รีเซต

ฆ่าได้สุดฤทธิ์..โควิด19 ยังต้องกลัว!! 3 สารเคมีที่สามารถใช้ฆ่าเชื้อไวรัสได้นอกจากแอลกอฮอล์

ฆ่าได้สุดฤทธิ์..โควิด19 ยังต้องกลัว!! 3 สารเคมีที่สามารถใช้ฆ่าเชื้อไวรัสได้นอกจากแอลกอฮอล์
Beau_Monde
13 มีนาคม 2563 ( 11:59 )
1.1K
4

     ช่วงนี้ไวรัส โควิด19 กำลังระบาดอย่างหนักและแอลกอฮอล์รวมถึงเจอล้างมือเริ่มหาซื้อยากมากขึ้นค่ะ เนื่องจากผู้คนในสังคมตระหนักถึงความอันตรายของไวรัสตัวนี้ทำให้มีการหาซื้อแอลกอฮอล์มาเก็บไว้เพื่อใช้ฆ่าเชื้อทั้งในบ้านและนอกบ้าน การออกไปนอกบ้านนั้นทำให้เราต้องเสี่ยงกับการสัมผัสกับสิ่งที่มีเชื้อโรค ซึ่งเราไม่สามารถแน่ใจได้เลยว่าที่ที่เราเดินทางไปนั้นมีเชื้ออะไรอยู่บ้าง สิ่งของเครื่องใช้สาธารณะที่เราสัมผัสนั้นอาจมีการปนเปื้อนเชื้อ ยังไม่นับผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เช่น ทารกแรกเกิด ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ ผู้สูงอายุ ที่สามารถรับเชื้อได้ง่ายกว่าคนปกติ การล้างมือด้วยแอลกอฮอล์หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์นั้นสามารถช่วยทำลายเชื้อโรคบนมือและลดจำนวนเชื้อลงได้ และนั่นทำให้ช่วงนี้แอลกอฮอล์ขาดตลาดและหาซื้อได้ยากมากขึ้นค่ะ

     แอลกอฮอล์มีคุณสมบัติที่ดีในการทำลายเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราและเชื้อไวรัสได้ อย่างเช่นเชื้อไวรัสทางเดินหายใจ หรือแม้แต่ โควิด19 แอลกอฮอล์ก็สามารถทำลายได้ แต่เราควรใช้แอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นพอเหมาะ ซึ่งแอลกอฮอล์ที่สามารถใช้กับผิวหนังได้มี 3 ชนิด คือ เอธิลแอลกอฮอล์ โปรปิลแอลกอฮอล์และไอโซโปรปิลแอลกอฮอล์ ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ควรอยู่ที่ 60-90% ซึ่งในเจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 70% สามารถช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ค่ะ และนอกจากความเข้มข้นที่เราควรใส่ใจแล้ว ระยะเวลาในการใช้ก็ควรใส่ใจด้วยเช่นกัน โดยเราควรใช้แอลกอฮอล์ถูมือประมาณ 15 วินาที จะสามารถทำลายเชื้อโรคและลดจำนวนเชื้อโรคลงได้ แต่นอกจากแอลกอฮอล์ที่ช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ ยังมีสารเคมีอีก 3 ชนิดที่ในทางการแพทย์นั้นใช้เพื่อฆ่าเชื้อโรคได้เหมือนกัน ดังนี้ค่ะ

1. คลอเฮกซิดีน (chlorhexedine gluconate)

     มีฤทธิ์ในการทำลายเชื้อได้หลายชนิดแต่พบว่าใช้ได้ผลดีกับเชื้อแบคทีเรียทั้งชนิดที่ชอบและไม่ชอบออกซิเจนและรวมถึงเชื้อราด้วย การใช้คลอเฮกซิดีนนั้นไม่ค่อยส่งผลต่อผิวหนัง แม้ว่าฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียจะไม่เร็วเท่าแอลกอฮอล์ แต่ก็สามารถลดจำนวนเชื้อลงได้หลังจากล้างมือ 15 วินาที โดยในปัจจุบันโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะใช้คลอเฮกซิดีนความเข้มข้น 4% ผสมกับผงซักฟอก รวมถึงมีการเพิ่มคลอเฮกซิดีน 2% และคลอเฮกซิดีนชนิดโฟมออกมาให้ใช้กันได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

2. เฮกซาคลอโรฟีน (hexachlorophene)

     เฮกซาคลอโรฟีนความเข้มข้น 3% ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได้ เฮกซาคลอโรฟีนมักนิยมใช้ผสมในสบู่รวมถึงผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นตัว แต่มีข้อควรระมัดระวังในการใช้ คือห้ามใช้กับผิวหนังที่มีบาดแผลและผิวหนังอ่อนรวมถึงเยื่อบุต่างๆ ภายในร่างกาย ห้ามใช้กับเด็กทารกและห้ามใช้ในการอาบน้ำประจำ เพราะมีโอกาสที่ร่างกายจะดูดซึมและสามารถเข้าไปทำอันตรายต่ออวัยวะภายในได้

3. ไอโอดีน (iodine) และไอโอโดฟอร์ (iodophores)

     สารจำพวกไอโอดีนซึ่งตามที่เรารู้จักกันในชื่อ ทิงเจอร์ไอโอดีน ถูกใช้เป็นยาระงับเชื้อก่อนผ่าตัดและใส่แผลสด เนื่องจากมีฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่อฆ่าเชื้อได้ทั้งกับเชื้อรา เชื้อวัณโรค เชื้อไวรัสได้อีกด้วย แต่สารไอโอโดฟอร์จะเสื่อมประสิทธิภาพหากสัมผัสกับเลือดและเสมหะ โดยส่วนมากแล้วสารไอโอโดฟอร์ povidone-iodine 7.5% มักใช้ในการล้างมือเพื่อเตรียมผ่าตัดค่ะ

     อย่างไรก็ตามสารเคมีทั้ง 3 ตัวนี้สามารถใช้ฆ่าเชื้อไวรัสได้ แต่หากเป็นเชื้อโควิด19 นั้น ยังไม่ดีเท่ากับการใช้แอลกอฮอล์ค่ะ ซึ่งการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ โควิด19 นั้น นอกจากใช้วิธีการล้างมือด้วยเจลล้างมือแอลกอฮอล์ 70% แล้ว การล้างมือบ่อยๆ และใส่หน้ากากอนามัยเมื่อเข้าไปในชุมชนก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ค่ะ


บทความที่คุณอาจสนใจ


รวม DIY วิธีทำเจล สเปรย์แอลกอฮอล์ล้างมือใช้เอง ปลอดภัย ใช้ป้องกันเชื้อโรค!


รวมวิธี DIY ทำหน้ากากอนามัยใช้เอง แมสก์หายาก ทำเองก็ได้!
 

บทความที่เกี่ยวข้อง