5 สาเหตุ ตื่นนอนแล้วไม่สดชื่น อ่อนเพลีย ตื่นนอนแล้วไม่มีแรง มึนหัว
แม้จะนอนหลับไปแล้ว 8 ชั่วโมงแต่คุณก็ยังรู้สึกอ่อนเพลียอยู่ใช่หรือไม่? มีหลายคนที่มักมีอาการเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นอาการง่วงเหงาหาวนอน อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า รู้สึกไม่สดชื่นทั้งที่นอนไปแล้ว 8 ชั่วโมง และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาให้ตรงจุด วันนี้เราจะมาพูดถึง 5 สาเหตุที่ว่าทำไมคุณถึงยังคงรู้สึกเหนื่อยล้าแม้จะนอนหลับไปแล้ว 8 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น และวิธีปรับปรุงการนอนหลับให้ดีขึ้นได้
5 สาเหตุ ตื่นนอนแล้วไม่สดชื่น
1. ขาดความสม่ำเสมอ
การนอนหลับให้ได้ตามชั่วโมงที่ร่างกายต้องการเป็นสิ่งสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญกว่า จำนวนชั่วโมงก็คือความสม่ำเสมอของเวลาการนอนหลับและเวลาตื่น ผู้ที่มีนิสัยการนอนที่ไม่สม่ำเสมอจะมีอารมณ์ที่ไม่ค่อยดีนัก และมีอาการซึมเศร้าได้ง่ายและมากกว่าผู้ที่รักษาตารางเวลานอนให้คงที่
เคล็ดลับของเราก็คือ อย่าเลื่อนเวลาตื่นหรือนอนดึกในวันหยุด พยายามกำหนดเวลาเข้านอนและเวลาตื่นให้ตรงเวลามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และหากทำได้ติดต่อกันอย่างน้อย 1 สัปดาห์ คุณอาจพบว่านาฬิกาชีวภาพจะเริ่มกลับเข้าที่ และคุณจะตื่นและนอนหลับได้เองตามธรรมชาติ
2. ขาดสารอาหารบางอย่างที่สำคัญต่อการนอนหลับ
สารอาหารบางชนิด เช่น แมกนีเซียม สารไซโคไบโอติก และ GABA มีความสำคัญต่อการช่วยส่งเสริมการนอนหลับ แมกนีเซียมมีส่วนช่วยในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและทำให้จิตใจสงบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการเพื่อให้หลับสบายได้ลึกขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยควบคุมฮอร์โมนเมลาโทนินซึ่งควบคุมจังหวะการทำงานของร่างกายอีกด้วย ในขณะที่สารไซโคไบโอติกส์ ซึ่งเป็นโปรไบโอติกส์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพจิต และมีส่วนช่วยในการควบคุมความวิตกกังวล ความเครียด และคุณภาพการนอนหลับ
ในขณะที่ GABA และ L-Theanine เป็นกรดอะมิโนที่ช่วยทำให้จิตใจสงบและผ่อนคลายร่างกาย โดยลดการทำงานที่มากเกินไปของสารสื่อประสาท เช่น คอร์ติซอลและอะดรีนาลีน และช่วยให้คุณหลับได้เร็วขึ้น รวมถึงยังช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับให้ดีขึ้น
3. นอนไม่พอสะสม
หากคุณนอนหลับได้ 8 ชั่วโมงเมื่อคืนนี้แต่วันนี้ก็ยังรู้สึกเหนื่อยอยู่ อาจเป็นเพราะคุณนอนไม่พอเมื่อหลายวันก่อน และอาจเป็นไปได้ว่าคุณนอนไม่พอสะสมหลายวัน การนอนหลับมีความสำคัญพอๆ กับการรับประทานอาหาร การหายใจ และการเข้าห้องน้ำ การนอนไม่เพียงพอจึงส่งผลกระทบต่อทุกอย่าง ตั้งแต่สุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และการทำงานของสมอง การนอนไม่พอสะสมอาจทำให้ร่างกายเหนื่อยล้าและอาจเป็นไปได้ว่าคุณอาจต้องการการนอนให้เต็มที่ติดต่อกันหลายๆ วัน
4. คุณบริโภคอาหารที่รบกวนการนอนหลับ
หลายๆ คนเลือกที่จะผ่อนคลาย ด้วยการดื่มไวน์หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สักแก้ว แต่จริงๆ แล้วเครื่องดื่มเหล่านั้นกลับรบกวนการนอนหลับของเราเป็นอย่างมาก แอลกอฮอล์อาจทำให้คนหลับได้เร็ว แต่หลังจากที่ฤทธิ์เริ่มหมดลง ร่างกายจะใช้เวลามากขึ้นในช่วงหลับตื้น รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ยังรบกวนช่วงหลับลึกด้วยเช่นกัน และแน่นอนว่าคาเฟอีนก็ส่งผลกระทบต่อการนอน แม้ว่าคุณจะไม่ได้ดื่มคาเฟอีนก่อนนอน แต่คาเฟอีนสามารถออกฤทธิ์ได้ประมาณ 6 ชั่วโมง ดังนั้นควรดื่มกาแฟแก้วสุดท้ายก่อนเที่ยงวัน
5. ห้องนอนมีสิ่งรบกวน
เพื่อที่จะนอนหลับได้ ห้องนอนควรพร้อมสำหรับบการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็นเสียงรบกวนจากทีวี เสียงดังบนท้องถนนที่อาจลอดเข้ามาทางหน้าต่าง เสียงเพื่อนบ้านหรือเพื่อนร่วมห้องที่ส่งเสียงดังก็ส่งผลกระทบต่อการนอนได้ แสงสีฟ้าจากหน้าจอหรือแสงไฟจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เราเตอร์ นาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงแสงจากถนน นอกจากนี้อุณหภูมิที่ร้อนเกินไปก็อาจรบกวนการนอนหลับได้เช่นกัน
บทความที่คุณอาจสนใจ
- 5 เครื่องดื่มที่ควรงดก่อนเข้านอน อะไรที่ห้ามกินก่อนนอน แก้ปัญหาหลับๆ ตื่นๆ
- 5 อาหารที่ทำให้นอนไม่หลับ มีปัญหากับการนอน นอนไม่พอ ไม่เต็มอิ่ม