รีเซต

ชนะขาด!! “ภูมิแพ้อากาศ” ตัวร้าย รู้ทันอาการและการป้องกัน

ชนะขาด!! “ภูมิแพ้อากาศ” ตัวร้าย รู้ทันอาการและการป้องกัน
หมอดี
23 ธันวาคม 2565 ( 10:45 )
339
ชนะขาด!! “ภูมิแพ้อากาศ” ตัวร้าย รู้ทันอาการและการป้องกัน

     ภูมิแพ้อากาศ เกิดอาการได้เมื่ออุณหภูมิและความชื้นในอากาศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือเกิดจากการสูดดมสารระคายเคืองต่างๆ ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น  ขนสัตว์เลี้ยงในบ้าน เกสรดอกไม้  หรือมลพิษทางกาศ เมื่อได้สัมผัสกับสิ่งกระตุ้นดังกล่าว จะทำให้เกิดอาการ คันจมูก ไอ จาม แน่นจมูก หรือน้ำมูกไหล ได้    

 

 

ภูมิแพ้อากาศ เกิดจากอะไร?

     ภูมิแพ้อากาศ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในแต่ละคน มองว่าสารก่อภูมิแพ้ที่รับเข้าไปนั้น เป็นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่ ซึ่งการสูดดมสารระคายเคืองต่าง ๆ เช่น  ไรฝุ่น  ขนสัตว์เลี้ยงในบ้าน เกสรดอกไม้ หรือมลพิษทางอากาศ รวมถึงสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวัน หากร่างกายเราปรับตัวไม่ทัน ระบบภูมิคุ้มกันจะตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้เหล่านั้น โดยหลั่งสารฮีสตามีน (Histamine) และเม็ดเลือดขาว (Leukotrienes) ออกมาตามกระแสเลือด จนทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ต่าง ๆ เช่น คันตา คันจมูก จาม น้ำมูกไหล และแน่นจมูกตามมาได้ อาการแสดงดังกล่าวที่เกิดขึ้นนั้น เพื่อพยายามป้องกันไม่ให้สารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกายนั่นเอง

     อาการภูมิแพ้อากาศมักจะได้รับการถ่ายทอดจากพันธุกรรม และสัมผัสกับผู้ที่เป็นโรคหอบหืดด้วย รวมถึงภูมิแพ้ผิวหนังก็มีแนวโน้มที่จะพัฒนามาเป็นภูมิแพ้อากาศตามมาด้วยเช่นกัน

 

 

อาการแบบไหน ที่เรียกว่าภูมิแพ้อากาศ?

     “ภูมิแพ้อากาศ”  ถือว่าเป็นโรคยอดฮิตอันดับต้น ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ผู้ป่วยโรคนี้แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกัน และความรุนแรงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดของสารก่อภูมิแพ้ที่ได้รับและการตอบสนองของร่างกายแต่ละบุคคล โดยมีอาการ ดังนี้

  • อาการทางจมูก ผู้ป่วยจะมีอาการคันจมูก คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล
  • อาการทางตา ผู้ป่วยจะมีอาการคันตา เคืองตา น้ำตาไหล ตาแดง  เปลือกตาบวม ใต้ตาคล้ำ  เยื่อบุตาอักเสบ
  • อาการทางผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีอาการผิวแห้ง เป็นขุย แดง และมีอาการคัน หรือเป็นผื่นลมพิษ 

 

 

วิธีป้องกันและการรักษา ภูมิแพ้อากาศ

1. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้

     ถ้าทราบแล้วว่าแพ้สิ่งใดให้จัดการสิ่งนั้นให้ไกลจากตัว เช่น ถ้าแพ้ไรฝุ่น ให้ทำความสะอาดเครื่องนอนอย่างถูกวิธี หรือ ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ป้องกันไรฝุ่น แต่ถ้ายังไม่ทราบว่าสารก่อภูมิแพ้คือสิ่งใด ให้ค่อย ๆ ลองสังเกตสิ่งที่กระตุ้นอาการภูมิแพ้ หรือ ปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจหาสารที่แพ้ เช่น การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin Pick Test) เป็นต้น

2. ดูแลสุภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

     การออกกำลังกายสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต่าง ๆ ได้ รวมถึงโรคภูมิแพ้อากาศด้วย โดยควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง จะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง และทำให้อาการโรคภูมิแพ้ค่อย ๆ ดีขึ้น

3. การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการภูมิแพ้อากาศ

     ยาชนิดกิน เป็นรูปแบบยาที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
ยารักษาโรคภูมิแพ้ที่เป็นยาเม็ดมีหลายกลุ่มยา เช่น ยากลุ่ม Antihistamines ซึ่งจะมีทั้งชนิดที่ทำให้ง่วงและชนิดที่ทำให้ไม่ง่วงนอน ยาในแต่ละชนิดควรเลือกให้เหมาะสมกับอาการของแต่ละคน

     ยาชนิดพ่นจมูก(Nasal Spray) ถูกพัฒนาขึ้นมาให้สามารถนำส่งตัวยาเข้าไปที่โพรงจมูกได้โดยตรง เพื่อช่วยลดอาการข้างเคียงบางประการของตัวยากินบางชนิด แต่ยาพ่นจมูกก็มีวิธีการใช้ยาที่ซับซ้อนกว่ายาชนิดรับประทาน จึงควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับวิธีการใช้ยาอย่างถูกวิธี เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการรักษาที่ดี และมีความปลอดภัยสูงสุด

 

 

     สาระสุขภาพโดย นพ.ธีระพงศ์ ตั้งกิจสถาพร แพทย์เฉพาะทางด้าน หู คอ จมูก บนอป หมอดี


     หากสงสัยว่าตนเองมีอาการภูมิแพ้อากาศ หรืออยากปรึกษาเรื่องยาแก้แพ้ สามารถปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรผ่านแอปฯ หมอดี ได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องไป รพ. พร้อมมีบริการจัดส่งยาถึงบ้าน 

5 ขั้นตอนง่ายๆ ในการใช้แอปฯ หมอดี

1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/mordee จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2.ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา  แล้วเลือกแผนกหรืออาการที่ต้องการปรึกษา โดยหากต้องการปรึกษาเกี่ยวกับยาแก้แพ้ ภูมิแพ้ อาจเลือก แผนกหูคอจมูก แผนกโรคทั่วไป หรือแผนกเภสัชกรรม
3. เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้



💬 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp

👉👉 อ่านสาระสุขภาพจากอป หมอดี เพิ่มเติม คลิก >> https://mordeeapp.com/th/article

บทความที่เกี่ยวข้อง