รีเซต

โรคฝีดาษลิงคืออะไร รู้ทัน สาเหตุ อาการ พร้อมวิธีป้องกันโรคฝีดาษลิง

โรคฝีดาษลิงคืออะไร รู้ทัน สาเหตุ อาการ พร้อมวิธีป้องกันโรคฝีดาษลิง
หมอดี
12 สิงหาคม 2565 ( 10:45 )
537
โรคฝีดาษลิงคืออะไร รู้ทัน สาเหตุ อาการ พร้อมวิธีป้องกันโรคฝีดาษลิง

     ⚠  โรคฝีดาษลิง พบผู้ป่วยในไทยแล้ว และล่าสุด WHO ก็ได้ออกมาเตือนให้ระวังเรื่องการแพร่ระบาด แต่ถึงการระบาดของโรคนี้จะกำลังเป็นที่น่ากังวล ทุกคนก็อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะว่าเราสามารถป้องกันได้ โรคนี้อาจไม่อันตรายมากอย่างที่คิด รวมถึงการติดเชื้อนั้นก็ไม่ง่ายนัก

     ถ้าคุณอยากรู้ทันโรคฝีดาษลิง ทราบที่มา สาเหตุของโรค อาการ และการป้องกันอย่างถูกวิธี วันนี้แอปฯ หมอดี สรุปสาระน่ารู้สั้นๆ เกี่ยวกับโรคฝีดาษลิง โดย นพ.สกานต์ เจริญสกุลไชย แพทย์เวชปฏิบัติ​ทั่วไป ประจำแอปฯ หมอดี มาฝากกัน พร้อมให้คุณกระจ่างชัด ภายใน 5 นาที

 

 

🐵 การแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิง

     โรคนี้เดิมเป็นโรคประจำถิ่นทางตอนกลางและตะวันตกของทวีปแอฟริกา เคยระบาดมาแล้วมากกว่า 20 ปี เกิดจากเชื้อไวรัส Poxviridae

     สำหรับเชื้อไวรัสฝีดาษลิง จะพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ 🐀 รวมถึงมนุษย์เองก็สามารถติดโรคนี้ได้ โดยการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน การประกอบอาหารจากเนื้อสัตว์ป่า หรือรับประทานเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ หรืออาจติดทางอ้อมจากการสัมผัสที่นอนของสัตว์ป่วย

     🦠  การแพร่เชื้อจากคนสู่คนแม้มีโอกาสน้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่ง รวมถึงการสัมผัสกันโดยตรงระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ และสามารถติดต่อผ่านทางเดินหายใจ ซึ่งปัจจุบันมีการแพร่ระบาดในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะโซนยุโรป อเมริกา แคนาดา อิสราเอล และออสเตรเลีย ทำให้หลายคนเริ่มเป็นกังวลเกี่ยวกับโรคนี้

     ⁉  สิ่งที่น่ากังวลของการระบาดโรคฝีดาษลิงสำหรับคนไทย คือ การเดินทางท่องเที่ยวไปยังประเทศที่มีผู้ติดเชื้อ หรือการเดินทางมาเที่ยวในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดโรคฝีดาษลิงมาก รวมถึงการนำสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสัตว์ต่างถิ่นเข้ามาโดยไม่รู้ที่มามาเลี้ยง เพราะถึงแม้สัตว์จะเป็นพาหะนำโรค แต่อาการของสัตว์จะไม่แสดงออกชัดเจน ทำให้เราไม่รู้ว่าสัตว์นั้นมีโรคหรือเปล่า และทำให้เราติดโรคจากสัตว์ได้ในที่สุด

 

 

อาการของโรคฝีดาษลิง แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่

  • ระยะที่ 1       : ระยะฟักตัว ไม่แสดงอาการช่วง 5 – 21 วันหลังได้รับเชื้อ
  • ระยะที่ 2       : มีไข้ 1-4 วัน มีอาการปวดหัว เจ็บคอ หนาวสั่น อ่อนเพลีย และต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย
  • ระยะที่ 3       : จะเริ่มจากผื่นแบน ผื่นนูน ผื่นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใสหรือตุ่มหนอง จนกระทั่ง ตุ่มหนองจะกลายเป็นสะเก็ดและหลุดออกมา  ทั้งนี้ในการระบาดครั้งปัจจุบัน มักพบผื่นที่บริเวณอวัยวะเพศมาก จึงมักทำให้สับสนกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ และผื่นมักขึ้นแค่ 1 จุดก่อนที่จะกระจายไปสู่ส่วนอื่นๆของร่างกาย
  • ระยะที่ 4       : ระยะฟื้นตัว โดยรวมจะมีอาการป่วยอยู่ประมาณ 2-4 สัปดาห์ด้วยกัน และผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะหายได้เอง

(กลุ่มที่มีอาการรุนแรงมักพบในกลุ่มเด็ก ซึ่งในประเทศแอฟริกาพบอัตราการเสียชีวิตคิดเป็น 10% จากโรคนี้)

 

 

การป้องกันโรคฝีดาษลิง

  1. ไม่สัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ป่าหรือสัตว์หรือคนที่สงสัยว่าอาจติดเชื้อ
  2. งดกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก
  3. หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์ เมื่อสัมผัสกับสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อให้ล้างมือทันที
  4. การใส่หน้ากากอนามัยสามารถลดการได้รับละอองทางเดินหายใจจากผู้ติดเชื้อได้
  5. ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยง หรือเลี้ยงสัตว์ที่นำเข้าจากต่างประเทศโดยไม่มีการคัดกรองโรค
  6. กรณีมีการเดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตติดโรค ต้องทำการคัดกรองและเฝ้าระวังอาการจนครบ 21 วัน หากมีอาการเจ็บป่วยให้รีบไปพบแพทย์ทันที

     ทั้งนี้ วัคซีนฝีดาษ มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคถึง 85% แต่ยังไม่มีการนำมาใช้ในประเทศไทย ผู้ที่เคยได้รับการปลูกฝีมาแล้ว (ก่อนปี พ.ศ. 2523) จะมีภูมิคุ้มกันป้องกันโรคฝีดาษลิง

 

 

     🩺  หากคุณมีประวัติเสี่ยง และเริ่มมีอาการไข้ ปวดหัว มีผื่น หรือตุ่มหนอง ปรึกษาหมอโดยเร็วจะดีที่สุด โดยสามารถโหลดแอปฯ หมอดี 👩‍🔬 เพื่อนัดหมายเข้าปรึกษา นพ.สกานต์ เจริญสกุลไชย แพทย์เวชปฏิบัติ​ทั่วไป ประจำแอปฯ หมอดี ได้ง่าย ๆ ใน 5 ขั้นตอน ดังนี้

  1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/6grJOklEqpb จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
  2. 2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ พิมพ์ชื่อแพทย์ สกานต์ เจริญสกุลไชย ในแถบค้นหา
  3. ทำนัดหมายกับ นพ.สกานต์ เจริญสกุลไชย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
  4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
  5. รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

💬 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
สัมผัสโลกไร้ขีดจำกัดกับทรูไอดี