รู้จักกับโรคกลัวสังคม (Social anxiety disorder) โรคที่เกิดจากการถูกทำร้ายในวัยเด็ก
โรคกลัวสังคม (Social anxiety disorder) คือ อาการป่วยประเภทหนึ่งที่ส่งผลกระทบกับจิตใจและการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย จัดเป็นโรคกลัวชนิดหนึ่ง ซึ่งหากมองอย่างผิวเผินจะเหมือนคนที่มีอาการตื่นเต้นหรือประหม่าทั่วไปแบบคนปกติทั่วไป จึงทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ว่าตนเองป่วยหรือในบางรายก็ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าแบบไหนคืออาการตื่นเต้นแบบปกติและแบบไหนคืออาการของโรคกลัวสังคม และด้วยเหตุนี้จึงทำให้ไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง
อาการของโรคกลัวสังคม
เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่มีผู้อื่นจ้องมอง อย่างเช่น การต้องออกไปพูดหน้าชั้นหรือหน้าห้องประชุม การนำเสนองาน การต้องพูดคุยกับคนที่ไม่คุ้นเคย การทำกิจกรรมในที่สาธารณะ ผู้ป่วยด้วยโรคกลัวสังคมมักจะมีอาการ ดังนี้
- ตื่นเต้นมาก ประหม่ามาก
- ไม่กล้าสบตากับคนอื่น
- กลัวการพูดคุย
- หายใจถี่ ติดขัด หายใจไม่ออก อึดอัด เหงื่อออกมาก
- มือสั่น ใจสั่น เสียงสั่น
- ไม่สบายใจ กังวลใจ
- ปวดมวนในท้อง บางรายถึงขั้นอาเจียนออกมา
- หน้าแดง เขินจนตัวบิด
ผู้ป่วยจะแสดงอาการทุกครั้งที่ต้องเจอกับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งต่างจากคนปกติที่อาจจะเกิดเป็นครั้งเป็นคราว
สาเหตุของโรคกลัวสังคม
สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคกลัวสังคม ส่วนมากมักพบว่าผู้ป่วยเคยเจอเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกแย่ จนกลายเป็นความฝังใจ เช่น ในวัยเด็กโดนแกล้งจนกลายเป็นความฝังใจ เมื่อเติบโตขึ้นจึงทำให้เกิดความกลัว ส่วนมากผู้ป่วยมักแสดงอาการออกมาในช่วงวัยรุ่น เนื่องจากเป็นวัยที่ให้ความสำคัญกับการประเมินของผู้อื่นต่อตนเอง
การรักษาโรคกลัวสังคม
สิ่งสำคัญที่สุดคือผู้ป่วยต้องตระหนักก่อนว่าเกิดความผิดปกติกับตนเองและพร้อมที่จะเข้ารับการบำบัด โรคนี้สามารถหายได้หากได้รับการบำบัดอย่างถูกวิธีและต่อเนื่อง โดยการบำบัดนี้มีทั้ง
1. การใช้จิตบำบัด
การใช้จิตบำบัด หรือที่เรียกว่า "การบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy: CBT)" โดยผู้ป่วยจะได้เรียนรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้ตนเองเป็นโรค รวมถึงได้เรียนรู้วิธีแก้ไขปรับเปลี่ยนความคิดและการแสดงออก
2. การรักษาด้วยยา
ส่วนมากแพทย์จะสั่งจ่ายยาสำหรับรักษาโรคซึมเศร้า (Antidepressants) และยาระงับความวิตกกังวล (Anti Anxiety) โดยระดับความรุนแรงของยาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
3. การฝึกทักษะอื่นที่จำเป็น
โดยการฝึกทักษะนี้จะเน้นไปที่การสร้างสัมพันธภาพกับคนรอบข้าง การผ่อนคลายความเครียดและความวิตกกังวล การเผชิญหน้ากับเหตุการณ์สาธาณะอื่นๆ ทั้ง การคุยกับคนแปลกหน้า การพูดต่อหน้าคนอื่น เป็นต้น
อ้างอิง
- https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/โรคกลัวสังคม อาการแบบไหนถึงเข้าข่ายป่วย
- https://www.honestdocs.co/โรคกลัวการเข้าสังคม (Social anxiety disorder)
.........................................
อัพเดทเทรนด์เมคอัพ แฟชั่น เคล็ดลับลดน้ำหนัก และไลฟ์สไตล์ผู้หญิงใหม่ๆ ทุกวัน
ได้ที่แอปพลิเคชัน ทรูไอดี ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!
บทความที่คุณอาจสนใจ
PTSD คืออะไร...ภาวะป่วยทางจิตใจหลังเจอเหตุการณ์รุนแรง
เช็คก่อนจะสาย 9 สัญญาณ โรคซึมเศร้า ตกลงเราเป็นหรือไม่เป็น