รีเซต

3 วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุนและกระดูกหัก สำหรับผู้สูงอายุ

3 วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุนและกระดูกหัก สำหรับผู้สูงอายุ
Beau_Monde
25 พฤศจิกายน 2564 ( 13:35 )
373

     โรคกระดูกพรุน คือ โรคที่เนื้อกระดูกมีการสลายอย่างต่อเนื่องจนทำให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลง โดยเฉพาะผู้หญิงที่อายุมาก ก็จะเสี่งกับโรคกระดูกพรุนได้ง่าย เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายลดลง ส่งผลทำให้กระดูกบางและกลายเป็นโรคกระดูกพรุนได้ ซึ่งโรคกระดูกพรุนจะทำให้กระดูกเปราะแตกหักง่ายหรือกระดูกโค้งงอผิดรูป ซึ่งกว่าเราจะรู้ตัวก็ต่อเมื่อเกิดอาการขึ้นแล้ว 

     ในบางครั้งกระดูกที่บางและเปราะอาจจะไปเป็นในส่วนที่อันตราย เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก แบบนี้ก็อาจจะทำใหเราต้องผ่าตัดกันเลยทีเดียว ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุน จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดค่ะ วันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่า 3 วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุน จะต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ

 

 

3 วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุน

 

1. ออกกำลังกาย

     การออกกำลังสามารถทำให้มวลกระดูกแข็งแรงได้ค่ะ เช่น การเต้นรำ เดินเร็ว การวิ่งเหยาะ ๆ การรำไทเก็ก รำมวยจีน โยคะ แอโรบิค การออกกำลังกายในลักษณะของการลงน้ำหนักนี้สามารถช่วยให้ผู้สูงอายุทรงตัวได้ดี และยังส่งผลให้กระดูกแข็งแรงขึ้นได้ ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงกับการเป็นโรคกระดูกพรุนได้ค่ะ

 

2. การกินแคลเซียม

     อย่างที่รู้กันว่าการกินแคลเซียมนั้นสามารถช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงได้ ดังนั้นเราจึงควรกินอาหารที่มีแคลเซียมเป็นกระจำค่ะ โดยอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม ปลาตัวเล็กตัวน้อย ผักใบเขียว กุ้งแห้ง เต้าหู้แข็ง งาดำ นอกจากการกินแคลเซียมแล้วเราก็ยังควรรับวิตามินดีเพิ่มด้วย เพราะวิตามินดีสามารถช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้นค่ะ ซึ่งการเพิ่มวิตามินดีให้กับร่างกายได้ ก็คือการออกมารับแสงแดดอ่อน ๆ ช่วงเช้าประมาณ 15 - 20 นาทีก็ได้ค่ะ

 

3. เลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดภาวะกระดูกพรุน

     พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้ก็อย่างเช่น การดื่มน้ำอัดลม เพราะในน้ำอัดลมมีกรดฟอสฟอริก ซึ่งทำให้เกิดการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกได้ การดื่มแอลกอฮอล์เพราะแอลกอฮอล์จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมของลำไส้เล็ก รวมถึงการดื่มกาแฟก็เช่นเดียว โดยเราไม่ควรดื่มเกิน 2 - 3 แก้วต่อวัน นอกจากนี้การสูบบุหรี่ก็ควรหลีกเลี่ยงด้วย เพราะกระตุ้นให้เกิดการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกได้ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้หากทำเป็นประจำอย่างต่อเนื่องก็สามารถทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ค่ะ 

 

 

อ้างอิง

 

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิประโยชน์แนะนำ

แท็กยอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
สัมผัสโลกไร้ขีดจำกัดกับทรูไอดี