รีเซต

อาหารและเครื่องดื่มที่ หญิงตั้งครรภ์ควรเลี่ยง มีอะไรบ้าง

อาหารและเครื่องดื่มที่ หญิงตั้งครรภ์ควรเลี่ยง มีอะไรบ้าง
เฮลโลคุณหมอ
16 เมษายน 2563 ( 15:00 )
283
อาหารและเครื่องดื่มที่ หญิงตั้งครรภ์ควรเลี่ยง มีอะไรบ้าง

 

การทานอาหารและเครื่องดื่มสำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์นั้น ถือเป็นเรื่องที่ต้องระวังเป็นอย่างมาก เพราะอาหารบางอย่างอ่านทำให้ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อยู่สามารถป่วยได้ นอกจากนั้นจะส่งผลถึงคุณแม่ตั้งครรภ์แล้ว ยังอาจส่งผลไปถึงทารกที่อยู่ในครรภ์ได้ด้วย แต่อาหารและเครื่องดื่มที่ หญิงตั้งครรภ์ควรเลี่ยง จะมีอะไรบ้าง ทาง Hello คุณหมอ ได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน

หญิงตั้งครรภ์ควรเลี่ยง อาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้

เมื่อคุณตั้งครรภ์ ควรจะต้องทราบเอาไว้ว่ามีอาหารและเครื่องดื่มบางอย่างที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะเมื่อทานเข้าไปแล้วมันอาจทำให้คุณป่วย หรือเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น อาหารและเครื่องดื่มที่ หญิงตั้งครรภ์ควรเลี่ยง มีอะไรบ้าง ต้องไปติดตามกัน

ปลาที่มีปรอทสูง

ปรอทถือเป็นสารประกอบที่มีพิษสูง และสามารถพบได้มากที่สุดในน้ำเสีย โดยปริมาณปรอทที่สูงอาจเป็นพิษต่อระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน และไต เมื่อหญิงตั้งครรภ์ได้รับสารปรอทเข้าไป ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาการที่ร้ายแรงในเด็กได้ เนื่องจากมักจะพบสารปรอทในทะเล จึงส่งผลให้ปลาทะเลขนาดใหญ่มักจะสะสมปรอทเอาไว้ในปริมาณที่สูง ทางที่ดีหญิงตั้งครรภ์ จึงควรจำกัดการบริโภคปลาที่มีปรอทสูงไม่เกิน 1-2 หน่วยบริโภคต่อเดือน สำหรับปลาที่มีปรอทสูง ได้แก่

  • ปลาฉลาม
  • นาก
  • ปลาแมคเคอเรล
  • ปลาทูน่า โดยเฉพาะปลาทูน่าพันธุ์ครีบยาว (Albacore Tuna)

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องทราบก็คือปลาแต่ละชนิดมักจะมีปรอทที่ไม่เท่ากัน การบริโภคปลาที่มีสารปรอทต่ำในระหว่างตั้งครรภ์นั้นดีต่อสุขภาพ และปลาเหล่านี้สามารถรับประทานได้ถึง 2 ครั้งต่อสัปดาห์ นอกจากนั้น ปลาที่มีไขมันเป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 ก็มีควาสำคัญต่อลูกน้อยในครรภ์อีกด้วย

ปลาที่ปรุงไม่สุกหรือปลาดิบ

ปลาดิบโดยเฉพาะหอย อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อได้หลายอย่าง อาจจะเป็น ไวรัส แบคทีเรีย หรือปรสิต ก็เป็นได้ การติดเชื้อเหล่านี้อาจมีผลกระทบต่อเหล่าคุณแม่ ทำให้ร่างกายขาดน้ำและอ่อนแอ การติดเชื้ออื่นๆ ยังอาจถูกส่งต่อไปยังทารกในครรภ์ ซึ่งอาจมีผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

หญิงตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อลิสเตอเรีย (Listeria) โดยเฉพาะ ในความเป็นจริงแล้วคุณแม่ตั้งครรภภ์มีแนวโน้มที่จะได้รับเชื้อลิสเตอเรียสูงกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า ซึ่งแบคทีเรียนี้สามารถพบได้ในดิน น้ำ และพืชที่มีการปนเปื้อน ปลาดิบอาจติดเชื้อได้ในระหว่างการแปรรูป

เชื้อลิเตอเรีย สามารถส่งผ่านไปยังทารกในครรภ์ผ่านรกได้ แม้ว่าคุณแม่อาจจะไม่แสดงอาการเจ็บป่วยก็ตาม เมื่อติดเชื้อแล้วมันจะส่งผลทำให้คุณแม่คลอดก่อนกำหนด การแท้งลูก การคลอดลูก และปัญหาสุขภาพอื่นๆ ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์จึงควรหลีกเลี่ยงปลาดิบและหอย รวมถึงอาหารจำพวกซูชิต่างๆ ด้วย

เนยแข็งที่ทำจากนมที่มีความเข้มข้นของครีมสูง (Soft Cheese)

การบริโภคเนยแข็งที่ทำจากนมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ สามารถส่งผลอันตรายถึงชีวิตและลูกน้อยได้เลยทีเดียว ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดก็คือการหลีกเลี่ยงการบริโภคเนยแข็งชนิดนี้ แต่หากจำเป็นจะต้องบริโภค ควรต้องปรุงให้สุกอย่างมั่วถึง และควรให้มันได้รับความร้อนอยู่ตลอดเวลา

