5 วิธีรักษาแผลเป็น บรรเทาลงได้ ไม่เป็นคีลอยด์
แผลเป็น คือแผลที่สร้างรอยตำหนิบนผิวหนัง ซึ่งในบางคนมีรอยแผลเป็นขนาดใหญ่จนกระทบกับความมั่นใจได้ค่ะ ซึ่งนอกจากจะสร้างความไม่มั่นใจและความไม่สวยงามบนผิวหนังให้เราได้แล้ว แผลเป็นบางชนิดยังมีอาการคัน ระคายเคือง ทำให้เรารู้สึกเจ็บและมีรอยแดง และก่อให้เกิดความรำคาญได้ ด้วยเหตุนี้เราจึงควรหา วิธีรักษาแผลเป็น เพื่อให้อาการเหล่านี้บรรเทาลงไปได้ค่ะ
แผลเป็นนูนหรือที่เราเรียกกันว่า คีลอยด์ คือแผลเป็นที่มีผิวแตกต่างจากผิวปกติ มีรอยนูน มีสีแตกต่างจากผิวโดยรอบอย่างชัดเจน ซึ่งแผลเป็นคีลอยด์นี้ทำให้สังเกตเห็นได้ง่ายในกรณีที่เกิดบนผิวหนังนอกร่มผ้า แต่นอกจากแผลเป็นแบบคีลอยด์แล้ว เรายังสามารถแบ่งประเภทของแผลเป็นออกได้อีก 3 ประเภทใหญ่ๆ ค่ะ ซึ่งเมื่อเรารู้ประเภทของแผลเป็นแล้ว ก็จะได้หา วิธีรักษาแผลเป็น ได้อย่างตรงจุดและถูกวิธีค่ะ
ประเภทของแผลเป็น
โดยปกติแล้ว เราสามารถแบ่งชนิดของแผลเป็นออกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้ค่ะ
- แผลเป็นนูน คือแผลเป็นทีโตขึ้นมาจากผิวหนัง เช่น แผลเป็นแบบคีลอยด์ ซึ่งเมื่อเริ่มแรกแผลเป็นแบบคีลอยด์นี้จะสร้างรอยแดงและความคีชันได้ค่ะ
- แผลเป็นลึกและบุ๋ม แผลเป็นชนิดนี้จะสร้างร่องลึกลงในผิว
- แผลเป็นแบบหดรั้ง แผลเป็นแบบนี้จะทำให้ผิวหนังโดยรอบเหมือนถูกดึงเข้าหารอยแผลเป็น และมีโอกาสทำให้ผิวหนังผิดรูป
วิธีการรักษาแผลเป็น
ซึ่งเมื่อเราทราบลักษณะของแผลเป็นคร่าวๆ แล้ว ก็ได้เวลามาหาทางรักษากันค่ะ ซึ่งวิธีการรักษาแผลเป็นสามารถทำได้ด้วยตัวเองก่อน วิธีการมีดังนี้ค่ะ
1. ปิดด้วยแผ่นซิลิโคน
แผ่นซิลิโคนเจล สามารถช่วยลดอาการอักเสบของแผล และทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นขึ้นค่ะ โดยหลังจากที่แผลหายดีแล้ว ให้เราปิดแผ่นซิลิโคนเจลไว้ประมาณ 3 เดือน
2. ใช้แผ่นเทป microporous tape
microporous tape เป็นเทปเหนียวเพื่อใช้ปิดแผลเป็น เทปลักษณะนี้จะสามารถห้ความชุ่มชื้นกับผิวหนังได้และช่วยลดอาการอักเสบของแผลได้ด้วยค่ะ
3. ใช้ผลิตภัณฑ์รักษาแผลเป็น
ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจจะเป็นครีมสำหรับทาแผลเป็นคีลอยด์และแผลเป็นจากการผ่าตัด ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปค่ะ ครีมชนิดนี้สามารถทาได้ตั้งแต่แผลเริ่มหายสนิทดีและแผลเป็นใหม่ที่เกิดในช่วง 1 - 3 เดือนแรก ครีมสำหรับทาแผลเป็นจะเข้าไปทำหน้าที่เหมือนฟิล์มใสเคลือบบริเวณแผลเป็นของเราไว้ และจะทำหน้าที่ช่วยฟื้นฟูซ่อมแซมผิวเนื่องจากครีมประเภทนี้จะใส่สารบำรุงผิวไว้ด้วย เช่น วิตามินอีและซี สารสกัดจากธรรมชาติ จึงทำให้สามารถคืนความชุ่มชื้นให้ผิวและสมานแผลได้ด้วยค่ะ
4. ฉีดยาสเตียรอยด์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะใช้วิธีฉีดยาสเตียรอยด์เพื่อช่วยลดการเกิดแผลเป็นแบบคีลอยด์ ซึ่งวิธีการนี้เหมาะกับแผลเป็นที่เป็นมาแล้วไม่เกิน 1 ปี โดยจำนวนในการฉีดยาสเตียรอยด์นี้แพทย์จะเป็นผู้กำหนดความถี่ในการฉีดค่ะ
5. ผ่าตัด
วิธีการรักษาแผลเป็นวิธีสุดท้ายคือการผ่าตัดค่ะ โดยแพทย์จะผ่าตัดโดยการนำแผลเป็นออกหรือลดขนาดของแผลเป็นออกบางส่วน เพื่อให้แผลใหม่ที่เกิดขึ้นมาใกล้เคียงกับผิวหนังแบบปกติมากที่สุด รวมถึงในบางกรณีอาจมีการกรอผิวเพื่อให้ผิวเรียบเนียน แและการผ่าตัดนี้อาจมีการรักษาคู่กับวิธีอื่นๆ ร่วมด้วยค่ะ
จะเห็นได้ว่า วิธีรักษาแผลเป็น นั้น เราสามารถทำได้เองในเบื้องต้นค่ะ เพียงแต่ว่าต้องรีบรักษา เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเป็นแผลและมีแนวโน้มว่าแผลเหล่านี้จะกลายเป็นแผลเป็นในอนาคต ให้เรารีบรักษาเสียแต่เนิ่นๆ ทั้งการเลือกใช้แผ่นซิลิโคน การใช้ microporous tape หรือการทาครีมลดรอยแผลเป็นก็สามารถทำได้ตั้งแต่ตอนที่แผลหายสนิทใหม่ๆ เพื่อบรรเทาให้แผลเป็นดูจางลงและเรียบเนียนเหมือนผิวปกติไม่เป็นแผลคีลอยด์ค่ะ
บทความที่คุณอาจสนใจ
รวม 8 ไอเท็มเด็ดลดรอยแผลเป็น ผิวสวย เรียบได้ไม่มีสะดุด
รีวิว 13 ครีมลดรอยสิว รอยแผลเป็นตัวดัง ตัวไหนเด็ด ตัวไหนน่าโดน จัดมาให้ครบ!