3 สาเหตุที่ทำให้น้ำหนักนิ่ง ลดน้ำหนักไม่ได้ พร้อมวิธีแก้ไข
ถือเป็นปัญหาของหลายๆ คนเลยค่ะ ที่พยายามลดความอ้วนแล้วก็เกิด ภาวะน้ำหนักนิ่ง น้ำหนักค้างอยู่กับที่ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่คนลดน้ำหนักจะต้องเจอค่ะ ถึงแม้ว่าใครๆ ก็เจอ แต่พอเกิดกับตัวเองก็ทำให้เราท้อใจได้เหมือนกันค่ะ เพราะภาวะน้ำหนักนิ่งค้างแบบนี้บางทีก็อยู่เป็นเดือนเลยก็มี ซึ่งสาเหตุของการที่ทำให้น้ำหนักเราไม่ลดลง มีดังนี้ค่ะ
3 สาเหตุที่ทำให้น้ำหนักนิ่ง
1. รับแคลอรี่ไม่เพียงพอ
สำหรับคนที่ลดน้ำหนักแบบนับแคลอรี่หรือระวังเรื่องแคลอรี่มาก โดยกลัวว่าหากรับแคลอรี่มากเกินก็จะทำให้เราไม่สามารถลดน้ำหนักได้ จึงพยายามรับประทานแต่ผักโดยที่ลดอาหารประเภทอื่นให้น้อยลงมากที่สุด การทำแบบนี้จะทำให้น้ำหนักนิ่งค้างได้ค่ะ เพราะสารอาหารที่สำคัญจริงๆ ของคนที่กำลังลดน้ำหนักนั่นก็คือโปรตีนค่ะ
เมื่อได้รับแคลอรี่ต่ำมาก ร่างกายจะหยุดการเผาผลาญพลังงานและส่งผลให้ร่างกายรับรู้ว่าอยู่ในภาวะอดอยาก เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะอดอยากแบบนี้ไปเรื่อยๆ ระบบเผาลาญในร่างกายก็จะทำงานน้อยลงเรื่อยๆ เมื่อใดก็ตามที่เรากินอาหารเพิ่มขึ้นแม้เพียงนิดเดียว น้ำหนักก็จะเด้งกลับขึ้นมาหรือที่เราเรียกกันว่าภาวะโยโย่เอฟเฟกต์นั่นเองค่ะ
2. ออกกำลังกายมากเกินไป
การออกกำลังกายมากไม่ดีอย่างไร เพราะการออกกำลังกายมากๆ ก็ทำให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรี่ได้มาก ... จริงๆ แล้วต้องบอกแบบนี้ค่ะ การออกกำลังกายมากเกินโดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบ Cardio เช่น การวิ่ง การว่ายน้ำ สามารถทำให้เราสูญเสียมวลกล้ามเนื้อได้ง่ายถ้าทำมากเกินไปค่ะ อย่างการออกกำลังทุกวันโดยที่ไม่มีวันพักเลย แบบนี้ก็ถือว่ามากเกิน และร่างกายก็อาจจะสลายมวลกล้ามเนื้อออกไปหมดได้
แนะนำให้สลับการออกกำลังกายแบบ Cardio กับ Weight Training เพื่อสร้างเสริมสร้างกล้ามเนื้อค่ะ การสูญเสียกล้ามเนื้อไปก็เหมือนกับการสูญเสียเตาเผาไขมันไปนั่นนเอง ส่วนในเรื่องจำนวนของการออกกำลัง ก็ทำเพียงแค่อาทิตย์ละ 3 - 4 ครั้ง ครั้งละครึ่ง - 1 ชั่วโมงก็เพียงพอแล้วค่ะ
3. รับประทานโปรตีนน้อย
อย่างที่บอกไปว่าโปรตีนนั้นถือเป็นสารอาหารสำคัญที่คนลดน้ำหนักจำเป็นจะต้องรับประทานอย่างเพียงพอในแต่ละวัน หากรับประทานโปรตีนน้อยเกินไปก็จะส่งผลให้กล้ามเนื้อของเราลดลง และเผาผลาญไขมันได้น้อยลงค่ะ และเมื่อร่างกายรับโปรตีนไม่เพียงพอก็จะไม่สามารถสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อได้ค่ะ
โปรตีนที่แนะนำให้รับประทานต่อวันโดยเฉพาะในช่วงลดน้ำหนักแบบนี้ เราจำเป็นจะต้องรับประทานโปรตีนให้ได้ 1.5 กรัมต่อกิโล ยกตัวอย่างหากเราหนัก 60 กิโลกรัม ให้คูณด้วย 1.5 ก็จะได้ประมาณ 90 กรัมค่ะ ซึ่งเมื่อเรารับประทานโปรตีนมากขึ้น สารอาหารที่เราควรลดลงก็คือคาร์โบไฮเดรตนั่นเองค่ะ
บทความที่คุณอาจสนใจ
- 3 วิธีแก้ภาวะน้ำหนักนิ่ง Hit the plateau เพิ่มการเผาผลาญ ช่วยลดน้ำหนัก
- วิธีแก้ปัญหา ทำ IF แล้วน้ำหนักไม่ลด น้ำหนักคงที่ ทำยังไงดี ?