ปวดท้องตรงไหนเป็นอะไรบ้าง? ปวดท้องตรงนี้ เสี่ยงเป็นโรคอะไร !!
วันนี้มีสาระสุขภาพจาก นพ.ณัฐภัทร จันใจวงค์ แพทย์แผนกโรคทั่วไป บนแอปฯ หมอดี มาฝากกัน โดยจะชี้ให้เห็นกันชัด ๆ ว่าอาการปวดท้องที่เราหลายคนมักเป็นกันนั้น มีนัยยะของโรคอะไรซ่อนอยู่หรือเปล่า? ถ้าปวดท้องธรรมดา เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ก็พอกินยาบรรเทาได้ แต่ถ้าปวดท้องรุนแรงล่ะ! เสี่ยงต่อการเป็นโรคอะไรได้บ้าง?
ในการตรวจเช็กอาการและสาเหตุเบื้องต้นของอาการปวดท้อง เราสามารถดูจากตำแหน่งที่ปวด รวมถึงอาการร่วมต่าง ๆ ที่มีได้ ซึ่งมีรายละเอียดอย่างไรนั้น 👉🖼 ดูคำแนะนำจากคุณหมอได้เลย
ปวดรอบสะดือ และท้องช่วงบน เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ❓
🤔 หากใครอยากลองคลำท้องดูว่าตำแหน่งจุดปวดคร่าว ๆ อยู่บริเวณไหน ก็สามารถทำได้โดยการวัดจากตำแหน่งรอบสะดือเป็นจุดแรก จุดถัดไปห่างกันประมาณ 1 ฝ่ามือเหนือสะดือ จะเป็นท้องช่วงบน (เรียกง่าย ๆ ว่าอยู่ใต้หน้าอกและชายซี่โครง) ส่วนด้านล่างสะดือ จะเป็นท้องช่วงล่าง และสำหรับด้านซ้าย/ขวา ยึดร่างกายของคนป่วยเป็นหลัก
1. ปวดท้องบริเวณ ด้านขวา ช่วงบน (เหนือสะดือเยื้องไปทางขวามือผู้ป่วย /ใต้ชายโครงขวา)
หากปวดท้องมากบริเวณนี้ อาจเกี่ยวกับโรคที่กิดจากตับ ถุงน้ำดี ลำไส้ที่อยู่บริเวณนี้และไตขวา เช่น ตับอักเสบ กรวยไตขวาอักเสบ นิ่วในไตขวา เป็นต้น และสามารถสังเกตสัญญาณของโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้ หากมีอาการปวดบิดรุนแรง ที่อาจปวดร้าวมาที่ไหล่ขวาหรือบริเวณหลังตรงใต้สะบักขวา ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้และอาเจียน บางคนอาจปวดรุนแรงจนเป็นลม อาการปวดท้องมักเป็นหลังกินอาหารมันหรือกินอาหารมื้อหนัก
2. ปวดท้องบริเวณเหนือสะดือ (ใต้ลิ้นปี่)
หากปวดตรงบริเวณนี้อย่างรุนแรง อาจเสี่ยงเป็นโรคที่เกิดจากกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร ถุงน้ำดี เช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบ กรดไหลย้อน นิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้ก็ต้องดูอาการอื่น ๆ ประกอบด้วยจึงจะชี้ชัดได้ บางกรณีอาจจะต้องสแกนช่องท้องในการตรวจโรค นอกจากนี้ หากคลำเจอก้อนเนื้อขนาดใหญ่และค่อนข้างแข็ง อาจหมายถึงตับโต ควรรีบพบแพทย์
3. ปวดท้องบริเวณด้านซ้าย ช่วงบน (เหนือสะดือเยื้องไปทางซ้ายมือผู้ป่วย /ใต้ชายโครงซ้าย)
เสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากความผิดปกติของกระเพาะอาหาร ม้าม ตับอ่อน ไตซ้าย และลำไส้ที่อยู่บริเวณนี้ เช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ม้ามแตก กรวยไตช้ายอักเสบ นิ่วในไตช้าย เป็นต้น อาการปวดบริเวณนี้บางโรคก็เกิดอย่างช้า ๆ และทวีความปวดขึ้นเรื่อย ๆ เช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบ แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่ม้ามแตกมักจะเกิดจากการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ถือเป็นอาการฉุกเฉิน
ปวดท้องช่วงรอบสะดือ ช่วงกลางท้อง บริเวณบั้นเอวซ้าย และขวา เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ❓
4. ปวดท้องบริเวณกลางท้อง ค่อนไปทางบั้นเอวขวา
หากปวดมากบริเวณนี้เสี่ยงต่อโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ และโรคที่เกี่ยวกับไต-ท่อไต ถ้าเป็นที่ลำไส้ใหญ่มักจะมีอาการปวดรุนแรง ถ้าหากเป็นนิ่วในท่อไต อาการปวดมักมีร่วมกับปวดหลัง มีไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่น
