รีเซต

หมดไฟ (BurnOut) และ หมดใจ (BrownOut) ต่างกันยังไง❓ ปล่อยไว้ เสี่ยงป่วยกาย ใจพัง❗

หมดไฟ (BurnOut) และ หมดใจ (BrownOut) ต่างกันยังไง❓ ปล่อยไว้ เสี่ยงป่วยกาย ใจพัง❗
หมอดี
20 กันยายน 2567 ( 10:45 )
83
หมดไฟ (BurnOut) และ หมดใจ (BrownOut) ต่างกันยังไง❓ ปล่อยไว้ เสี่ยงป่วยกาย ใจพัง❗

     นอกจากภาวะหมดไฟ หรือ BurnOut  ที่พบได้บ่อยในวัยทำงานแล้ว ปัจจุบัน ยังมีภาวะหมดใจ หรือ BrownOut เป็นภัยเงียบใหม่ที่น่ากลัวไม่แพ้กัน แล้วทั้ง 2 ภาวะนี้ต่างกันยังไง? คุณฉันท์ธนิตถ์ สิมะวรางกูร  นักจิตวิทยาการให้คำปรึกษา (Counseling Psychology) จากแอปฯ หมอดี ได้สรุปไว้ที่นี่แล้ว 

 

ต้นตอของภาวะหมดไฟ (BurnOut) และ หมดใจ (BrownOut)

🔥หมดไฟ - การงานที่เหน็ดเหนื่อย ภาระงานล้นมือ แบกรับความเครียดต่างๆ จากที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง  
💔หมดใจ - วัฒนธรรมองค์กรที่เข้มงวดเกินไป ผิดหวังกับเจ้านาย กฏการทำงานที่เคร่งเครียด 
งานที่รับผิดชอบเป็นงานที่ขาดคุณค่าและความหมาย ไม่ได้รับการมองเห็นคุณค่า ทำให้เกิดความรู้สึกด้านลบขี้น

 

ระยะเวลาที่เป็น

🔥หมดไฟ - มักมีอาการเป็นระยะสั้น ๆ เมื่อได้พักอย่างเหมาะสมจะดีขึ้น
💔หมดใจ -  มักมีอาการระยะยาว ค่อย ๆ สะสมในใจ จนสุดท้ายเลือกที่จะก้าวออกไปในที่สุด

 

อาการหมดไฟ (BurnOut) และ หมดใจ (BrownOut)

🔥หมดไฟ

- หมดแรง หมดความกระตือรือร้น หมดความมั่นใจ
- ทำงานแย่ลง โฟกัสงานไม่ได้
- เครียด หมดแรง อ่อนเพลีย
- นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก 
- วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย 

 

💔หมดใจ

- ทำงานได้เหมือนเดิม แต่ไร้ชีวิตชีวา แรงจูงใจในการทำงานลดลงอย่างรวดเร็ว หมดความสนใจต่องาน
- มีทัศนะคติเชิงลบต่อการทำงานเพิ่มขึ้น ขาดความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน
- สนใจคนรอบตัวน้อยลง ความเห็นใจผู้อื่นลดลง 
- เหนื่อยใจกับองค์กร เบื่อเพื่อนร่วมงาน
- ลางาน ขาดงานบ่อย พร้อมลาออกทุกเมื่อ

 

 

     👩‍⚕️ หากพบว่าตัวเอง เข้าข่ายภาวะหมดไฟ หรือภาวะหมดใจ อย่าเก็บไว้คนเดียว แนะนำให้พูดคุยกับจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัด เพื่อช่วยรับฟัง และให้คำแนะนำ เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้ นอกจากจิตใจจะค่อย ๆ พังทลาย เสี่ยงต่อการกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้แล้ว ยังอาจส่งผลให้ร่างกายป่วยง่าย  เกิดปัญหาสุขภาพเรื้อรังมากมายตามมาได้อีกด้วย

     💚 แต่ถ้ายังไม่สะดวกไปโรงพยาบาล พบทางเลือกใหม่!  พูดคุย ระบายความในใจกับจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัดผ่านแอปฯ หมอดี ได้ง่าย ๆ  แบบเป็นส่วนตัว  นัดสะดวก ไม่ต้องรอคิวนาน พร้อมมีบริการจัดส่งยาถึงบ้าน

 

📲 5 ขั้นตอน ในการใช้แอปฯ หมอดี เพื่อปรึกษาจิตแพทย์ หรือ นักจิตบำบัด
1. ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/6grJOklEqpb  จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2. ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา เลือกแผนก “จิตเวช” หากต้องการพบจิตแพทย์และรับยา หรือเลือกแผนก “สุขภาพใจ” หากต้องการปรึกษานักจิตบำบัดเรื่องภาวะหมดไฟ หรือภาวะหมดใจ
3. เลือกจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัดที่ต้องการปรึกษา แล้วทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี) 
4. เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษา เมื่อถึงเวลานัดหมาย
5. รอสรุปผลการปรึกษา พร้อมใบสั่งยาจากแพทย์ (หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้

💬 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp

👉👉 อ่านสาระสุขภาพจากแอปฯ หมอดี เพิ่มเติม คลิก >> https://mordeeapp.com/th/article

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
ดาวน์โหลด ทรูไอดีแอป
สัมผัสโลกไร้ขีดจำกัดกับทรูไอดี