5 วิธีลดความร้อนในร่างกาย ช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกาย ทำยังไงให้หายร้อน
แม้ว่าอากาศในฤดูร้อนแบบนี้จะทำให้คุณหงุดหงิดมากขนาดไหน แต่ความร้อนภายในร่างกายก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คุณอารมณ์เสียได้เช่นกัน ฤดูร้อนอาจมีสภาพอากาศที่รุนแรงต่อร่างกายและผิวหนังของเรา เพราะแสงแดดที่แผดเผาอย่างไม่รู้จบในช่วงกลางวันรวมถึงลมร้อนๆ ที่พัดมาโดนผิว แต่นอกจากนี้ความร้อนในร่างกายก็สามารถทำให้เรารู้สึกร้อนมากกว่าปกติได้ด้วย
เมื่อร่างกายไม่สามารถรักษาสภาวะสมดุลภายในได้ก็จะเกิดความเครียดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นและสาเหตุที่ร่างกายรักษาสมดุลไม่ได้ก็มีได้หลายประการ เช่น ภาวะขาดน้ำ ขาดอาหารที่เหมาะสม การถูกแสงแดดเป็นเวลานาน หรือความเหนื่อยล้า เมื่อความร้อนในร่างกายเพิ่มขึ้นก็อาจทำให้คุณมีอาการสับสน เวียนศีรษะ และเป็นลมได้
5 วิธีลดความร้อนในร่างกาย
1. ดื่มน้ำเย็น
การจิบน้ำเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งวัน สามารถช่วยให้ร่างกายของคุณชุ่มชื้นและเย็นขึ้นได้ ยิ่งเป็นการดื่มน้ำเย็น ๆ หรือเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เย็น เช่น น้ำมะพร้าว หรือน้ำมะนาว จะสามารถช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายได้โดยการทำให้ร่างกายเย็นลงจากภายใน การจิบน้ำตลอดทั้งวันจะช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของความร้อนในร่างกายที่เพิ่มขึ้น
2. อาบน้ำและการแช่เท้าด้วยน้ำเย็น
การอาบน้ำสามารถช่วยให้คุณรู้สึกสดชื่นและเย็นสบายได้ แต่หากไม่อยากอาบน้ำหรืออาบไปแล้วแต่ยังรู้สึกร้อนอยู่ ลองแช่เท้าในน้ำสักพักก็อาจทำให้คุณรู้สึกเย็นสบายและผ่อนคลายได้
3. หลีกเลี่ยงอาหารทอด
การบริโภคน้ำมันมากเกินไปจะทำให้เกิดความร้อนในร่างกายได้ พยายามหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารทอดแต่ให้หันไปรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และไม่ผ่านการปรุงแต่งมากนัก โดยเฉพาะผลไม้ตามฤดูกาล ถั่ว ผัก หรือโปรตีนไม่ติดมัน อาหารประเภทต้ม ย่าง หรือนึ่ง ก็สามารถช่วยแก้อาการท้องอืดในช่วงฤดูร้อนได้
4. หลีกเลี่ยงคาเฟอีน
คาเฟอีนและแอลกอฮอล์สามารถสร้างความร้อนในร่างกายได้มาก คุณสามารถเพลิดเพลินกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้เป็นบางครั้งบางคราวแต่ก็ไม่ควรมากเกินไป รวมถึงการลดการดื่มคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ก็ยังดีต่อสุขภาพโดยรวมของคุณด้วย
5. ลดเกลือและโซเดียม
ผู้ที่มีความร้อนในร่างกายมากเกินไป ควรจะต้องรับประทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำเพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกาย เพราะโซเดียมจะกระตุ้นระดับความดันให้สูงขึ้นได้ และอาจเป็นการเพิ่มอุณหภูมิของร่างกายและส่งผลต่อระบบภายในร่างกายของคุณ
บทความที่คุณอาจสนใจ
- ร่างกายขาดน้ำกินอะไรดี? ดื่มน้ำแล้ว กินผักผลไม้ 7 ชนิดนี้ ช่วยเติมน้ำ!
- หน้าร้อนควรดื่มอะไร? รวม 7 สูตรเครื่องดื่มดับร้อน แบบไม่ทำลายสุขภาพ