4 วิธีปรับเก้าอี้ทำงาน นั่งนานไม่เมื่อย ถูกสรีระ ไม่เป็นออฟฟิศซินโดรม
การนั่งทำงานนานๆ โดยที่เราไม่ได้ขยับตัวไปไหน มีโอกาสมากๆ ที่จะทำให้เราอยู่ในท่าที่ผิดสรีระ ซึ่งทำให้เราเมื่อยตัว ปวดหลัง ปวดไหล่และเสี่ยงต่อการเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้ค่ะ ดังนั้นการปรับท่านั่งให้ถูกสรีระจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ที่จะช่วยคลายความปวดเมื่อยและทำให้เราห่างจากโรค
ซึ่งการนั่งให้ถูกสรีระนั้นไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องนั่งหลังตรง คอตรง ตามองหน้าจอตลอดเวลา เพียงแค่เราปรับเก้าอี้นั่งทำงานของเราเล็กๆ น้อยๆ ก็ช่วยได้แล้วค่ะ ซึ่งวิธีการปรับเก้าอี้เพื่อให้นั่งได้ถูกต้อง ทำให้เรานั่งได้นาขึ้น ไม่เมื่อย ไม่ปวดตัวและไม่เป็นโรคออฟฟิศซินโดรมนั้น สามารถทำได้ ดังนี้
4 วิธีปรับเก้าอี้ทำงาน ไม่เป็นออฟฟิศซินโดรม
1. ปรับที่เท้าแขน
เก้าอี้ทำงาบางตัวก็มีที่เท้าแขนที่สามารถปรับระดับความสูงต่ำได้ค่ะ พยายามปรับที่เท้าแขนให้เตี้ยกว่าขอบโต๊ะเล็กน้อยเพราะไม่อย่างนั้นจะเกะกะและชนกับขอบโต๊ะได้ รวมถึงเมื่อที่เท้าแขนไม่สูงจนเกินไป จะทำให้เราไม่จำเป็นต้องยกไหล่เวลาวางแขนอีกด้วย ทำให้ช่วยลดอาการปวดเมื่อยบริเวณท้ายทอย ไหล่และหลังช่วงบนได้ค่ะ
2. ใช้เบาะดันหลัง
สำหรับเก้าอี้นั่งทำงานนั้นส่วนมากจะออกแบบให้มีการเอนของผนักพิงด้านหลังได้นิดหน่อยค่ะ รวมถึงเก้าอี้ในบางรุ่นก็ออกแบบให้พนักพิงนั้นโดค้งเว้นเพื่อรองรับหลังของเราได้เล็กน้อย แต่หากใครที่รู้สึกว่ายังรองรับหลังไม่เพียงพอก็สามารถใช้เบาะรองหลัง หรือมอนรองหลังมาเพิ่มได้ เพื่อให้เราสามารถนั่งได้หลังตรงขึ้นและเป็นการลดการเกร็งในกล้ามเนื้อสวนอื่นและทำให้เรานั่งได้นานมากขึ้นด้วยค่ะ
3. ความสูงของเก้าอี้
ความสูงของเก้าอี้ก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ไม่แพ้กันค่ะ เพราะการปรับความสูงของเก้าอี้ให้พอดีจะช่วยให้เรามองหน้าจอได้ถนัด และลดการเงยหน้าหรือก้มหน้ามากเกินไปได้ ทำให้เราไม่ปวดต้นคอค่ะ โดยเราสามารถกะความสูงของเก้าอี้ได้แบบง่ายๆ โดยการกะที่ความพอดีของข้อศอกกับขอบโต๊ะและแขนของเราสามารถวางอยู่บนโต๊ะได้โดยไม่ต้องยกไหล่ค่ะ
4. วางเท้าให้ติดพื้น
การวางเท้าไว้ที่พื้นช่วยซัพพอร์ทการนั่งของเราให้ดีขึ้นได้ค่ะ แต่ในบางคนก็อาจจะมีปัญหาตรงที่เมื่อปรับเก้าอี้ให้สูงพอ เท้าก็กลับลอยจากพื้น ซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ได้ง่ายๆ โดยการหาเก้าอี้ตัวเตี้ยๆ หรือที่วางเท้าวมาวางไว้ใต้โต๊ะก็ได้ เพื่อให้การนั่งของเราถูกต้องและสามารถทำให้เรานั่งได้นานมากขึ้นค่ะ
บทความที่คุณอาจสนใจ
- 4 วิธีกดจุดแก้นิ้วล็อค แก้ได้ง่ายๆ ปลอดภัย ไม่เป็นออฟฟิศซินโดรม
- 3 ท่าแก้ปวดเมื่อย กำจัดอาการออฟฟิศซินโดรม