ตกขาวเกิดจากอะไร !! น้องสาวมี "ตกขาว" ปกติหรือป่วยกันนะ ❓
เรื่องของน้องสาวในจุดซ่อนเร้น อาจเป็นปัญหาคาใจของผู้หญิงหลาย ๆ คน โดยเมื่อมีความรู้สึกว่าผิดปกติ อย่างเช่นมีตกขาวมาก สาว ๆ อาจเลือกที่จะปรึกษาคนในครอบครัวเป็นอันดับแรก แต่จริงๆ แล้วเรื่องของน้องสาวในจุดซ่อนเร้น อาจต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญช่วยวินิจฉัยจะดีกว่า ซึ่งถ้าสาวๆ สามารถปรึกษาแพทย์ได้จากทุกที่ ในวันเวลาที่สะดวก ผ่านทางออนไลน์ และสามารถปรึกษาได้อย่างเป็นส่วนตัว ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเลยใช่ไหมล่ะคะ?
📲 แอปฯ หมอดี ขอเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ให้สาว ๆ ได้ปรึกษาหมอได้แบบเป็นส่วนตัว โดยไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล และสำหรับใครที่เขินมาก ก็ยังสามารถเลือกแชตหรือโทรคุยกับหมอแบบไม่เห็นหน้าได้ด้วย ส่วนเรื่องการจ่ายยาก็ไม่ต้องห่วง เพราะหมอสามารถออกใบสั่งยา ให้เราสั่งซื้อยาผ่านแอปฯ ได้เลย แล้วมีบริการจัดส่งยาให้ถึงบ้าน เรียกได้ว่าตอบโจทย์ผู้หญิงสุด ๆ
และเพราะเรื่อง “ตกขาว” เป็นเรื่องที่สาวๆ ควรทำความเข้าใจ วันนี้ แอปฯ หมอดีเลยขอนำเสนอสาระสุขภาพน่ารู้จาก พญ.ชมพูนุท คงสวัสดิ์วรกุล แพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งนรีเวช บนแอปฯ หมอดี ไว้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ให้สาวๆ ได้ดูแลและคอยสังเกตอาการของตัวเองกันนะคะ
ข้อควรรู้ในเบื้องต้นเกี่ยวกับตกขาว
คุณหมอแนะนำให้สังเกตลักษณะสี และปริมาณของตกขาวที่มีในแต่ละวัน ซึ่งตกขาวในแต่ละวันอาจเปลี่ยนแปลงไปตามความสัมพันธ์ของประจำเดือนและการตกไข่ เพราะในแต่ละช่วงของเดือนจะมีฮอร์โมนที่ต่างกันไป
✅ ตกขาวแบบธรรมดา - จะมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปตามรอบประจำเดือน โดยขึ้นอยู่กับปริมาณของฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน
ถ้าเป็นในช่วงกึ่งกลางรอบเดือน ตกขาวจะมีลักษณะเป็นมูกเหลวใส ไม่มีสี
แต่ถ้าเป็นในช่วงก่อน หรือหลังมีประจำเดือน ตกขาวจะเป็นสีขาวข้น มีปริมาณเล็กน้อยพอชุ่มชื้นในช่องคลอด อาจมีกลิ่นบ้าง(แต่ไม่เหม็นรุนแรง) ตามลักษณะของกลิ่นตัวเฉพาะบุคคล
👌 ตกขาวแบบที่มาปกติ จะไม่มีกลิ่นรุนแรงหรือเหม็นมาก ไม่มีอาการคัน ส่วนปริมาณของตกขาวนั้นจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน
รู้ได้อย่างไรว่าตกขาวผิดปกติ❓
⚠ ตกขาวที่ผิดปกติ อาจมีปริมาณมาก เป็นก้อน หรือมีสีที่ต่างไปจากเดิม เช่น สีเหลืองหรือสีเขียว มาพร้อมกับกลิ่นไม่พึงประสงค์ รวมไปถึงมีอาการแสบช่องคลอด ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายเริ่มมีบางสิ่งเปลี่ยนไป
ปัจจัยที่ทำให้มีตกขาวมาก แต่ไม่ถือว่าร้ายแรง ได้แก่ การตั้งครรภ์ หรือหลังการมีเพศสัมพันธ์ และการใช้ยาคุมกำเนิด
