8 โรคยอดฮิตของมนุษย์ออฟฟิศ พร้อมวิธีรับมือ ที่ควรรู้ !
สำหรับมนุษย์ออฟฟิศการต้องนั่งทำงานหน้าคอมวันละหลายชั่วโมง และอยู่กับพื้นที่จำกัดเป็นประจำทุกวัน ทำให้ร่างกายไม่ได้ออกแรง หรือได้ยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ ทำให้มนุษย์ออฟฟิศหลายคนประสบกับปัญหาของสุขภาพตามมา วันนี้เราจะมาบอก 8 โรคยอดฮิตของมนุษย์ออฟฟิศ พร้อมการรับมือกับโรคเหล่านี้ ว่าแล้วไปดูกันเลยค่า
โรคอ้วน
สำหรับหลายคนการที่ต้องนั่งอยู่หน้าคอมนานๆ อาจจะทำให้เบื่อเลยต้องหยิบขนมจุกจิกเข้าปากตลอดเวลา พอกินไปนานๆ กลายเป็นว่าไขมันจากขนมนั้นได้สะสมอยู่ในร่างกายของเราซะแล้ว แถมยังไม่ค่อยได้มีเวลาออกกำลังกาย อาจจะทำให้เสี่ยงเป็นโรคอ้วนได้
วิธีแก้ : เปลี่ยนจากขนมกรุบกรอบ เป็นถั่วทานเล่น หรือเป็นผลไม้อบแห้ง และควรกินให้เป็นเวลา เดินขึ้นบันได หรือลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายหน่อย เท่านี้ก็ห่างไกลจากการเสี่ยงเป็นโรคอ้วนแล้วค่า
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
การทำงานอยู่ในออฟฟิศเท่ากับว่าเราต้องเข้าห้องน้ำสาธารณะทุกวัน เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เพราะโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อทางท่อปัสสาวะ และมักจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะ ท่อปัสสาวะของผู้หญิงนั้นสั้นกว่า ทำให้เชื้อโรคสามารถเข้าสู่กระเพาะปัสสาววะได้ง่าย
วิธีแก้ : ควรดูแลทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศให้ถูกวิธี ควรเช็ดทำความสะอาดจากด้านหน้าไปข้างหลัง ไม่ควรเช็ดจากข้างหลังมาข้างหน้า เพราะมีโอกาสทำให้ติดเชื้อได้ง่าย หรือควรพกแอลกอฮอล์แบบพกพาติดตัวเวลาเข้าห้องน้ำ ลดอัตราการติดเชื้อได้นะคะสาวๆ
นิ่วในถุงน้ำดี
สำหรับมนุษย์ออฟฟิศการทานอาหารที่มีประโยชน์บางคนมองว่ายุ่งยาก แถมไม่มีเวลาในการทำอาหารคลีน หลายคนเลือกที่จะทานอาหารสำเร็จรูป แต่ส่วนใหญ่อาหารสำเร็จรูปมีคอเลสเตอรอลสูงและไฟเบอร์น้อย เสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี ส่วนคนที่เป็นโรคอ้วนหรือตั้งครรภ์ มีโอกาสเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้มากกว่าคนทั่วไป ดังนั้นควรป้องกันไว้ก่อนด้วยวิธีการเลือกทานอาหารที่มีไขมันต่ำ หรือถ้าวันไหนมีเวลาสักหน่อยควรทำอาหารทานเอง จะลดการเสี่ยงเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้เยอะเลยละค่ะ
โรคเครียด นอนไม่หลับ
เป็นโรคฮิตสำหรับคนวัยทำงานเพราะบางคนอาจยังไม่รู้ว่าถูกภาวะเครียดรุมเร้า และความเครียดเป็นสาเหตุ ของการนอนไม่หลับ แถมยังทำให้สุขภาพแย่ลง หรือบางทีอาจจะเข้าขั้นทำให้สุขภาพจิตเสีย ดังนั้นเรามาป้องกันโรคเครียดกัน เริ่มจากการแก้ปัญหาทีละจุด บางคนอาจต้องเขียนใส่กระดาษว่าสิ่งที่เราต้องทำมีอะไร และค่อยๆ แก้ปัญหาไปทีละจุด ควรคิดแง่บวกให้มากๆ หรือออกไปเจอเพื่อน ออกไปเที่ยวต่างจังหวัด เปลี่ยนที่นอน ค้างคืนสัก 2-3 วัน จะทำให้ความเครียดลดลงได้ ลองทำดูนะคะ
