ไข้ทับระดู คืออาการแบบไหน ? ดูแลตัวเองอย่างไรดี ?
สาว ๆ คงจะเคยได้ยินคำว่า “ไข้ทับระดู” ซึ่งเป็นอาการป่วยช่วงมีประจำเดือน แต่รู้ไหมคะว่า คืออาการแบบไหนกันแน่ และเคยเกิดขึ้นกับตัวคุณเองบ้างไหม? ไข้ทับระดูหากเป็นหนักนั้นน่ากลัวอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว
ชวนมาอ่านสาระน่ารู้จาก พญ.กัลยรัตน์ โอภาสวานิช ที่จะทำให้สาว ๆ ใช้ชีวิตง่ายขึ้นในช่วงมีประจำเดือน และดูแลตัวเองได้จนไม่ป่วยเป็นไข้ทับระดูกันนะคะ
รู้จักไข้ทับระดู
🌡 ไข้ทับระดู คือ อาการป่วยระหว่างมีประจำเดือนที่มักจะมีอาการไข้ร่วมด้วย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ไข้ทับระดูแบบไม่มีสภาวะอื่นแอบแฝง 🔸 อาการคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา ไม่มีภาวะอื่นแทรก สามารถดูแลตัวเองด้วยการรับประทานยาแก้ปวดลดไข้ ก็จะหายได้เอง
- ไข้ทับระดูแบบที่มีสภาวะโรคแอบแฝง 🔸 มักจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดตรงท้องน้อยมาก หรือปวดจนร้าวไปหลัง และอาจมีตกขาวที่มีกลิ่นเหม็นผิดปกติร่วมด้วย
โรคที่แฝงมากับไข้ทับระดู เป็นไปได้ว่าจะเกิดจาก "ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ" ที่จัดว่าเป็นสภาวะที่มีการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์เพศหญิงคือ มดลูก ท่อนำไข่ รังไข่ และเยื่อบุช่องท้องในอุ้งเชิงกราน ซึ่งมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และ เชื้อพยาธิในช่องคลอด ติดเชื้อได้จากการมีเพศสัมพันธ์หรือการดูแลสุขภาวะที่ไม่ถูกต้องขณะมีประจำเดือนเช่น การใส่ผ้าอนามัยเป็นระยะเวลานาน
👉 นอกจากนี้ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้การมีประจำเดือนปกติจะกลายเป็นไข้ทับระดูได้ เพราะช่วงที่ผู้หญิงมีประจำเดือน เป็นช่วงที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลงกว่าปกติ กินเวลาประมาณ 3-7 วัน ในแต่ละรอบเดือน จะทำให้ป่วย หรือติดเชื้อง่ายกว่าปกติ ในขณะเดียวกัน ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และ โปรเจสเตอโรน ในร่างกายจะแปรปรวนอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีสารพรอสตาแกลนดินส์ ที่อยู่ในเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูก มีการหลั่งออกมามากในช่วงวันแรกของการมีประจำเดือน ทำให้มดลูกมีการหดเกร็งเพื่อขับเอาประจำเดือนออกมา จึงทำให้มีอาการปวดท้องน้อยส่งผลให้ร่างกายเสียสมดุล จนป่วยเป็นไข้ทับระดูนั่นเอง
วิธีดูแลตัวเองช่วงที่ป่วยเป็นไข้ทับระดู
- 🧘♀ พักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายเบา ๆ อย่างสม่ำเสมอ
- 🥦 รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นอาหารย่อยง่าย เช่น พืชผักผลไม้ต่าง ๆ เน้นบำรุงด้วยอาหารกลุ่มที่มีธาตุเหล็ก เช่น ผักใบเขียว ธัญพืชเต็มเมล็ด ทั้งโฮลวีต ข้าวกล้อง เป็นต้น
- 🧊 เลี่ยงการดื่มน้ำเย็น น้ำมะพร้าว เลี่ยงการทานขอแสลงไข้ เช่น ลำไย ขนุน
- 🍺 ละเว้นการสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์
