โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล อาการเป็นอย่างไร อารมณ์เปลี่ยนตามสภาพอากาศ !!
⛈ หน้าฝน ฟ้าครึ้ม หรือบางทีในหน้าหนาวเหงาๆ ที่ฟ้าอาจเปลี่ยนเป็นสีเทาจาง ๆ ทำให้บางคนรู้สึกหวั่นไหวไปตามสภาพแวดล้อม สภาพอากาศ หากเป็นบ่อยๆ จนผิดสังเกต และรู้สึกเศร้าหมองจนอารมณ์ดิ่ง อย่างนี้เริ่มผิดปกติแล้วล่ะ! แนะนำว่าให้ลองมาเช็กตัวเองด่วนว่ามีแนวโน้มจะป่วยเป็น “โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล” หรือ Seasonal Affective Disorder ที่เรียกโดยย่อว่า S.A.D) บ้างหรือไม่ เพราะเรื่องของสภาพจิตใจ ปล่อยไว้นานเกินไป ยิ่งแก้ยาก
แอปฯ หมอดีอยากให้คุณแคร์ใจตัวเองในทุก ๆ วัน และเพราะเราก็แคร์คุณมากเช่นกัน วันนี้จึงขอนำสาระสุขภาพดี ๆ จาก คุณสกาวรัตน์ ตั้งจิตถนอม ผู้ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต นักจิตบำบัดบนแอปฯ หมอดีมาฝาก เผื่อว่าจะช่วยให้คุณได้รู้เท่าทันความรู้สึกและอาการป่วยทางสุขภาพใจของตัวเอง ได้เช็กความเสี่ยงโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล และหากมีความเสี่ยง ก็สามารถรับมือได้แบบไม่สายเกินไป ... อ่านคำแนะนำดีๆ จากคุณหมอ ที่แต่ละภาพในบทความนี้ได้เลยค่ะ
สาเหตุของ "โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล"
เป็นโรคทางอารมณ์ชนิดหนึ่ง มักเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันของแต่ละปี ส่วนมากจะมีอาการหม่นหมอง นอยด์ง่าย รู้สึกหมดพลังกายและพลังใจ
มักจะเกิดขึ้นช่วงรอยต่อของฤดูกาล ⛅ คือจากฤดูร้อนมาฤดูฝน หรือจากฤดูฝนไปฤดูหนาว โดยผู้ป่วยภาวะนี้จะมีอาการของโรคซึมเศร้าในช่วงฤดูกาลเดิมของทุกปี และอาการมักจะดีขึ้นในช่วงฤดูร้อน แต่เมื่อเจอฤดูฝน ฤดูหนาว ที่สภาพแวดล้อมมืดครึ้ม จะทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาลได้
เพราะตามธรรมชาติของมนุษย์ ช่วงเวลากลางวันที่มีแสงอาทิตย์สาดส่อง 🌞 ทำให้เรารู้สึกสดใส จะทำให้เรารู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า แต่เมื่อนาฬิกาชีวิตรวน ด้วยรูปแบบชีวิต หรือไม่ว่าจะเป็นฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถทำให้สมองมีการหลั่งฮอร์โมนบางชนิดผิดปกติไป จนทำให้เกิด "โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล“ นั่นเอง ซึ่งฮอร์โมนสำคัญที่ว่าก็คือ...
