11 พฤติกรรมเสี่ยง ที่ทำให้ติดเชื้อ COVID-19 ได้ง่าย รู้แล้วป้องกันด่วน!
ถ้าพูดถึง COVID-19 ความน่ากลัวของเจ้าไวรัสตัวนี้ที่เราไม่อาจรู้ได้เลยก็คือ มีสิ่งของ หรือใครที่กำลังมีเชื้อไวรัสตัวนี้ปะปนอยู่บ้าง นั่นทำให้เราต้องระวังและป้องกันตัวสุดๆ ค่ะ เพื่อเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งจริงๆ แล้วพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ติดเชื้อตัวนี้ก็มีมากมายเลยทีเดียว ใครที่ไม่อยากป่วยเพราะเจ้าไวรัสตัวนี้มาดูพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อและรีบป้องกันตัวกันด่วนๆ เลย!
พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส COVID-19
ความเสี่ยงที่จะทำให้ ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ คือ การไปสัมผัสกับน้ำมูก น้ำลายของผู้ติดเชื้อ ทั้งการสัมผัสโดยตรง จับมือกัน แล้วเอามือมาจับหน้า หรือบังเอิญไปจับสิ่งของ ที่มีน้ำมูก น้ำลาย ของผู้ติดเชื้อ รวมถึงการไอจามใส่กันในระยะกระชั้นชิด
พฤติกรรมดังนี้มีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อได้
- อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ
- มีการสัมผัสใบหน้า ขยี้ตา แคะจมูก และสัมผัสปากเพราะมีโอกาส การนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
- รับประทานอาหารดิบ หรือกึ่งสุกกึ่งดิบ ไม่สะอาด ไม่ใช้ช้อนกลาง รับประทานทานอาหารที่ทำจากสัตว์หายาก
- ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว
- สัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาดซึ่งไม่มีการทำความสะอาดอุปกรณ์หรือพื้นผิวที่หยิบ จับ สัมผัสบ่อย ๆ เช่น ลูกบิด ที่จับประตู ราวบันได ปุ่มกดลิฟต์ วัสดุอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
- อยู่ในสถานที่ที่ผู้คนหนาแน่น เช่น โรงหนัง ห้างสรรพสินค้า ศูนย์อาหาร สถานีขนส่ง สนามบิน สถานีรถไฟฟ้า เป็นต้น
- เดินทางมาจากกลุ่มประเทศเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส COVID-19
- ไม่เฝ้าระวังอาการ หลังจากกลับจากต่างประเทศกลุ่มเสี่ยง ภายใน 14 วัน ไม่รีบไปพบแพทย์เมื่อมีอาการป่วย
- ไม่ล้างมือ หรือ ล้างมือไม่ถูกต้อง ด้วยสบู่และน้ำสะอาดอย่างน้อย 20 วินาที (หรือลูบมือด้วยเจลแอลกอฮอล์แล้วรอจนเจลแห้ง)
- ไม่สวมหน้ากากอนามัย หรือสวมหน้ากากอนามัยไม่ถูกต้อง เมื่ออยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนหนาแน่น หรือใกล้ชิดผู้ป่วยและผู้ที่มีความเสี่ยง
- ไม่ปิดฝาชักโครกทุกครั้งที่กดล้างเป็นการเพิ่มโอกาสการฟุ้งกระจายของไวรัส ซึ่งถูกขับออกทางอุจจาระได้
- ไม่ดูแลสุขภาพ ไม่ออกกำลังกายและพักผ่อนไม่เพียงพอ
แหล่งที่มาของข้อมูล :
- ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 6 มีนาคม พ.ศ. 2563 https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index_more.phpสืบค้นเมื่อ 5/03/63
- กองระบาดวิทยา/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค 4 มกราคม 2563https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=10896&deptcode=brc&news_views=6006 สืบค้นเมื่อ 05/03/63
ขอบคุณข้อมูลจาก : cpcovid19
บทความที่คุณอาจสนใจ
- เช็คลิสต์! เราติด COVID-19 หรือไม่ เช็คอาการเทียบกับไข้หวัดทั่วไปกันหน่อย
- 4 วิธีวัดไข้ รู้ทันไวรัส COVID-19