6 มลพิษในอากาศที่เราต้องเจอทุกวัน มีมากกว่าแค่ฝุ่น PM 2.5 รู้แล้วรีบป้องกัน!
6 มลพิษในอากาศที่เราต้องเจอทุกวันมีอะไรบ้างนะ? หลายๆคนอาจจะไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วในแต่ละวันเราต้องเจอกับมลพิษในอากาศมากมายหลายแบบโดยที่เราอาจไม่รู้ตัว เพราะมลพิษบางชนิดนั้น อาจจะไม่มีสีหรือไม่มีกลิ่น จึงทำให้ยากต่อการสังเกต ซึ่งนอกจากมลพิษที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีอย่างฝุ่น PM 2.5 แล้ว ยังมีมลพิษอื่นๆอีกมากที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงนักจนอาจจะลืมป้องกันตัวเองได้ มลพิษเหล่านี้อันตรายต่อสุขภาพของเรามากนะคะ เพราะฉะนั้นเราจะต้องรู้จักไว้เพื่อที่จะได้ระวังตัวได้ทันค่ะ
มลพิษในอากาศ 1 : ฝุ่น PM 2.5
เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน
เกิดจาก
- การเผาไหม้จากยานพาหนะ
- ไฟป่า
- อุตสาหกรรม
อันตราย
- สามารถเข้าไปถึงถุงลมปอดได้
- เสี่ยงต่อการเกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ
- เสี่ยงต่อโรคปอดต่างๆ
- หลอดลมอักเสบ
- หอบหืด
มลพิษในอากาศ 2 : ฝุ่น PM 10
เป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 ไมครอน
เกิดจาก
- การเผาไหม้เชื้อเพลิง
- การเผาในที่โล่ง
- อุตสาหกรรม
- การบด
- การโม่
- ผงจากการก่อสร้าง
อันตราย
- สามารถสะสมในระบบทางเดินหายใจได้
มลพิษในอากาศ 3 : O3 (ก๊าซโอโซน)
เป็นก๊าซที่ไม่มีสีหรือมีสีฟ้าอ่อน ส่วนก๊าซโอโซนที่เป็นมลพิษทางอากาศคือก๊าซโอโซนในชั้นบรรยากาศผิวโลก
เกิดจาก
- ปฏิกิริยาระหว่างก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนและสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย ซึ่งมีแสงแดดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
อันตราย
- ทำให้เกิดการระคายเคืองตา
- ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจและเยื่อบุต่างๆ
- ประสิทธิภาพในการทำงานของปอดลดลง
- เหนื่อยเร็ว
มลพิษในอากาศ 4 : CO (ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์)
เป็นก๊าซที่ไม่มีสี กลิ่น และรส
เกิดจาก
- การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิงที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ
อันตราย
- สามารถสะสมอยู่ในร่างกายได้ โดยจะไปรวมกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ส่งผลให้การลำเลียงออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆของร่างกายลดน้อยลง
- ร่างกายอ่อนเพลีย
- หัวใจทำงานหนักขึ้น
มลพิษในอากาศ 5 : NO2 (ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์)
เป็นก๊าซที่ไม่มีสีและกลิ่น มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ซึ่งอาจเกิดจากการกระทำของมนุษย์
เกิดจาก
- การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ
- อุตสาหกรรม
อันตราย
- มีผลต่อการมองเห็น
- มีผลต่อผู้ที่มีอาการหอบหืด
- มีผลต่อผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
มลพิษในอากาศ 6 : SO2 (ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์)
เป็นก๊าซที่ไม่มีสีหรือมีสีเหลืองอ่อนๆ มีรสและกลิ่นในระดับความเข้มข้นสูง
เกิดจาก
- การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีกำมะถันเป็นส่วนประกอบ
- สามารถรวมตัวกับสารมลพิษอื่นและก่อตัวเป็นฝุ่นขนาดเล็กได้
อันตราย
- ระคายเคืองต่อเยื่อบุตา
- ระคายเคืองต่อผิวหนัง
- ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ
- เสี่ยงต่อโรคหลอดลมอักเสบเรื่อรัง
ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
บทความที่คุณอาจสนใจ