- เซโรโทนิน (Serotonin) การที่ฮอร์โมนตัวนี้ลดลง ทำให้สมองของเรามีประสิทธิภาพในการควบคุมอารมณ์ด้านลบต่าง ๆ (โดยเฉพาะความเศร้าหมอง) ได้น้อยลงตามไปด้วย
- เมลาโทนิน (Melatonin) สูงขึ้น ทำให้เรารู้สึกง่วงนอนมากกว่าปกติ อยากนอนทั้งวัน ทำสิ่งต่าง ๆ ได้ช้าลง เซื่องซึม เบื่อ นอยด์ เหงา ไร้ความกระตือรือร้น จนเกิดเป็นภาวะซึมเศร้านั่นเอง
🫂นอกจากนี้คนที่มีความเสี่ยงสูง มักจะอ่อนไหวไปตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปได้ง่าย เรียกได้ว่าเป็นผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าสูงกว่าคนกลุ่มอื่น ได้แก่
- เพศหญิง โรคซึมเศร้าตามฤดูกาลพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
- ผู้ที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ซึ่งเป็นวัยที่พบโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลได้มากกว่าช่วงวัยอื่น
- ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือโรคไบโพลาร์
- ผู้ที่มีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล
อาการเสี่ยงโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล
ถ้ามีอาการเหล่านี้... เมื่อเจอสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป หม่นหมอง อาจเป็นโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล
- ☑️ รู้สึกหมดหวังในชีวิต คิดว่าตนเองไร้ค่า
- ☑️ เบื่อทุกอย่างในชีวิต เบื่อแม้กระทั่งกิจกรรมที่เคยชอบ
- ☑️ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- ☑️ ความกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ ลดลงอย่างมาก
- ☑️ ง่วงตลอดเวลา หรือมีปัญหาในการนอนหลับ
- ☑️ รับประทานอาหารมากเกินไป เบื่ออาหาร รับประทานอาหารน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด
- ☑️ ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดได้นาน
- ☑️ ไม่อยากเข้าสังคม เก็บตัวอยู่ตามลำพัง
- ☑️ มีความคิดทำร้ายตนเอง คิดฆ่าตัวตาย
วิธีดูแลสุขภาพใจ
- รับประทานอาหารสุขภาพ กินให้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสม
- หลีกเลี่ยงการหมกมุ่นอยู่กับความคิดและอารมณ์เศร้า โดยการทำกิจกรรมที่ชื่นชอบหรือมีการเคลื่อนไหวของร่างกาย ยิ่งทำกิจกรรมที่ได้สัมผัสกับแสงธรรมชาติด้วยยิ่งดี
- ออกกำลังกาย
- ออกไปพบปะสังสรรค์หรือเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทางสังคม
- ฝึกใจให้ยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ฝึกผ่อนคลายตัวเองด้วยเทคนิคต่าง ๆ เช่น การฝึกสมาธิ การฝึกหายใจคลายเครียดก็ช่วยได้มาก
- หมั่นสังเกตอาการและความแปรปรวนของอารมณ์ตนเอง แล้วหาโอกาสพูดคุยกับคนที่คุยแล้วสบายใจ หรือเข้าพบนักจิตบำบัด
โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล ดีขึ้นได้ ด้วยการเอาใจใส่ตัวเอง คนรอบข้าง และการให้ความร่วมมือกับจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัด
👉👉 อ่านสาระสุขภาพจากแอปฯ หมอดี เพิ่มเติม คลิก >> https://mordeeapp.com/th/article
👩🔬 หากรู้สึกว่าอารมณ์หม่นหมองผิดปกติ หรือว่ารู้สึกนอยด์นานเกินไปจนได้รับผลกระทบกับการดำเนินชีวิต ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์หรือพูดคุยกับนักจิตบำบัดไว้ก่อนจะดีกว่า
📲 5 ขั้นตอน ในการใช้แอปฯ หมอดี เพื่อปรึกษาจิตแพทย์ หรือ นักจิตบำบัด
- ดาวน์โหลดแอปฯ หมอดี คลิก>> https://mordee.app.link/6grJOklEqpb จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
- ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแผนก “จิตเวช” หากต้องการพบจิตแพทย์และรับยา หรือเลือกแผนก “สุขภาพใจ” หากต้องการปรึกษานักจิตบำบัด
- เลือกจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัดที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
- เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษา เมื่อถึงเวลานัดหมาย
- รอสรุปผลการปรึกษา พร้อมใบสั่งยาจากแพทย์ (หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้
💬 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp
บทความที่คุณอาจสนใจ
- เช็กอาการโรคซึมเศร้า แค่อารมณ์เศร้าหรือเป็นซึมเศร้าจริง เช็กให้ชัวร์!
- 8 คำพูดปลอบใจคนเป็นโรคซึมเศร้า พูดแบบไหนให้รู้สึกดีขึ้น
- เช็คก่อนจะสาย 9 สัญญาณ โรคซึมเศร้า ตกลงเราเป็นหรือไม่เป็น