รีเซต

5 อาหารช่วยลดอาการโรคแพนิค ลดเครียด ตื่นตระหนก วิตกกังวล

5 อาหารช่วยลดอาการโรคแพนิค ลดเครียด ตื่นตระหนก วิตกกังวล
Beau_Monde
19 ธันวาคม 2564 ( 14:41 )
33.4K

     โรคแพนิค (Panic Disoder) หรือ โรคตื่นตระหนก ถือเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบันค่ะ โดยสาเหตุของโรคนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด อาจจะมาจากการทำงานผิดปกติของสมองส่วนควบคุมความกลัวก็ได้ หรืออาจจะมาจากทางจิตใจที่ผู้ป่วยเคยพบเจอเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิตมาก่อนก็ได้ โดยผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการหัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ทัน เหงื่อแตก มือสั่น ตัวสั่น รวมถึงมีความตื่นตระหนก รู้สึกชา ท้องไส้ปั่นป่วน และอาจจะรู้สึกเหมือนตกจากที่สูงแบบไม่มีจุดจบ

     สำหรับคนที่เป็นโรคแพนิค อันดับแรกควรทำคือการพบแพทย์ทางด้านจิตเวชเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องค่ะ โดยเราจำเป็นที่จะต้องกินยาตามที่คุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัดและห้ามหยุดยาเอง แต่นอกจากการกินยาแล้ว เรายังสามารถกินอาหารบางอย่างเพื่อช่วยลดอาการของโรคแพนิคและช่วยป้องกันไม่ฝห้อาการของโรคกำเริบได้อีกด้วย ซึ่งอาหารที่ควรกิน มีดังนี้ค่ะ

 

 

5 อาหารช่วยลดอาการโรคแพนิค

 

1. ไข่

 

 

     ไข่อุดมไปด้วยโปรตีนที่สำคัญต่อร่างกาย นอกจากนี้ยังมีสารอาหารสำคัญคือทริปโตเฟนซึ่งสามารถช่วยกระตุ้นเซโรโทนินในร่างกายได้ ทำให้สามารถช่วยลดความวิตกกังวลและลดความเครียดได้ค่ะ การกินไข่ต้มในมื้อเย็นยังสามารถช่วยให้เราอิ่มอยู่ท้องและนอนหลับได้ดี โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคแพนิคหากได้พักผ่อนอย่างเพียงพอก็จะสามารถช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลได้อีกทางหนึ่งค่ะ

 

2. แป้งไม่ขัดสี

 

 

     ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวซ้อมมือ รวมไปถึงขนมปังโฮลวีท ถั่วต่าง ๆ อาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่ไม่กระตุ้นให้น้ำตาลในร่างกายพุ่งสูงค่ะ จัดเป็นอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (Glycemic Index : GI) ซึ่งอาหารเหล่านี้จะไม่กระตุ้นให้อาการของผู้ป่วยกำเริบ ดังนั้นการเปลี่ยนจากการกินแป้งขาวมาเป็นแป้งไม่ขัดขาวจึงดีต่อผู้ป่วยโรคแพนิคมากกว่าค่ะ

 

3. เนื้อปลา

 

 

     เนื้อปลาหรือเนื้อที่ติดมันน้อยก็จัดเป็นอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำเช่นกันค่ะ รวมถึงอาหารเหล่านี้ยังเป็นโปรตีนชั้นดีที่สามารถช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกายได้ ไม่กระตุ้นให้อาการแพนิคกำเริบและดีต่อสุขภาพโดยรวมค่ะ

 

4. เห็ด

 

 

     เห็ดชนิดต่าง ๆ มีวิตามินดีอยู่มากค่ะ ซึ่งวิตามินดีสามารถที่จะช่วยลดอาการของโรคแพนิคและโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งหากเรามีระดับวิตามินดีต่ำก็จะทำให้อาการกำเริบได้ง่ายขึ้นค่ะ ดังนั้นเราจึงควรที่จะกินอาหารที่มีวิตามินดีเพื่อช่วยให้ระดับวิตามินในร่างกายเป็นปกติ ซึ่งนอกจากจะกินเห็ดแล้วเรายังสามารถรับแสงอาทิตย์ในช่วงเช้าเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างวิตามินดีได้อีกทางค่ะ

 

5. ผลไม้ที่ไม่หวาน

 

 

     ฝรั่ง แอปเปิ้ล ชมพู่ กล้วย ผลไม้เหล่านี้จัดเป็นผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพไม่ว่าจะต่อคนที่เป็นโรคแพนิคหรือคนที่เป็นโรคอื่น ๆ ค่ะ เนื่องจากผลไม้กลุ่มนี้เป็นผลไม้ที่ไม่หวานจัด มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ทำให้เมื่อกินเข้าไปแล้วไม่ส่งผลกระทบกับฮอร์โมน ฮอร์โมนในร่างกายยังทำงานได้ปกติและไม่ทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายกระทบกระทือนค่ะ

 

     อย่างไรก็ตามในกลุ่มคนที่เป็นโรคแพนิคควรที่จะหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูงและอาหารที่มีค่า GI สูง เพราะอาหารเหล่านี้จะทำให้คนไข้มีภาวะอ่อนเพลีย ใจสั่นและอาจจะวิงเวียนศีรษะได้มากขึ้นค่ะ โดยอาหารที่ควรระวังก็อย่างเช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว น้ำหวานทั้งหลาย เค้ก เบเกอรี่ ผลไม้หวานจัด เช่น มังคุด ขนุน น้อยหน่า เงาะ ลำไย อาหารเหล่านี้สามารถกระตุ้นให้ฮอร์โมนต่าง ๆ หลั่งออกมามากและเกิดการเสียสมดุลได้ ซึ่งเมื่อฮอร์โมนหลังออกมามากกว่าปกติ ก็จะส่งผลไปถึงระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำงานผิดปกติไปซึ่งก็จะทำให้อาการของโรคแพนิคกำเริบได้ง่ายค่ะ 

 

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
สัมผัสโลกไร้ขีดจำกัดกับทรูไอดี