5 วิธีสังเกต ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ มีอาการแบบนี้หรือไม่ ให้รีบรักษา
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA) ถือเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งขณะนอนหลับอย่างหนึ่ง โดยอาจจะเกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจในการนอน จนทำให้เกิดการหยุดหายใจในขณะหลับเป็นช่วง ๆ ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก รวมถึงพบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง โดยภาวะนี้ส่งผลให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้หลายและสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคภาวะเสื่อม สมรรถภาพทางเพศเสื่อม เพราะฉะนั้นแล้วถ้าใครมีอาการภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ก็มีความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายหลายโรคเลยทีเดียวค่ะ
แต่หลายคนก็คงไม่รู้ตัวว่าเรามีภาวะนี้หรือไม่ จนกว่าจะมีใครมาบอกว่าเรานอนกรนเสียงดัง เพราะฉะนั้นแล้ววันนี้เราจึงมีวิธีการสังเกตตัวเองว่าเรามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือเปล่า ซึ่งถ้าใครที่มีอาการแบบนี้ก็ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียดและวางแผนรักษาต่อไปค่ะ
5 วิธีสังเกต ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
1. นอนกรน
สำหรับใครที่มีคนนอนข้าง ๆ ก็อาจจะขอให้อีกคนช่วยฟังเสียงตอนเรานอนได้ แต่ใครที่อยู่คนเดียวก็ให้ลองโหลดแอพพลิเคชั่นที่ช่วยอัดเสียงตอนนอน เพื่อเช็คอาการกรนของตัวเองค่ะ ซึ่งแอพเหล่านี้ก็จะมีฟังชั่นช่วยในการวิเคราะห์ภาวะหยุดหายใจเป็นระยะ ๆ ได้ด้วย
2. สะดุ้งตื่นกลางดึก
หากใครที่มีอาการสะดุ้งตื่นกลางดึก หรือมีอาการคล้ายกับหายใจไม่ออก รวมถึงมีอาการคล้ายสำลักในขณะนอนหลับ ข้อนี้ก็เป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้ค่ะ ยิ่งโดยเฉพาะใครที่มีอาการแบบนี้หลาย ๆ ครั้งใน 1 คืน ยิ่งควรต้องหาเวลาไปตรวจอย่างมาก
รับส่วนลด Sleep Test ที่คลินิก VitalSleep Clinic รักษานอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ คลิกเลย!
3. คอแห้ง เจ็บคอตอนเช้า
หากตื่นตอนเช้าแล้วมีอาการคอแห้งหรือรู้สึกว่ามีอาการเจ็บคอ อาจเป็นไปได้ว่าในช่วงกลางคืนที่ผ่านมาเรานอนกรนค่ะ ซึ่งข้อนี้ก็เป็นสัญญาณหนึ่งที่อาจจะเกิดภาวะหยุดหายใจกับร่างกายเราได้แล้ว ดังนั้นใครที่ตอนเช้า ๆ มีอาการนี้ให้ลองสังเกตตัวเองดูค่ะ
4. ตื่นแล้วรู้สึกไม่สดชื่น
ในบางครั้งที่เรานอนหลับไม่สนิทโดยอาจจะมาจากความเครียด เมื่อตื่นมาตอนเช้าเราอาจจะรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สดชื่นและรู้สึกเบลอ ๆ ก็เป็นได้ แต่หากวันไหนที่เราพักผ่อนเต็มที่แต่เมื่อตื่นนอนก็ยังมีอาการแบบนี้อยู่ ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าในตอนกลางคืนนั้น เราอาจจะมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ทำให้เราพักผ่อนไม่เพียงพอและเมื่อตื่นตอนเช้าเราจึงรู้สึกไม่สดชื่นค่ะ
5. ปวดหัวหลังตื่นนอนตอนเช้า
เช่นเดียวกับการตื่นตอนเช้าแล้วไม่สดชื่นค่ะ อาการปวดหัวหลังตื่นนอนตอนเช้าก็อาจจะเกิดจากในตอนกลางคืนเราพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากมีภาวะหยุดหายใจ ดังนั้นใครที่ปวดหัวตอนเช้าโดยที่หาสาเหตุไม่ได้ ก็ให้ลองไปตรวจเรื่องการนอนหลับกับคุณหมอดูค่ะ
บทความที่คุณอาจสนใจ
- 5 ท่าโยคะ แก้อาการนอนกรน ฝึกแล้วช่องจมูกเปิดโล่ง หายใจสะดวก ไม่กรน
- 5 วิธีรักษาอาการนอนกรนด้วยตัวเอง หยุดอาการง่ายๆ หลับสนิทได้ตลอดคืน