รีเซต

ไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร ?? สาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกัน

ไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร ??  สาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกัน
Beau_Monde
27 มกราคม 2565 ( 14:07 )
720

     โรคไวรัสตับอักเสบบี ถือเป็นโรคที่สร้างปัญหาให้กับอวัยวะสำคัญในร่างกายนั่นก็คือตับ และถือเป็นอีกปัญหาสำคัญในประเทศไทย ซึ่งเราสามารถพบผู้ป่วยจากโรคนี้ได้ประมาณ 1 - 3% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ โดยตับอักเสบบี เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) ทำให้รเซลล์ตับเกิดการอักเสบ เซลล์ตับตาย และหากปล่อยจนเป็นเรื้อรัง จะทำให้เกิดพังผืด เกิดโรคตับแข็ง และเกิดโรคมะเร็งตับตามมาได้

 

 

ประเภทของไวรัสตับอักเสบบี

     ไวรัสตับอักเสบบี ถูกแบ่งเป็น 2 ประเภท นั่นคือ

1. แบบเฉียบพลัน

     ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 1-4 เดือนหลังติดเชื้อ โดยจะมีไข้ ตัวเหลืองตาเหลือง ปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงขวา รวมถึงอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เป็นผื่น ปวดข้อ แต่อาการตับอักเสบแบบเฉียบพลันจะดีขึ้นใน 1-4 สัปดาห์ และสามารถหายได้เองในช่วงประมาณ 6 เดือน

2. แบบเรื้อรัง

     ผู้ป่วยในแบบเรื้อรังนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือกลุ่มที่เป็นพาหะ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีเชื้อไวรัสในร่างกายแต่ไม่แสดงอาการ ตรวจเลือดไปเจอความผิดปกติ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ ส่วนกลุ่มที่ 2 คือกลุ่มผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยกลุ่มนี้เมื่อตรวจเลือดแล้วจะพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ

 

สาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบบี 

     การจากติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) โดยการติดเชื้อนั้นมาจากหลายสาเหตุ เช่น

  • การถ่ายทอดจากมารดาที่ติดเชื้อไปสู่ทารก 
  • ติดต่อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อโดยไม่ได้ป้องกัน
  • ติดจากการสัก เจาะหูหรือการฝังเข็ม โดยที่อุปกรณ์เหล่านั้นยังไม่ผ่านการฆ่าเชื้อหรือฆ่าเชื้อไม่ถูกต้อง การสัมผัสกับเลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่ง โดยผ่านเข้าทางบาดแผล
  • การใช้แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บร่วมกัน

 

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี

  • มีอาการอ่อนเพลีย มีไข้ต่ำ ๆ คล้ายเป็นหวัด
  • คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • จุกแน่นใต้ชายโครงขวาจากตับโต
  • ปัสสาวะเข้ม ตัวเหลือง ตาเหลือง

 

วิธีป้องกันตนเองจากไวรัสตับอักเสบบี

  • ตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรตรวจเช็คค่าตับและตรวจคัดกรองมะเร็งตับ
  • ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ
  • ป้องกันทุกครั้งเมื่อทีเพศสัมพันธ์
  • ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน



อ้างอิง



บทความที่คุณอาจสนใจ

 

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง