เหงื่อออกที่มือ เป็นโรคอะไร เสี่ยงโรคหัวใจหรือเปล่า?
เรื่องมือเปียกเพราะเหงื่อออก ใครว่าเรื่องเล็ก อ่านด่วนก่อนกลายเป็นเรื่องอันตราย ⚠
ใครที่พบว่าทำงานอยู่ในห้องแอร์ อากาศเย็น แต่ก็ยังมีเหงื่อออกที่มือ ระวังไว้เลย! นี่แหละภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม เพราะว่าอาจเป็นสัญญาณที่บอกถึงโรคหัวใจได้
แม้ว่าจะมีกระแสออกมาระยะหนึ่งถึงภาวะเหงื่อออกที่มือให้ระวังเป็นโรคหัวใจ และก็มีหลายฝ่ายออกมาต่อต้านว่า อาจไม่ใช่ทุกกรณีเสมอไป แต่การที่เราคอยสังเกตและดูแลสุขภาพตัวเองอย่างถี่ถ้วน ก็ยังคงส่งผลดีในระยะยาว
คราวนี้ แอปฯ หมอดี จะมาอธิบายให้ทุกคนได้เข้าใจว่า มีกรณีไหนบ้างที่ควรระวังและปรึกษาแพทย์ไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยเนื้อหาสาระดี ๆ จาก พญ.ทิพย์วิภา ประจงกิจ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปประจำแอปฯ หมอดี
🔎 อาการเหงื่อออกที่มือ เข้าข่ายผิดปกติหรือไม่ ❓
ภาวะเหงื่อออกมือมากผิดปกติ หรือเรียกว่า 💧 Hyperhidrosis 💦 ถ้าทำงานแบบที่ต้องอยู่ใกล้ความร้อน ตากแดด หรือออกแรงเยอะ แล้วมีเหงื่อออกมากกว่าปกติ ก็คงไม่แปลกอะไร แต่ถ้าทำงานในห้องแอร์แล้วกลับมีเหงื่อออกที่มือ หรือที่เท้า แบบนี้จัดว่าเสี่ยงต่อภาวะ #Hyperhidrosis แล้วล่ะ!
โดยปกติแล้ว ทุกกรณีของการมีเหงื่อออก มักจะมีเหงื่อแบบทั่วตัว ไม่เฉพาะจุด เช่น การออกกำลังกาย ทำงานที่ใช้แรง อยู่ใกล้ความร้อน หรือทำงานกลางแดด ต่างก็มีเหงื่อออกจนเปียกเสื้อกันทั้งนั้น แต่ว่าการที่คนอยู่ในห้องแอร์ ทั้ง ๆ ที่หนาวแต่กลับมีเหงื่อออกเฉพาะมือและเท้า อาจบ่งบอกได้ว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น
อาการเหงื่อออกมือที่ผิดปกติแบบ Hyperhidrosis จะมีจุดสังเกตได้เลยว่า เหงื่อจะออกเฉพาะส่วน คือที่มือหรือเท้า แต่ที่ใบหน้าไม่มี แผ่นหลังไม่มี ที่อื่นๆ ไม่มี และในบางคนก็มีเหงื่อออกเฉพาะแค่ที่ฝ่ามือ แต่หลังมือกลับเย็นตามอุณหภูมิของแอร์ที่เปิด แถมส่วนใหญ่ยังรู้สึกหนาวมากกว่าร้อนอีกด้วย
แล้วถ้ามีอาการเหงื่อออกมือผิดปกติ จะเข้าข่ายเสี่ยงโรคอะไรบ้าง? เสี่ยงโรคหัวใจแบบที่โซเชียลชอบบอกกันจริงไหม? พบคำตอบได้ในภาพด้านล่าง
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมีปัญหาเรื่องเหงื่อออกที่มือมากกว่าปกติ ลองพูดคุยกับหมอ เพื่อเช็กอาการและปรึกษาแพทย์ได้ง่าย ผ่านแอปฯ หมอดี ด้วย 5 ขั้นตอนต่อไปนี้
1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/6grJOklEqpb จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2.ไปที่หน้าแรกของแอปฯ พิมพ์ชื่อแผนก “โรคทั่วไป” หรือ พิมพ์ชื่อหมอ ทิพย์วิภา ประจงกิจ ในแถบค้นหา
3. เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา และทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้
💬 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp
👉👉 อ่านสาระสุขภาพจากแอปฯ หมอดี เพิ่มเติม คลิก >> https://mordeeapp.com/th/article
บทความที่คุณอาจสนใจ
- 6 อาการของโรคหัวใจ หัวใจขาดเลือด หัวใจวาย มีอาการแบบนี้ต้องระวัง
- 6 สัญญาณ โรคเบาหวาน ถึงจะชื่อเบาแต่อาการหนัก