รีเซต

ความดันโลหิตสูง 🩸 ภัยเงียบที่คุกคามวัยทำงาน 💊 หากชะล่าใจไม่รักษา อาจเกิดโรคแทรกซ้อนอันตราย

ความดันโลหิตสูง 🩸 ภัยเงียบที่คุกคามวัยทำงาน 💊  หากชะล่าใจไม่รักษา อาจเกิดโรคแทรกซ้อนอันตราย
หมอดี
17 มิถุนายน 2565 ( 10:45 )
908
ความดันโลหิตสูง 🩸 ภัยเงียบที่คุกคามวัยทำงาน 💊  หากชะล่าใจไม่รักษา อาจเกิดโรคแทรกซ้อนอันตราย

     โรคความดันโลหิตสูง 🤔 ไม่ใช่ว่าจะเกิดกับผู้สูงอายุได้อย่างเดียว แต่คนอายุน้อยที่อยู่ในวัยทำงาน วัยต่ำกว่า 35 ปีลงไป ก็มีโอกาสตรวจเจอได้ 😱 และความน่ากลัวของความดันโลหิตสูง ก็คือ หากชะล่าใจไม่รักษา อาจเกิดโรคแทรกซ้อนอันตรายจากความดันโลหิตสูง เช่น เส้นเลือดสมองแตก โรคหัวใจล้มเหลว เป็นต้น

 

 

อาการของโรคความดันโลหิตสูง

     👉 ลองมาสำรวจตัวเองกันว่า คุณมีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงหรือเปล่า ❓

     1. เช็กอาการเบื้องต้น : เครียดบ่อย เหนื่อยง่าย เพลียง่าย หรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ต้นแขนต้นขาอ่อนแรง มีปวดหัว ใจสั่น เหงื่อแตกเป็นพักๆ เป็นประจำหรือไม่

     2. เช็กความดันโลหิต : ควรวัดทุกๆ 2 อาทิตย์ หากพบว่ามีความดันโลหิตตัวบนมากกว่า 140 หรือความดันตัวล่างมากกว่าหรือเท่ากับ 90 บ่อยๆ แสดงว่าความดันโลหิตสูง ควรจะปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงผิดปกติหรือไม่

 

 

ปัจจัยที่ทำให้ความดันสูง

     ทั้งนี้ มีหลายปัจจัยที่ทำให้ความดันสูงขึ้นได้ ผู้ที่มีความเสี่ยงความดันโลหิตสูง มีดังนี้

⚠ กินเค็มเป็นประจำ >> ควรจำกัดโซเดียมไม่เกิน 2 กรัมต่อวัน หรือเทียบเท่ากับเกลือแกง 1 ช้อนชา หากเป็นน้ำปลาหรือซีอิ๊ว ไม่ควรเกิน 3-4 ช้อนชาต่อวัน

⚠ น้ำหนักเกิณเกณฑ์ >> ควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ดัชนีมวลกายไม่เกิน 23 ผู้ชายรอบเอวไม่เกิน 36 นิ้ว ผู้หญิงไม่เกิน 32 นิ้ว

⚠ ไม่ออกกำลังกาย

⚠ สูบบุหรี่จัด ดื่มสุราหนัก

 

 

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

👩‍⚕ พญ.ฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย อายุรแพทย์ต่อมไร้ท่อ ประจำแอปฯ หมอดี แนะนำว่า

     ใครที่มีไลฟ์สไตล์ที่ทำให้เสี่ยงความดันสูง ควรปรับเปลี่ยน เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นความดันโลหิตสูงตั้งแต่อายุยังน้อย แต่หากพบเช็กความดันโลหิตตัวเองแล้วพบว่าสูงกว่าเกณฑ์บ่อยๆ ไม่ควรละเลย ต้องให้แพทย์วินิจฉัย เพื่อหาสาเหตุให้เจอว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงเพราะอะไร? เช่น มีเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต ฮอร์โมนคอร์ติซอลสูงในร่างกาย หรือไทรอยด์ทำงานผิดปกติ เป็นต้น

     👉 เนื่องจากการรักษาอย่างถูกต้องตามสาเหตุ จะทำให้หยุดยาลดความดันได้ในที่สุด ไม่ต้องรับประทานยาลดความไปดันตลอดชีวิต แต่สิ่งสำคัญที่สุดระหว่างการรักษา
คือ ต้องกินยาให้ครบตามแพทย์สั่งและพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งนั่นเอง

     🚨 แต่ถ้าชะล่าใจ ไม่รักษา อาจเกิดโรคแทรกซ้อนอันตรายจากความดันโลหิตสูง เช่น เส้นเลือดสมองแตก โรคหัวใจล้มเหลว เป็นต้น

 

 

     🩺 หากมีภาวะความดันโลหิตสูง หรือเป็นโรคความดันโลหิตสูง สามารถปรึกษา พญ. ฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย เพื่อวินิจฉัย ติดตามอาการ และรับยาได้ง่ายๆ ผ่านแอปฯ หมอดี เพียงทำตาม 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/6grJOklEqpb จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน

2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ พิมพ์ชื่อ ฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย ในแถบค้นหา

3. ทำนัดหมายกับ พญ.ฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือ
กรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)

4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย

5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

💬 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp

 

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

6 ผลไม้ช่วยลดความดันโลหิตสูง ลดความเสี่ยงต่อโรคร้าย กินได้ทุกวันสุขภาพดี

6 เครื่องดื่มลดความดันโลหิตสูง ควบคุมค่าความดันโลหิตสูง ดีต่อหัวใจ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
สัมผัสโลกไร้ขีดจำกัดกับทรูไอดี