยให้เราจัดการความเครียดและวิตกกังวลได้ดีขึ้น

     สิ่งที่เรากินมีความสำคัญต่อสุขภาพจิตเพราะมีความเชื่อมโยงระหว่างอาหารที่กินเป็นประจำกับสุขภาพโดยรวมและส่งผลถึงอารมณ์ คุณภาพของอาหารอาจส่งผลต่อระดับอารมณ์ที่ผิดปกติ ซึ่งรวมไปถึงความเครียดและความวิตกกังวลด้วย

     แม้ว่าอาหารมื้อเดียวอาจจะไม่ทำให้เราวิตกกังวลมากขึ้น แต่วิธีการเลือกอาหารของเราอาจส่งผลต่ออารมณ์ในระยะยาวได้ และอาจทำให้ความเครียดและความวิตกกังวลแย่ลงไปอีก การรู้ว่าอาหารชนิดใดที่ควรรับประทานในช่วงที่กำลังเครียดและวิตกกังวลสามารถช่วยให้เราปรับอารมณ์ได้ และการรู้ว่าอาหารชนิดไหนที่ควรเลี่ยงก็ช่วยได้เช่นกัน ซึ่งอาหารที่ควรเลี่ยง มีดังนี้

 

 

6 อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อวิตกกังวล

 

1. กาแฟและชา

 

 

    หลายคนต้องการดื่มกาแฟในตอนเช้าเพื่อช่วยให้รู้สึกตื่นตัว กาแฟและชาจึงเป็นเครื่องดื่มที่ส่งผลต่อสมองได้ คาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นที่ช่วยใให้เราเกิดความกระตือรือร้นและตื่นตัว อย่างไรก็ตามคาเฟอีนยังสามารถทำให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวลได้ด้วย คาเฟอีนสามารถเพิ่มฮอร์โมนบางชนิดได้ เช่น คอร์ติซอล โดปามีน อะดรีนาลีน และอะดีโนซีน

 

2. น้ำอัดลม

 

 

     เครื่องดื่มประเภทโซดาและน้ำอัดลมอาจช่วยดับกระหายได้ แต่ก็อาจส่งผลต่อการทำงานของสมองได้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะน้ำอัดลมที่มีการใส่น้ำตาลจะยิ่งส่งผลกระทบต่ออารมณ์เป็นอย่างมาก การบริโภคน้ำตาลมากเกินไปจะเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองที่เปลี่ยนแปลงไป และก่อให้เกิดความวิตกกังวลรวมถึงอาการซึมเศร้าได้

 

3. เครื่องดื่มชูกำลัง

 

 

     เครื่องดื่มชูกำลังมักมีส่วนผสมของคาเฟอีน น้ำตาลหรือสารทดแทนน้ำตาล วิตามินและกรดอะมิโน แม้ว่าเครื่องดื่มชูกำลังมักจะถูกดื่มเมื่อเรารู้สึกอ่อนล้า แต่เครื่องดื่มชนิดนี้ก็อาจรบกวนอารมณ์ของเราได้ เพราะการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังมีความเกี่ยวข้องกับการนอนไม่หลับ กระวนกระวายใจ และการตื่นตัว ซึ่งทั้งหมดนี้อาจกระตุ้นให้เกิดความเครียดภายในร่างกายได้และอาจส่งผลให้เกิดอาการวิตกกังวลได้ด้วยเช่นกัน

 

4. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

 

     ไม่ใช่เรื่องแปลกที่บางคนจะไปดื่มไวน์สักแก้วเพื่อผ่อนคลายจากวันที่เครียด หรือดื่มเครื่องดื่มชนิดนี้เพ่อเข้าสังคม แต่สำหรับบางคนเครื่องดื่มกลุ่มแอลกอฮอล์สามารถเพิ่มความวิตกกังวลและทำให้สมองส่วนควบคุมอารมณ์และสติทำงานลดลง แอลกอฮอล์อาจช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลายในช่วงแรก แต่ก็อาจนำไปสู่ความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้นในภายหลัง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังรบกวนการดูดซึมสารอาหารและอาจรบกวนการนอนหลับ ซึ่งการขาดสารอาหารและขาดการนอนหลับที่ดี อาจทำให้ความเครียดและความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นได้

 

5. อาหารทอด

 

 

     ไขมันทรานส์พบได้ในอาหารทอดหลายชนิด เช่น เฟรนช์ฟรายส์หรือไก่ทอด ซึ่งไขมันทรานส์มีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของภาวะซึมเศร้า รวมถึงความไม่สมดุลของสารเคมีในสมองที่อาจทำให้อารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น เกิดความกังวลใจหรือหงุดหงิดได้ง่ายขึ้น

 

6. เนื้อสัตว์แปรรูป

 

 

     การรับประทานเนื้อแดงและเนื้อแปรรูป เช่น เบคอน ไส้กรอก และซาลามิ มีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า เพราะเนื้อสัตว์แปรรูปหลายชนิดมีไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งเป็นสารอาหารที่เราควรรับประทานในปริมาณจำกัด ลองเปลี่ยนเนื้อสัตว์แปรรูปเป็นอาหารทะเล ถั่ว ธัญพืชและโปรตีนที่มีไขมันน้อย ก็จะช่วยให้ร่างกายสามารถลดการรับไขมันอิ่มตัวได้

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
สัมผัสโลกไร้ขีดจำกัดกับทรูไอดี