รีเซต

4 ขั้นตอนการใช้ เครื่องวัดอุณหภูมิ ให้ถูกต้อง วัดไข้ได้ตรง ค่าไม่เพี้ยน

4 ขั้นตอนการใช้ เครื่องวัดอุณหภูมิ ให้ถูกต้อง วัดไข้ได้ตรง ค่าไม่เพี้ยน
Beau_Monde
2 เมษายน 2563 ( 14:50 )
7.8K
2

     อุปกรณ์สำคัญที่มีความจำเป็นในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) นอกจากหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮล์ล้างมือแล้ว คงหนีไม่พ้นเครื่องวัดอุณภูมิร่างกายหรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่าเครื่องวัดไข้นั่นเองค่ะ เพราะอาการขั้นต้นของการติดติดเชื้อไวรัสโควิดนั่นก็คือการมีไข้ หรือการที่ร่างกายจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นค่ะ ซึ่งคนปกติทั่วไปที่แข็งแรงดีจะมีอุณหภูมิร่างกายอยู่ระหว่าง 36.5 - 37.4 องศาเซลเซียส ส่วนผู้ที่มีไข้หรือผู้ที่สงสัยว่าติดเชื้อมักจะมีอุณหภูมิที่สูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียสค่ะ

     การวัดอุณภูมิร่างกายนั้น ถือเป็นการคัดกรองขั้นพื้นฐานที่สามารถหาความผิดปกติของร่างกายได้ โดยเครื่องวัดอุณหภูมิที่นิยมนำมาใช้ในช่วงนี้คือเครื่องวัดอุณภูมิที่หน้าผาก ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้สามารถใช้งานและอ่านผลได้ง่ายเนื่องจากมีตัวเลขบอกชัดเจน แต่ถึงจะใช้งานได้ง่ายก็ยังมีบางคนที่ใช้ได้ไม่ถูก วันนี้เรามี 4 ขั้นตอนการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายให้ถูกต้อง เพื่อที่จะได้วัดค่าได้ตรงตามความจริงไม่ผิดเพี้ยนค่ะ


4 ขั้นตอนการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย

1. ตั้งค่าเป็นโหมดวัดอุณหภูมิร่างกาย

     เครื่องวัดอุณหภูมิแบบวัดหน้าผากนั้นสามารถปรับได้หลายโหมดค่ะ ก่อนที่จะใช้วัดร่างกายก็ต้องตรวจสอบให้ดีว่าเราปรับโหมดของเครื่องให้ตรงกับการใช้งานแล้วจริงๆ ค่าที่วัดได้จะไม่เพี้ยนค่ะ

2. หันเครื่องวัดอุณหภูมิไปที่หน้าผาก

     หันด้านที่มีเซ็นเซอร์ไปทางหน้าผากของผู้ที่ถูกวัดอุณหภูมิร่างกาย เพื่อให้เซ็นเซอร์ได้วัดความร้อนที่ร่างกายแผ่ออกมา โดยให้กะระยะความห่างของเครื่องและหน้าผากที่ประมาณไม่เกิน 15 เซนติเมตร เมื่อเครื่องแสดงตัวเองที่วัดได้ ให้กดปุ่มบันทึกผล นอกจากนี้ยังควรระวังไม่สัมผัสและหายใจรดบริเวณเลนส์ของหัววัดอุณหภูมิ

3. อ่านค่าผลที่ได้

     อ่านตัวเลขที่เครื่องวัดแสดงออกมา โดยผู้ที่ร่างกายปกติจะมีอุณหภูมิร่างกายที่ 36.5 - 37.4 องศาเซลเซียส และผู้ที่มีไข้จะมีอุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามควรวัดซ้ำประมาณ 3 ครั้ง หากผลที่ได้ไม่เท่ากัน ให้ใช้ค่าอุณหภูมิร่างกายที่มากที่สุด

4. หากไม่แน่ใจให้วัดซ้ำด้วยเครื่องวัดอื่น

     หากไม่แน่ใจว่าเครื่องวัดอุณหถูมิที่ใช้นั้นเชื่อถือได้หรือไม่ ให้วัดซ้ำด้วยอุปกรณ์วัดอุณหภูมิชนิดอื่น

     ข้อที่ควรระวังมากๆ คือการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิที่บริเวณอื่น เช่น ช่องหูหรือฝ่ามือ ซึ่งการวัดแบบนี้อาจจะทำให้ค่าที่ได้ไม่ตรง ควรระวังเรื่องโหมดของเครื่องวัด รวมถึงระยะการวัดที่ห่างหรือใกล้เกินไปจะทำให้ผลการวัดผิดพลาดได้ และเพื่อให้ค่าที่ได้ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุดควรศึกษาคู่มือการใช้และปฏิบัตตามอย่างเคร่งครัดค่ะ

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

4 วิธีวัดไข้ รู้ทันไวรัส COVID-19

เช็คลิสต์! เราติด COVID-19 หรือไม่ เช็คอาการเทียบกับไข้หวัดทั่วไปกันหน่อย


ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง