มีเมนส์ดื่มน้ำเย็นได้ไหม กินแล้วเป็นอันตรายจริงหรือ❓
ผู้หญิงแทบทุกคนน่าจะเคยได้ยินมาว่า “เวลามีเมนส์ (มีประจำเดือน) ห้ามดื่มน้ำเย็น” หลายคนก็สงสัยว่าจริงหรือไม่? พญ.กัลยรัตน์ โอภาสวานิช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในแผนกสุขภาพผู้หญิง ประจำแอปฯ หมอดี มีคำตอบมาบอก พร้อมมีสาระดี ๆ ที่สาวๆ ควรรู้ไว้ดูแลตัวเองช่วงที่มีประจำเดือน มาแนะนำกันค่ะ ไปอ่านกันเลย~
✌️ ความเชื่อเรื่องห้ามดื่มน้ำเย็นตอนมีประจำเดือน
อาจมาจากเหตุผล 2 อย่างนี้ มีทั้งจริง ✅ และไม่จริง ❎
- ส่งผลต่อภูมิคุ้มกัน >> จริง ✅ แต่ไม่ได้รุนแรง
มีการศึกษาวิจัยพบว่าในช่วงที่ผู้หญิงมีประจำเดือน ภูมิคุ้มกันโรคในร่างกายจะลดต่ำลง และการดื่มน้ำเย็นหรืออาบน้ำเย็น อาจทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงต่ำกว่าระดับปกติ ทำให้สมดุลอุณหภูมิของร่างกายเปลี่ยนไปด้วย ทำให้ติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น – แต่เราก็สามารถดื่มน้ำเย็นได้ในปริมาณที่พอเหมาะ และควรทำให้ร่างกายของเราอบอุ่นอยู่เสมอ - ส่งผลต่อการบีบตัวของมดลูก ทำให้ปวดท้องน้อยหนัก >> ไม่จริง ❎
มีการศึกษาวิจัยพบว่าในช่วงที่ผู้หญิงมีประจำเดือน ภูมิคุ้มกันโรคในร่างกายจะลดต่ำลง และการดื่มน้ำเย็นหรืออาบน้ำเย็น อาจทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงต่ำกว่าระดับปกติ ทำให้สมดุลอุณหภูมิของร่างกายเปลี่ยนไปด้วย ทำให้ติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น – แต่เราก็สามารถดื่มน้ำเย็นได้ในปริมาณที่พอเหมาะ และควรทำให้ร่างกายของเราอบอุ่นอยู่เสมอ - ส่งผลต่อการบีบตัวของมดลูก ทำให้ปวดท้องน้อยหนัก >> ไม่จริง ❎
บางคนเชื่อว่าน้ำเย็นจะทำให้เลือดหนืดขึ้น มดลูกจึงต้องบีบตัวหนักขึ้น เพราะขับเลือดได้ยากกว่าปกติ จนทำให้ปวดท้องน้อยขณะมีประจำเดือนหนักมากกว่าเดิมได้ - แต่แท้จริงแล้ว การดื่มน้ำเย็นไม่ได้ทำให้เลือดในมดลูกแข็งตัวจนไม่ถูกขับออกมา หรือทำให้ปวดท้องประจำเดือนมากกว่าเดิม การปวดนั้นเกิดจากการที่ร่างกายหลั่งสารพลอสตาแกลนดินออกมาในขณะที่มีประจำเดือนต่างหาก ทั้งนี้ บางการศึกษาพบว่า การรับประทานน้ำเย็นอาจจะส่งผลให้หลั่งสารพลอสตาแกนดินมีมากขึ้น แต่ร่างกายของเราก็มีกลไกการปรับอุณหภูมิของน้ำที่ดื่มเข้าไปให้เท่าอุณหภูมิของร่างกาย ผ่านระบบกระเพาะอาหารและลำไส้
👩⚕ แล้วสาว ๆ ควรจะดูแลตัวเองอย่างไร ❓
#การดื่มน้ำ แบบที่ควรทำในช่วงมีประจำเดือน
✅ ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ ถึงแม้การดื่มน้ำเย็นจะไม่เป็นอันตราย แต่การดื่มน้ำอุณหภูมิปกติไม่เย็นหรือร้อนเกินไปจะดีที่สุด
✅ ปริมาณน้ำที่ควรดื่มตอนมีประจำเดือน แนะนำอย่างน้อย 2-3 ลิตร ต่อวัน (ดื่มมากกว่าปกติเล็กน้อย) การปรับพฤติกรรมการดื่มน้ำให้เหมาะสม จะช่วยทำให้เลือดไหลเวียนเพียงพอและช่วยทดแทนการเสียเลือด ช่วยให้ลดอาการปวด/มึนศีรษะ
♀ หากมีอาการผิดปกติ หรือมีอาการปวดรุนแรงระหว่างที่มีประจำเดือน
📲 สามารถปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพผู้หญิง ได้ง่าย ๆ ผ่านแอปฯ หมอดี
💊 พร้อมมีบริการมีบริการจัดส่งยาให้ถึงบ้าน ไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องรอคิวนาน ๆ
👉 ใช้งานแอปฯ หมอดี ได้สะดวก ทุกที่ ทุกเวลา ด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
- ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/6grJOklEqpb จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
- ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแผนกสุขภาพผู้หญิง
- เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา และทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
- เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
- รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้
💬 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp
👉👉 อ่านสาระสุขภาพจากแอปฯ หมอดี เพิ่มเติม คลิก >> https://mordeeapp.com/th/article
บทความที่คุณอาจสนใจ
- สีประจำเดือน บอกโรค สีไหนปกติ? สีไหนควรปรึกษาแพทย์ ?
- ไข้ทับระดู คืออาการแบบไหน ? ดูแลตัวเองอย่างไรดี ?