7 เคล็ดลับดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
ในทุก ๆ วัน หัวใจของเราจะทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ทั้งเพื่อส่งสารอาหารที่จำเป็นและออกซิเจนไปยังเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งหน้าที่นี้ถือเป็นงานที่ค่อนข้างหนักสำหรับกล้ามเนื้อขนาดเท่ากำปั้น ดังนั้นการดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรงมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้นเท่านั้น
การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้ดีต่อสุขภาพของหัวใจเป็นสิ่งจำเป็น เพราะสามารถช่วยลดโรคและความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้อย่างมาก และโรคหัวใจก็เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของทั้งผู้ชายและผู้หญิงในหลาย ๆ ประเทศ แต่เมื่อเราลองเปลี่ยนวิถีชีวิต ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงและหัวใจล้มเหลวได้ ซึ่งเคล็ดลับในการรักษาสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง มีดังนี้
หัวใจที่แข็งแรงมักเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตของเรา รวมถึงการหมั่นตรวจสุขภาพก็สามารถทำให้เรารู้ถึงสุขภาพหัวใจด้วยเช่นกัน และยังเป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอื่น ๆ ได้ด้วย
ปรึกษาปัญหาสุขภาพกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ พร้อมรับส่วนลด ผ่านแอปพลิเคชัน MorDee
ซื้อ 1 แถม 1 โปรเเกรมตรวจสุขภาพ Happy Health เพียง 3,900.- ที่รพ.จุฬารัตน์
ตรวจสุขภาพ 17 รายการ + IV Drip 1 ครั้ง พิเศษ 3,990 บาท จาก 15,499 บาท ที่ Bangkok Anti-Aging Center
ลด 5% แพคเกจตรวจสุขภาพ ที่ ATGenes
7 เคล็ดลับดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง
1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถช่วยให้สุขภาพหัวใจดีขึ้นได้ เพราะเมื่อหัวใจทำงานได้ดีขึ้นก็จะลดความเสี่ยงของโรคหัวใจได้ ลองตั้งเป้าออกกำลังกายระดับปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีหรือออกกำลังกายหนัก 75 นาทีต่อสัปดาห์ จะช่วยทำให้หัวใจสามารถสูบฉีกเลือดได้ดีขึ้นและยังเป็นการช่วยลดไขมันในร่างกายได้ด้วย
2. กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อหัวใจ
อาหารที่อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุ เช่น ผลไม้ ผัก ธัญพืชเต็มเมล็ด โปรตีนและไขมันดี อาหารเหล่านี้สามารถช่วยให้สุขภาพหัวใจดีขึ้นได้ และการหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป รวมถึงอาหารหวาน ๆ ที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบมากก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันที่ช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง
3. รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์
การมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้ เพื่อรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ ควรรับประทานอาหารให้สมดุลและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
4. จัดการความเครียด
ความเครียดสะสมสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและยังมีส่วนทำให้ร่างกายสะสมไขมัน ฮอร์โมนผิดปกติและส่งผลไปถึงปัญหาการนอนหลับได้ด้วย ลองฝึกเทคนิคการลดความเครียด เช่น การเล่นโยคะ การทำสมาธิ หรือการหายใจเข้า-ออกลึก ๆ หรือเลือกทำกิจกรรมผ่อนคลายจิตใจในช่วงที่มีเวลาว่าง แบบนี้ก็จะสามารถช่วยจัดการกับระดับความเครียดได้
5. เลิกสูบบุหรี่
การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจและรวมไปถึงโรคอื่น ๆ ด้วย เช่น โรคปอด โรคมะเร็ง โรคที่เกี่ยวกับสมอง ดังนั้นจึงแนะนำให้เลิกสูบบุหรี่ให้ได้ ก็จะช่วยดูแลสุขภาพหัวใจได้
6. จำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของความดันโลหิตและทำให้เกิดโรคหัวใจได้ พยายามจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ไว้ที่ 1 - 2 แก้วต่อวัน หรือถ้าเป็นไปได้ ลองปรับเปลี่ยนเป็นนาน ๆ ดื่มทีก็ได้
7. นอนหลับให้เพียงพอ
การนอนหลับไม่เพียงพอหรือนอนหลับแบบไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับโรคหัวใจได้ ดังนั้นลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนนอนและจัดห้องนอนให้ดี เพื่อให้เราสามารถนอนหลับได้อย่างน้อย 7 - 8 ชั่วโมงต่อเนื่องในแต่ละคืน
บทความที่คุณอาจสนใจ
- ผักอะไรบํารุงหัวใจ? รวม 7 ผักบำรุงหัวใจ ลดเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
- 7 ผลไม้ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต ลดความเสี่ยงเกิดโรค