5. ปวดท้องบริเวณกลางท้อง รอบสะดือ
ถ้าปวดมาก มักจะเป็นโรคที่เกิดจากลำไส้เล็ก อาจเกิดจากลำไส้อักเสบ และหากมีอาการปวดมากจนแทบทนไม่ไหว ปวดบิดเป็นพัก ๆ คล้ายอาการปวดถ่ายท้องเสีย ก่อนที่อาการปวดจะย้ายไปบริเวณด้านขวาช่วงล่าง อาจสงสัยได้ว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ
6. ปวดท้องบริเวณกลางท้อง ค่อนไปทางบั้นเอวซ้าย
หากมีอาการปวดรุนแรงมักจะเป็นอาการของลำไส้ใหญ่อักเสบ นอกจากนี้ ต้องดูอาการร่วม เช่น หากปวดร้าวถึงต้นขาก็อาจเป็นอาการของนิ่วในท่อไต หรือถ้าปวดท้องบริเวณนี้ร้าวไปจนถึงหลัง มีไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่น อาจเป็นอาการของกรวยไตอักเสบ
ปวดท้องช่วงล่าง เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ❓
7. ปวดท้องบริเวณด้านขวา ช่วงล่าง (ท้องน้อยขวา)
เสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากไส้ติ่ง ลำไส้ที่อยู่บริเวณนี้ ปีกมดลูกด้านขวา เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ปีกมดลูกขวาอักเสบ เป็นต้น หากปวดเสียดตลอดเวลากดแล้วเจ็บมาก สิ่งที่เป็นไปได้คือ ไส้ติ่งอักเสบ หรือมีอาการปวดเกร็งเป็นระยะ ๆ แล้วร้าวมาที่ต้นขา กรณีนี้เสี่ยงเป็นกรวยไตอักเสบได้ และหากปวดท้องบริเวณนี้ ร่วมกับมีไข้สูง หนาวสั่น มีตกขาวมักจะเป็นอาการของปีกมดลูกอักเสบ
8. ปวดท้องบริเวณท้องน้อย (ใต้สะดือ เหนือหัวหน่าว)
ตรงบริเวณนี้จะเป็นตำแหน่งของกระเพาะปัสสาวะและมดลูก กรณีปวดเฉพาะปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ ร่วมกับอาการถ่ายปัสสาวะแบบกะปริบกะปรอย มักเป็นอาการที่เสี่ยงต่อโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ สำหรับผู้หญิง ถ้ามีอาการปวดเกร็งเวลามีประจำเดือน มีอาการปวดเรื้อรัง สันนิษฐานได้ว่าอาจเกิดจากอาการมดลูกผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์
9. ปวดท้องบริเวณด้านซ้าย ช่วงล่าง (ท้องน้อยซ้าย)
ถ้าปวดมากบริเวณนี้ให้สังเกตอาการร่วม เช่น โรคที่เกิดจากความผิดปกติของลำไส้ใหญ่มักจะแสดงอาการร่วมกับการถ่ายอุจจาระที่คล้ายกับอาการท้องเสีย หากปวดบริเวณนี้โดยมีอาการเกร็งเป็นระยะ และร้าวมาที่ต้นขาซ้าย อาจเป็นไปได้ว่าจะเกิดนิ่วในท่อไต หรือหากคลำพบก้อนร่วมกับอาการท้องผูกเป็นประจำ เป็นไปได้ว่าจะมีเนื้องอกในลำไส้และอาจจะเป็นมะเร็งลำไส้ได้ในอนาคต และสำหรับผู้หญิง หากปวดร่วมกับมีไข้ หนาวสั่น มีตกขาว จะเป็นอาการอักเสบของมดลูก
🩺 หากคุณมีอาการปวดท้อง และไม่แน่ใจว่าเป็นอะไรกันแน่ ปรึกษาหมอโดยเร็วจะดีที่สุด
📱ปรึกษาหมอออนไลน์ ได้ง่ายๆ ผ่านแอปฯ หมอดี เพียงทำตาม 5 ขั้นตอนดังนี้
- ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/6grJOklEqpb จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
- ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแผนก “โรคทั่วไป”
- เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
- เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
- รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้
💬 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp
อ่านสาระสุขภาพจากแอปฯ หมอดี เพิ่มเติม คลิก >> https://mordeeapp.com/th/article
บทความที่คุณอาจสนใจ