รีเซต

4 วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคเหน็บชา มีอาการชาปลายมือปลายเท้า

4 วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคเหน็บชา มีอาการชาปลายมือปลายเท้า
BeauMonde
13 พฤศจิกายน 2566 ( 11:42 )
1.5K

     โรคเหน็บชา เป็นโรคขาดสารอาหารที่เกิดจากการบริโภคไทอามีนหรือที่เรียกว่าวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอ ซึ่งไทอามีนเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและระบบการเผาผลาญพลังงาน โดยโรคเหน็บชาแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ Wet beriberi (โรคเหน็บชาชนิดเปียก) และ Dry beriberi (โรคเหน็บชาชนิดผอมแห้ง)

     โดยโรคเหน็บชาแบบเปียก ผู้ป่วยมักมีอาการบวมร่วมกับอาการชาปลายมือปลายเท้า และมักส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดเป็นหลัก และทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ได้อีกเช่น อาการบวมน้ำ (ร่างกายมีการกักเก็บของเหลว) หัวใจเต้นเร็ว และหายใจลำบาก และในทางกลับกัน โรคเหน็บชาแบบแห้งจะส่งผลต่อระบบประสาทเป็นหลัก ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น กล้ามเนื้อลีบ เดินลำบาก และชาหรือรู้สึกเสียวซ่าที่แขนขา

 

 

สาเหตุของโรคเหน็บชา

     สาเหตุหลักของโรคเหน็บชาคือการขาดวิตามินบี 1 หรือไทอามีน ซึ่งวิตามินชนิดนี้จะช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตเป็นพลังงาน เมื่อรับประทานไทอามีนไม่เพียงพอ ความสามารถของร่างกายในการสร้างพลังงานจึงลดลง และส่งผลให้เกิดอาการเหน็บชา แต่นอกจากนี้ยังมีอีกหลายปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหน็บชาได้ เช่น

  • การบริโภคอาหารที่ไม่ดี: บริโภคอาหารที่มีวิตามินบีต่ำเป็นประจำ เช่น ธัญพืชขัดสี ข้าวขาว แป้งขาว ขาดการรับประทานถั่ว เมล็ดพืช ซึ่งสาเหตุนี้อาจทำให้เกิดการขาดวิตามินบีได้
  • การบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินไป: แอลกอฮอล์จะรบกวนการดูดซึมและการใช้ไทอามีนในร่างกาย โรคพิษสุราเรื้อรังเรื้อรังก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเหน็บชาและอาการชาปลายมือปลายเท้า
  • ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร: เป็นสภาวะที่ส่งผลต่อการดูดซึมสารอาหารในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคโครห์น (Crohn's disease, CD) หรือการอาเจียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาการเหล่านี้อาจทำให้เกิดการขาดวิตามินบีได้
  • การตั้งครรภ์: หญิงที่กำลังตั้งครรภ์จะมีความต้องการวิตามินบีเพิ่มขึ้น และการบริโภคที่ไม่เพียงพอก็อาจทำให้เกิดโรคเหน็บชาได้

 

อาการของโรคเหน็บชา

อาการของโรคเหน็บชาเปียก (Wet beriberi)

- อาการบวมน้ำ
- หัวใจเต้นเร็ว
- หายใจถี่
- หัวใจโต


อาการของโรคเหน็บชาชนิดผอมแห้ง (Dry beriberi)

- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- เดินและขยับร่างกายลำบาก
- อาการชาหรือรู้สึกเสียวซ่าที่แขนขา
- ชาปลายมือปลายเท้า
- สับสนและหงุดหงิด

 

การดูแลตัวเองและการรักษา

  • การเปลี่ยนอาหาร: การเพิ่มการบริโภคอาหารที่อุดมด้วยไทอามีน เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี พืชตระกูลถั่ว เมล็ดพืช และเนื้อไม่ติดมัน เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันการเกิดโรคเหน็บชา
  • เลิกแอลกอฮอล์: สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเหน็บชาจากแอลกอฮอล์ การเลิกดื่มแอลกอฮอล์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยป้องกันการสูญเสียไทอามีน และเป็นวิธีในการรักษาโรคเหน็บชาได้
  • การตรวจร่างกาย: การตรจร่างกายเพื่อหาความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร หรือการเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร มีส่วนสำคัญที่ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารได้อย่างเพียงพอ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการขาดวิตามินบี
  • การเสริมไทอามีน: อาหารเสริมไทอามีนอาจมีส่วนช่วยรักษาโรคเหน็บชา อย่างไรก็ตามก่อนการซื้ออาหารเสริมมารับประทาน ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
สัมผัสโลกไร้ขีดจำกัดกับทรูไอดี