3 วิธีเลือกอาหารเสริมแคลเซียม กินแบบไหนให้ได้ประโยชน์เต็มที่ ไม่มีผลข้างเคียง
ปัญหากระดูกเป็นภัยเงียบที่เรามักไม่ค่อยรู้ตัวค่ะ เนื่องจากไม่แสดงอาการจึงทำให้เราไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุนแล้วหรือยัง ซึ่งโรคนี้จะไม่มีอาการใด ๆ เตือนเลยจนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุหกล้มและกระดูกหักถึงได้รู้ว่าตัวว่าเราเกิดภาวะกระดูกพรุนแล้ว ดังนั้นการบำรุงและดูแลกระดูกตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญค่ะ
อย่างที่เรารู้กันว่าหากอยากจะบำรุงกระดูกก็ควรจะต้องกินแคลเซียม แต่เนื่องจากอาหารเสริมแคลเซียมที่มีขายในท้องตลาดนั้นมีหลายประเภท บางประเภทนั้นร่างกายดูดซึมได้แค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แล้วถ้าอย่างนั้นเราจะเลือกกินอาหารเสริมแคลเซียมแบบไหนดี วันนี้เรามีมาบอกกันค่ะ
3 วิธีเลือกอาหารเสริมแคลเซียม
1. ดูที่ปริมาณที่ได้รับในแต่ละวัน
ในแต่ละช่วงวัยเราก็ต้องได้รับแคลเซียมในปริมาณที่ต่างกันค่ะ อย่างในวัยเด็กช่วงอายุประมาณ 1 - 10 ปี ควรได้รับแคลเซียมประมาณ 800 - 1000 มิลลิกรัม ในวัยรุ่นอายุ 18 - 25 ปี ควรได้รับแคลเซียมประมาณ 1000 มิลลิกรัม และในวัยกลางคนที่อายุ 30 ปีขึ้นไป ควรได้รับแคลเซียมประมาณ 1200 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากร่างกายจะไม่ค่อยสะสมแคลเซียมแล้ว ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ระหว่างตั้งท้องและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ควรได้รับแคลเซียมในปริมาณ 1200 มิลลิกรัมเหมือนกันค่ะ ซึ่งก่อนที่เราจะเลือกซื้ออาหารเสริมแคลเซียมมากิน หากเรารู้ว่าตัวเองควรจะรับแคลเซียมในปริมาณที่เท่าไหร่ ก็จะทำให้เราสามารถเลือกได้ง่ายขึ้นค่ะ
2. ดูที่การดูดซึมของแคลเซียม
ในท้องตลาดตอนนี้มีอาหารเสริมแคลเซียมหลายยี่ห้อ หลายประเภทมากเลยค่ะ ซึ่งแคลเซียมที่เราเห็นได้บ่อย ๆ ก็อย่างเช่น แคลเซียมฟอสเฟต แคลเซียมแลคเตท แคลเซียมคาร์บอเนตและแคลเซียมกลูโคเนต โดยแคลเซียมแต่ละประเภทก็มีการดูดซึมได้ไม่เท่ากันค่ะ รวมถึงการกินแคลเซียมแต่ละประเภทก็ไม่เหมือนกันด้วย บางประเภทจำเป็นจะต้องกินพร้อมอาหารเท่านั้นถึงจะออกฤทธิ์ได้ดี รวมถึงบางชนิดก็ต้องกินคู่กับวิตามินดีเพื่อช่วยในการดูดซึมด้วยค่ะ แต่หากเราต้องการที่จะเลือกกินอาหารเสริมแคลเซียมชนิดที่ร่างกายดูดซึมได้ค่อนข้างดี ปัจจุบันก็มีแคลเซียมแอลทรีโอเนตมาเป็นตัวเลือกค่ะ โดยแคลเซียมชนิดนี้ร่างกายสามารถดูดซึมได้มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสามารถที่จะช่วยเพิ่มมวลกระดูกได้และสามารถลดอัตราการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ค่ะ
3. ดูที่โรคและผลข้างเคียง
การกินแคลเซียมมากเกินไปก็สามารถส่งผลให้เกิดโรคกับร่างกายได้เหมือนกันค่ะ ซึ่งหากร่างกายมีแคลเซียมมากเกินก็จะเกิดการสะสมและทำให้เสี่ยงต่อโรคนิ่วในไต มะเร็งเต้านม หินปูนในเต้านม หินปูนในหลอดเลือดและหลอดเลือดตีบตันได้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดผลข้างเคียง หากต้องการจะกินแคลเซียมก็ต้องจำกัดปริมาณไว้ไม่ให้เกิน 1500 มิลลิกรัมต่อวันค่ะ รวมถึงบางคนที่เป็นโรคประจำตัวและมีการกินยาประจำบางชนิด การกินแคลเซียมก็สามารถยับยั้งการออกฤทธิ์ของยาได้ ดังนั้นก่อนจะกินอาหารเสริมแคลเซียม ผู้ป่วยควรต้องปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะไปซื้ออาหารเสริมมากินเองค่ะ
บทความที่คุณอาจสนใจ
- รวม 10 นมแคลเซียมสูงใน 7-11 ช่วยเพิ่มความสูง บำรุงกระดูกและฟัน
- 7 ผักผลไม้แคลเซียมสูง กระดูกแข็งแรง แถมควบคุมน้ำหนักได้ด้วย