4 เทคนิคฝึกหายใจคลายเครียด แถมช่วยบริหารปอดให้แข็งแรง ทำได้ง่ายๆ ที่บ้าน
pommypom
20 พฤษภาคม 2564 ( 16:15 )
1.1K
ช่วงนี้คงไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการมีปอดที่แข็งแรงแล้วล่ะค่ะ สำหรับใครที่อยากบริหารปอดแบบง่ายๆ เราขอแนะนำ 4 เทคนิคฝึกหายใจคลายเครียดนี้เลย ซึ่งถือเป็นเทคนิคที่แนะนำโดยเว็บไซต์ Healthline ด้านสุขภาพชื่อดังจากอเมริกา ใครที่อยากมีปอดแข็งแรง แถมยังคลายเครียดได้ด้วย ต้องลองทำตามเลยค่ะ!
1. เทคนิคฝึกหายใจ Pursed lip breathing
วิธีฝึก
- หายใจเข้าลึกๆ ผ่านทางจมูก ในขณะปิดปาก แล้วนับ 1-2
- ค่อยๆ ห่อปากให้เหมือนอยู่ในลักษณะกำลังจะเป่าเทียน แล้วค่อยๆ หายใจออกผ่านทางปาก นับ 1-4
- แนะนำให้ฝึก 4-5 ครั้งต่อวัน
ประโยชน์
- ช่วยปล่อยอากาศที่ติดอยู่ในปอด
- ช่วยผ่อนคลาย
- ช่วยลดอาการหายใจถี่
2. เทคนิคฝึกหายใจ Deep breathing
วิธีฝึก
- อยู่ในท่านั่งหรือยืน โดยให้ข้อศอกอยู่บริเวณด้านหลังเล็กน้อย ซึ่งจะช่วยให้หน้าอกขยายได้เต็มที่
- จากนั้นหายใจเข้าลึกๆ ผ่านทางจมูก แล้วค้างไว้ นับ 1-5
- ค่อยๆ หายใจออกอย่างช้าๆ ผ่านทางจมูก
- แนะนำให้ฝึกวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 10 นาที
ประโยชน์
- ป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปในปอด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หายใจไม่ออก
- ทำให้สามารถสูดอากาศบริสุทธิ์ได้มากขึ้น
3. เทคนิคฝึกหายใจ Huff cough
วิธีฝึก
- นั่งอยู่ในท่าที่สบายตัว
- หายใจเข้าลึกๆ ผ่านทางปาก (แนะนำให้หายใจลึกกว่าการหายใจตามปกติของเรา)
- หายใจออกทางปากไปพร้อมๆ กับการกระตุ้นกล้ามเนื้อท้องเพื่อเป่าลมออกจำนวน 3 ครั้ง ให้เป็นเสียง “ฮ่า ฮ่า ฮ่า”
ประโยชน์
- เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ซึ่งจะมีการสร้างมูกได้ง่ายขึ้นบริเวณปอด เมื่อฝึกการหายใจแบบนี้ก็จะช่วยให้ขับเสมหะเมื่อไอ รวมถึงยังไม่ทำให้รู้สึกเหนื่อยเกินไปเมื่อไออีกด้วย
4. เทคนิคฝึกหายใจ Diaphragmatic breathing
วิธีฝึก
- อยู่ในท่านั่งหรือนอน โดยให้หัวไหล่รู้สึกสบาย ไม่เกร็ง
- วางมือหนึ่งข้างลงบนหน้าอก ในขณะที่มืออีกหนึ่งข้างให้วางไว้บริเวณหน้าท้อง
- ค่อยๆ หายใจเข้าผ่านทางจมูก 2 วินาที โดยให้หน้าท้องยื่นออกมาด้านหน้ามากกว่าหน้าอก
- ห่อปาก แล้วหายใจออกทางปาก ไปพร้อมๆ กับการกดเบาๆ ที่ท้อง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยเพิ่มความสามารถของกะบังลมในการปล่อยอากาศออก
ประโยชน์
- ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมักจะอาศัยกล้ามเนื้อคอ, ไหล่ และหลัง ในการหายใจมากกว่าการใช้กระบังลม ซึ่งการหายใจด้วยกระบังลมหรือช่องท้องแบบนี้ จะช่วยฝึกกล้ามเนื้อเหล่านี้ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากกะบังลมถือเป็นกล้ามเนื้อสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการหายใจนั่นเอง
บทความที่คุณอาจสนใจ