เท้าบวม🦶 สัญญาณสารพัดโรค❗ โรคหัวใจ-ไต-ตับแข็ง-ครรภ์เป็นพิษ-เท้าช้าง 🚨 ❗
หากไม่ได้หกล้ม ตั้งครรภ์ หรือต้องยืนทำงานนาน ๆ แต่มีอาการเท้าบวมผิดปกติ อย่านิ่งนอนใจ เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคร้ายต่าง ๆ ได้ค่ะ
แบบไหนเรียกว่า 'เท้าบวม' ผิดปกติ❓
- สวมรองเท้าไซส์เดิม แต่รู้สึกคับมาก
- ผิวบริเวณเท้าตึง จนไม่เห็นรอยย่นบนผิวหน้าเท้า
- กดแล้วมีรอยบุ๋มค้าง เนื้อผิวไม่เด๋งกลับ
- เท้าบวมที่มีอาการปวด
'เท้าบวม' เสี่ยงโรคอันตรายอะไรได้บ้าง❓
1) โรคหัวใจ : ถ้ามีภาวะหัวใจวาย หรือน้ำท่วมปอด อาจทำให้ขาหรือเท้าบวม กดบุ๋มได้ทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน โดยอาจรู้สึกเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ร่วมด้วย
2) โรคไต : เมื่อไตวายเรื้อรัง จะมีภาวะน้ำเกิน จนขาหรือเท้าบวม จะกดแล้วเกิดรอยบุ๋มได้ทั้งสองข้างเท่าๆ กัน โดยมีอาการเหนื่อยหอบจากน้ำท่วมปอด ปัสสาวะน้อยจากไตวาย ร่วมด้วย
3) โรคตับแข็ง : นอกจากทำให้เท้าบวมแล้ว มักพบอาการท้องบวมโตจากการมีน้ำในช่องท้อง ตัวเหลือง ตาเหลืองร่วมด้วย
4) ครรภ์เป็นพิษ : หญิงมีครรภ์ อาจเท้าบวมได้เป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าพบว่าหน้าบวม มือบวม กดผิวตรงเท้าแล้วบุ๋มลงไปไม่คืนตัวกลับมา หรือมีอาการปวดศีรษะรุนแรง อาจเสี่ยงครรภ์เป็นพิษได้
5) โรคเท้าช้าง : เกิดจากต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ทำให้ผิวหนังที่เท้าหนาขรุขระ บวมโต แต่กดแล้วไม่บุ๋ม
6) ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก : มีอาการเท้าบวมกดบุ๋ม อาจเป็นแค่ข้างเดียวได้ และมีอาการเจ็บร่วมด้วย
นอกจากนี้ อาการเท้าบวม ยังอาจเกิดจากผลข้างเคียงของยาบางชนิด โรคเบาหวาน หรือโรคอื่น ๆ อีกได้ ทางที่ดี เมื่อพบว่าขาหรือเท้าบวมผิดปกติ แนะนำให้ลองปรึกษาแพทย์ออนไลน์บนแอปฯ หมอดี เพื่อช่วยวินิจฉัยสาเหตุเบื้องต้นก่อนได้ สะดวก ไม่ต้องรอคิวนาน พร้อมรอรับยาสบาย ๆ ได้ที่บ้าน
👨⚕ สาระน่ารู้จาก คุณหมอชนากานต์ วุฒิประยูร แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป บนแอปฯ หมอดี
📲 5 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการปรึกษาแพทย์ ผ่านแอปฯ หมอดี
- ดาวน์โหลดแอปฯ คลิก>> https://mordee.app.link/6grJOklEqpb จากนั้นเลือกเมนูโปรไฟล์ เพื่อลงทะเบียนเข้าใช้งาน
- ไปที่หน้าแรกของแอปฯ กดแถบค้นหา สำหรับโรคมือ เท้า ปาก ในเด็ก แนะนำให้เลือกแผนกเด็ก หรือแผนกโรคทั่วไป
- เลือกแพทย์หรือเภสัชกรที่ต้องการปรึกษา และทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลาที่ต้องการ แล้วเลือกรูปแบบการปรึกษาเป็น วิดีโอคอล โทร หรือ แชต จากนั้นทำการชำระเงิน หรือกรอกโค้ดส่วนลด (ถ้ามี)
- เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์ เมื่อถึงเวลานัดหมาย
- รอสรุปผลการปรึกษาจากแพทย์ พร้อมใบสั่งยา(หากมี) โดยสามารถสั่งซื้อยา แล้วรอรับยาที่บ้านได้
💬 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @mordeeapp
👉👉 อ่านสาระสุขภาพจากแอปฯ หมอดี เพิ่มเติม คลิก >> https://mordeeapp.com/th/article
บทความที่คุณอาจสนใจ
- เท้าบวมกดแล้วบุ๋ม !! 5 โรคอันตราย ที่ทำให้มีอาการขาบวม
- สัญญาณที่บอกว่า ไต กำลังมีปัญหา อย่าทำงานหนักจนลืมไต เช็กด่วน!