ปวดหลังเรื้อรัง
สำหรับมนุษย์ออฟฟิศหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่ต้องนั่งทำงานวันละหลายชั่วโมง นั่งนานๆ ก็ไม่ได้สบายอย่างที่ทุกคนคิด เพราะอาจจะทำให้เกิดโรคปวดหลังเรื้อรังได้ และโดยเฉพาะสาวๆ ที่ต้องใส่ส้นสูงทุกวันเป็นเวลานาน ทำให้เสี่ยงเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง ดังนั้นวิธีการแก้ พอมีเวลาที่ได้ถอดส้นสูงควรเอารองเท้าแตะหรือผ้าใบมาเปลี่ยนใส่กลับบ้านหรือใส่เดิน สำหรับมนุษย์ออฟฟิศลองทิ้งงานสัก 10 นาทีไปเดินเล่นยืดเส้นยืดสาย เท่านี้ก็หลีกเลี่ยงต่อการเป็นโรคปวดหลังเรื้อรังหรือโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังได้แล้วค่ะ
นิ้วล็อค
สำหรับคนที่ทำงานด้านคอมพิมเตอร์นานๆ อาจเกิดปัญหานิ้วล็อคเนื่องจากการที่เราจับเมาส์ในท่าเดิมนานๆ จะทำให้อักเสบของตัวปลอกเอ็นกล้ามเนื้อที่นิ้ว ทำให้เอ็นไม่สามารถยืดหดได้ปกติ หากเกิดอาการนิ้วล็อคควรจะหยุดทำกิจกรรมที่ทำอยู่ ทำการประคบร้อนหรือเย็นจะทำให้อาการทุเลาลงได้ ดังนั้นเราควรจะทำงานให้พอดีกับที่ร่างกายเรารับไหวนะคะสาวๆ
กรดไหลย้อน
เวลาพักทานอาหารของมนุษย์ออฟฟิศนั้นมีเวลาจำกัด เป็นช่วงเวลาที่เร่งรีบ การทานอาหารอาจจะทำให้เราเคี้ยวไม่ละเอียด หรือบางวันมีงานเร่ง ทำให้ทานข้าวไม่ตรงเวลา เป็นสาเหตตุที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อน
การป้องกัน : หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสจัด เพราะจะทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะทำให้เป็นกรดไหลย้อนได้ง่าย ถ้าวันไหนงานเยอะแนะนำให้ซื้อข้าวกล่องมาเวฟทาน ไม่ควรอดอาหารแล้วไปทานตอนเย็น เพราะจะเสี่ยงต่อการเป็นกรดไหลย้อนได้
ไมเกรน
สำหรับสาวๆ หลายคนจะมีโรคประจำตัวที่พบมากที่สุดคือ ไมเกรน การปวดไมเกรนของผู้หญิงจะรู้สึกปวดศีรษะมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า เพราะผู้หญิงจะมีฮอร์โมน เอสโตรเจน ที่มาจากรังไข่ ซึ่งจะพบว่าอาการปวดไมเกรนกำเริบช่วงที่มีประจำเดือน เพราะเอสโตรเจนจะลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้รู้สึกปวดไมเกรนรุนแรงมากกว่าปกติ สิ่งที่จะลดอาการปวดไมเกรนลงได้ ควรทานยา ที่ช่วยรักษาอย่างเฉียบพลัน และควรไปพบแพยท์ถ้าอาการรุนแรงจนไม่สามารถจัดการด้วยตนเองได้ แนะนำอย่ารับประทานยาแก้ปวดมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดอาการดื้อยาและรักษาได้ยากขึ้นในอนาคต
บทความที่คุณอาจสนใจ
โบกมือลาออฟฟิศซินโดรม ด้วย 4 กิจกรรมง่ายๆ ทำได้ในทุกออฟฟิศ
ติดตาม women.trueid.net ได้ที่
LINE |
TrueID Application |