⚠ กรณีที่ตกขาวมีปริมาณมากผิดปกติ และยังมาบ่อยเกินไป ไม่ควรมองข้าม เพราะอาการดังกล่าว อาจส่งผลให้ปีกมดลูกเกิดการอักเสบ ท่อนำไข่ตัน เกิดภาวะมีบุตรยาก เพิ่มความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์นอกมดลูกสูงขึ้น หรือเป็นไปได้ว่าอาจมีก้อนฝีหนอง ในอุ้งเชิงกรานได้
นอกจากนี้ การติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ อาจมีผลทำให้ตกขาวผิดปกติได้เช่นกัน ซึ่งความผิดปกติดังกล่าว จะปรากฏในรูปแบบของตกขาวที่มีสีเปลี่ยนไป
ตกขาวที่มีสีเปลี่ยนไป บอกอะไรเราบ้าง ❓
- ตกขาวสีเทา หรือเทาอ่อน
ตกขาวสีเทาส่วนใหญ่จะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจากการมีเพศสัมพันธ์ การใช้ยาสวนช่องคลอด หรือการรับยาปฏิชีวนะต่อเนื่องเป็นเวลานาน และมักมาพร้อมกับกลิ่นเหม็นอับหรือกลิ่นคาว - ตกขาวสีขาวขุ่นผิดปกติหรือมีสีเหลืองอ่อน
ตกขาวสีนี้มักเกิดจากปัญหาเชื้อราในช่องคลอด มีลักษณะเป็นก้อนและมีสีที่ขุ่นผิดปกติ มาพร้อมกลิ่นเหม็นและอาการคันอาจเกิดร่วมกับอาการปัสสาวะขัดและอาการแสบช่องคลอด - ตกขาวสีเหลืองเข้ม
หากมาพร้อมกลิ่นคาวและอาการคัน ปัสสาวะขัด บ่งบอกถึงการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเกิดจากเชื้อไวรัส - ตกขาวสีเขียว หรือเหลืองปนเขียว
มักเกิดจากติดเชื้อจากแบคทีเรีย หรือการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ และมักจะมาพร้อมกลิ่นคาวและอาการคัน
- ตกขาวแบบมีเลือดปนหรือมีสีน้ำตาล
ตกขาวชนิดนี้อาจมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ร่วมด้วย อาจเกิดหลังการมีประจำเดือน(กรณีนี้ถือว่าปกติ) นอกจากนี้อาจเป็นไปได้ว่าจะเกิดจากการติดเชื้อที่ปากมดลูก หรือมีเลือดออกจากการตกไข่ - ตกขาวแบบมีฟอง
มักมาพร้อมอาการระคายเคือง คัน ตอนปัสสาวะจะรู้สึกแสบช่องคลอด อาจเกิดจากการติดเชื้อทริโคโมนาสในช่องคลอดที่สามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ - ตกขาวสีชมพู หรือสีชมพูจางๆ
มักพบในผู้หญิงที่พึ่งคลอดลูกและอาจเกิดได้จากการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก
⚠ หากตกขาวมีสีเปลี่ยนไป มีกลิ่นเหม็นรุนแรง หรือมีอาการเจ็บ แสบ คัน ร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์ทันที
👉👉 อ่านสาระสุขภาพจากแอปฯ หมอดี เพิ่มเติม คลิก >> https://mordeeapp.com/th/article
⚠ ถ้าสาวๆ มีข้อสงสัยเกี่ยวกับตกขาว หรือพบว่าตกขาวมีความผิดปกติ
👩⚕ สามารถปรึกษา แพทย์แผนกสุขภาพผู้หญิง ในแอปฯ หมอดี ได้ง่ายๆ เพียงทำ 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/6grJOklEqpb จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา แล้วเลือก แผนกสุขภาพผู้หญิง
3. เลือกแพทย์ที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้
บทความที่คุณอาจสนใจ
- เกา (แก้) ให้ถูกที่ “คันน้องสาว” เสี่ยงโรคอะไรบ้าง หลีกเลี่ยงอย่างไรดี
- สีประจำเดือน บอกโรค สีไหนปกติ? สีไหนควรปรึกษาแพทย์ ?
- มีตุ่มน่าสงสัย ขึ้นที่น้องสาว จุดซ่อนเร้น จัดการอย่างไรดี?