ภาวะเลือดเป็นกรดคืออะไร รู้ทันสาเหตุ พร้อมวิธีป้องกันภาวะเลือดเป็นกรด
ภาวะเลือดเป็นกรด โรคที่มองไม่เห็น แต่ก็ไม่ควรมองข้าม! จากกรณีที่ มด เอ็นดู วงษ์คำเหลา ภรรยาของ หม่ำ จ๊กมก เข้าโรงพยาบาลและพบว่าตนเองป่วยด้วยภาวะเลือดเป็นกรดนั้น วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคที่มองไม่เห็น แต่ก็มีอันตรายไม่น้อยไปกว่าโรคอื่นๆ อย่าง ภาวะเป็นกรด กันค่ะ
ภาวะเลือดเป็นกรดคืออะไร
ภาวะเลือดเป็นกรด หรือ DKA (Diabetic Ketoacidosis) คือภาวะที่ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนแปลงน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานได้ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ และร่างกายจะเปลี่ยนไขมันเป็นพลังงานทดแทน ซึ่งในกระบวนการนี้จะทำให้มีการหลังสารคีโตนออกมา เมื่อคีโตนสะสมมากๆ ก็จะทำให้เลือดเป็นกรด ทั้งนี้หากวัดค่าพีเอช (pH) ของเลือดได้ต่ำกว่า 7.35 ลงมาจะจัดว่าร่างกายมีภาวะเลือดเป็นกรด โดยภาวะเลือดเป็นกรดนี้มักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยเบาหวาน ประเภทที่ 1 ที่ฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ หรือผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลินนั่นเอง
ความเป็นกรดด่างของเลือดปกติคือเท่าไหร่
ความเป็นกรดด่างของเลือด ปกติจะมี pH เป็นกลาง ค่อนข้างเอนไปทางด่างเล็กน้อยคือที่ pH 7.4 ซึ่งร่างกายจะควบคุมระดับความเป็นกรดด่างอย่างเข้มงวด ให้อยู่ในค่าปกติที่ pH 7.35 – 7.45 โดยการขับกรดและด่างส่วนเกินออกไปทางไตและทางการหายใจ
สาเหตุของภาวะเลือดเป็นกรด
สาเหตุของภาวะเลือดเป็นกรดนั้นเกิดได้ทั้งจากระบบการเผาผลาญ และระบบการหายใจ
- สาเหตุจากระบบการเผาผลาญ : เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนแปลงน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานได้ และเกิดการเผาผลาญไขมันทดแทน ทำให้มีการหลั่งของสารคีโตนออกมามากเกินไป เมื่อสะสมมากๆ ก็กลายเป็นกรดในเลือด
- สาเหตุจากระบบการหายใจ : เกิดจากการที่ปอดไม่สามารถกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกทางการหายใจได้เพียงพอ จึงเกิดการสะสมของก๊าซภายในร่างกายเป็นจำนวนมากจนทำให้เลือดมีความเป็นกรดมากกว่าปกติ
อาการของภาวะเลือดเป็นกรด
- หัวใจเต้นเร็วขึ้น
- หอบเหนื่อย
- ปวดศีรษะ
- อ่อนเพลีย
- คลื่นไส้ อาเจียน
- เบื่ออาหาร
- สับสน งุนงง
วิธีป้องกันภาวะเลือดเป็นกรด
- กินอาหารที่เป็นด่าง (อัลคาไลน์) มากขึ้นเพื่อให้ร่างกายทำงานดีขึ้น เนื่องจากการกินอาหารตามโภชนาการที่ถูกต้องนั้นร่างกายจะต้องได้รับอาหารที่เป็นทั้งกรดและด่าง โดยจะต้องมีอาหารที่เป็นด่าง (อัลคาไลน์) 75% และกรด (อะซิติก) 25% ของปริมาณอาหารทั้งหมดในแต่ละมื้อ
- ออกกำลังกายให้เหมาะสม ไม่หักโหมจนเกินไป เพราะการออกกำลังกายที่เหมาะสมจะทำให้สภาพร่างกายของเราอยู่ในสภาพที่เ็นด่าง แต่หากมีการออกกำลังกายที่หักโหมเกินไปจะทำให้การหายใจระดับเซลล์บกพร่องจนค่า pH ต่ำลง และเกิดภาวะเลือดเป็นกรดได้
- ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติเสมอ ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ และติดตามการรักษาสม่ำเสมอซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเพิ่มของสารคีโตนในเลือด
- ผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลิน ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น อาเจียน หัวใจเต้นเร็วขึ้น หอบเหนื่อย ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที
ขอบคุณข้อมูลจาก :
บทความที่คุณอาจสนใจ