- 🩸 ดูแลความสะอาดและสุขอนามัยช่วงระหว่างมีประจำเดือน เปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 4 ชั่วโมงหรือเมื่อเริ่มรู้สึกว่าผ้าอนามัยเริ่มอับชื้นในกรณีที่ประจำเดือนมามาก ไม่ควรปล่อยให้อับชื้นและไม่ควรสวนล้างช่องคลอด
- 🙅♀️ งดการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่มีประจำเดือน เนื่องจากปากมดลูกจะเปิด เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้สูง เลือดจึงเป็นอาหารชั้นดีหล่อเลี้ยงแบคทีเรียให้เจริญเติบโต เมื่อเกิดการติดเชื้อจึงทำให้โรคค่อนข้างรุนแรง เกิดเป็นไข้ทับระดูขึ้น
- 💊 สามารถรับประทานยาลดไข้ เพื่อช่วยบรรเทาอาการได้
วิธีดูแลตนเองข้างต้น นอกจากจะเป็นการดูแลตัวเองระหว่างที่เป็นไข้ทับระดูแล้ว ยังเป็นวิธีการที่ดีต่อช่วงที่มีประจำเดือนแบบปกติด้วย หากทำได้ทุกข้อ ทุกเดือน ร่างกายของสาว ๆ ก็จะแข็งแรง สังเกตได้จากประจำเดือนที่มาแบบปกติ ไม่เป็นไข้ และไม่ปวดรุนแรง
เป็นไข้ทับระดู อาการหนักแค่ไหน ควรพบหมอ ❓
อาการไข้ทับระดูสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งก่อนและระหว่างมีประจำเดือน หากเริ่มรู้สึกว่ามีอาการไข้ ปวดหัว ในระยะเริ่มต้นแนะนำให้รับประทานยาลดไข้ก่อน
💊 ใช้ยาแก้ปวดเพื่อลดไข้ เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือยาแอสไพริน (Aspirin) หากกินยาแล้วยังมีไข้สูง หนาวสั่น วิงเวียนศีรษะอย่างหนัก พร้อมทั้งมีอาการตกขาวสีเหลืองหรือเขียวร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์ทันที
ทั้งนี้ สังเกตได้ว่าปกติปวดประจำเดือนธรรมดาจะปวดแค่ท้องน้อย ปวดส่วนอื่นบ้าง เช่น หลัง ศีรษะ แต่ทานยาแล้วหายได้เองภายใน 1-2 วัน แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่มีอาการปวดร้าวไปทั้งตัว ปวดกล้ามเนื้อ และมีอาการร่วม โดยเป็นอาการที่ปวดน้อยอย่างรุนแรง รู้สึกหน้ามืด รับประทานยาแล้วไม่ดีขึ้น อาจเป็นอาการที่แฝงมากับไข้ทับระดู
👉 อาการไข้ทับระดูในแต่ละคนมีอาการหลักและอาการร่วมที่ต่างกันออกไป หากกินยาแล้วไม่หาย ปรึกษาหมอในแอปฯ หมอดี ได้ทันที เพราะไข้ทับระดูในบางกรณีที่เป็นหนัก อาจถึงขั้นเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
หากปวดประจำเดือนรุนแรง พร้อมมีอาการร่วมที่น่าสงสัย เช่น มีไข้ เวียนหัว ปวดไปทั้งตัว รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพผู้หญิงในแอปฯ หมอดี ก่อนดีกว่า พร้อมมีบริการจัดส่งยาให้ถึงบ้าน
🩺 ปรึกษาแพทย์ได้ง่าย ผ่านแอปฯ หมอดี ด้วย 5 ขั้นตอนต่อไปนี้
- ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
- ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแผนก “สุขภาพผู้หญิง”
- เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา และทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
- เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
- รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้
💬 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp
👉👉 อ่านสาระสุขภาพจากแอปฯ หมอดี เพิ่มเติม คลิก >> https://mordeeapp.com/th/article
บทความที่คุณอาจสนใจ
- สีประจำเดือน บอกโรค สีไหนปกติ? สีไหนควรปรึกษาแพทย์ ?
- ตกขาวเกิดจากอะไร !! น้องสาวมี "ตกขาว" ปกติหรือป่วยกันนะ ❓