เนื้อสัตว์ที่ไม่สุก

ช่วงเวลาตั้งครรภ์ควรเลือกทานเนื้อที่ปรุงสุกอย่างเต็มที่จะเป็นการดีที่สุด เนื่องจากเนื้อดิบหรือเนื้อที่ปรุงไม่สุกอาจจะมีแบคทีเรียแฝงตัวอยู่ และเมื่อต้องออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ต้องแน่ใจว่าเนื้อที่คุณกำลังจะรับประทานกำลังร้อนและสุกอย่างทั่วถึง

น้ำผลไม้สด

น้ำผลไม้คั้นสดในร้านอาหาร อาจไม่ได้รับการฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันแบคทีเรียที่เป็นอันตราย ดังนั้น ควรจะต้องมองหาป้ายเตือนที่จำเป็นและหลีกเลี่ยง นอกจากนั้น หญิงตั้งครรภ์ควรเลือกดื่มน้ำผลไม้ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว อย่างเช่น น้ำผลไม้ที่อยู่ในกล่อง หรือบรรจุในขวดที่มีการปิดมิดชิด

ไข่ดิบ

ไข่ดิบสามารถปนเปื้อนไปด้วยเชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella) ส่งผลทำให้เกิดอาการเป็นไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และท้องร่วง ในบางกรณีการติดเชื้ออาจทำให้เกิดตะคริวในมดลูก ซึ่งนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนด สำหรับอาหารที่มีไข่ดิบ ได้แก่

  • ไข่ลวก
  • มายองเนสทำเอง
  • น้ำสลัด
  • ไอศกรีมทำเอง

หากไข่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ถือว่าปลอดภัยสามารถบริโภคได้ อย่างไรก็ตามคุณควรอ่านฉลาก เพื่อให้แน่ใจอยู่เสมอ

อวัยวะของสัตว์ (Organ meats) 

อวัยวะของสัตว์นั้นเป็นแหล่งของสารอาหารหลายชนิด รวมถึงเหล็ก วิตามินบี 12 วิตามินเอ และทองแดง ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่หญิงตั้งครรภ์รวมถึงเด็กในครรภ์ควรได้รับ อย่างไรก็ตามการรับประทานวิตามินเอจากสัตว์มากเกินไประหว่างตั้งครรภ์ ถือเป็นเรื่องที่ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากวิตามินเออาจทำให้เกิดความเป็นพิษในครรภ์ได้ นอกจากนั้นการบริโภคทองแดงที่มากเกินไป อาจทำให้ทองแดงในร่างกายสูงผิดปกติ ส่งผลทำให้เกิดข้อบกพร่องและความเป็นพิษต่อตับ ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรทานอวัยวะของสัตว์มากกว่าสัปดาห์ละครั้ง

แป้งทำคุกกี้ที่ยังดิบ

เมื่อคุณกำลังอบคุกกี้ คุณอาจจะต้องมีการใส่แป้งดิบลงไปในปริมาณเล็กน้อย ซึ่งถ้าแป้งมีส่วนผสมของไข่ดิบ มันอาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella) ได้ เพื่อความปลอดภัยคุณไม่ควรชิมแป้งคุกกี้ที่ยังดิบ หรือยังไม่ได้อบ จะเป็นการดีที่สุด

คาเฟอีน

คาเฟอีน เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์ควรจำกัดปรอมาณคาเฟอีนให้น้อยกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ 2-3 แก้ว เนื่องจากคาเฟอีนสามรถถูกดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังสามารถถูกส่งผ่านรกไปยังทารกในครรภ์ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งมันอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และเพิ่มความเสี่ยงต่อน้ำหนักแรกเกิดที่ต่ำอีกด้วย เมื่อเด็กทารกมีน้ำหนักแรกเกิดที่ต่ำ ก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตของทารกได้ด้วย

ขนมทีรามิสุที่ทำเอง (Homemade Tiramisu)

เนื่องจากทีรามิสุ รวมถึงของหวานอื่นๆ ที่ทำขึ้นด้วยตัวเอง มักจะมีไข่ดิบเป็นส่วนผสม ซึ่งไม่เหมาะกับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ดังนั้น หากอยากบริโภคของหวานเหล่านี้ หารไปซื้อจากร้านค้าจะเป็นวิธีที่ปลอดภัยมากที่สุด แต่ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า ในฉลากได้ระบุเอาไว้ว่า ผ่านการฆ่าเชื้อ แล้ว

นมดิบและชีสที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ

นมดิบและชีสที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ อาจจะมีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายแฝงอยู่มากมาย เช่น เชื้อลิสเตอเรีย (Listeria) เชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella) เชื้ออีโคไล (E. coli) และเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter) การติดเชื้อเหล่านี้อาจส่งผลต่อชีวิตของทารกในครรภ์ได้ การฆ่าเชื้อเหล่านี้ด้วยความร้อนถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของหญิงตั้งครรภ์ ควรบริโภคนมและชีสที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วเท่านั้น

แอลกอฮอล์

หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร และการคลอดบุตร แม้จะดื่มแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อยก็ส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์ด้วย นอกจากนี้ มันยังมีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของใบหน้า ข้อบกพร่องของหัวใจ และความบกพร่องทางสติปัญญาของทารกในครรภ์อีกด้วย

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

บทความที่เกี่ยวข้อง